ข้ามไปเนื้อหา

อำเภอจุฬาภรณ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอจุฬาภรณ์
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Chulabhorn
คำขวัญ: 
สามวังลือเลื่อง นามเมืองเจ้าฟ้า
ศิลาช่องคอย อร่อยคั่วกลิ้ง
แผนที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เน้นอำเภอจุฬาภรณ์
แผนที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เน้นอำเภอจุฬาภรณ์
พิกัด: 8°4′30″N 99°52′12″E / 8.07500°N 99.87000°E / 8.07500; 99.87000
ประเทศ ไทย
จังหวัดนครศรีธรรมราช
พื้นที่
 • ทั้งหมด192.505 ตร.กม. (74.327 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด31,507 คน
 • ความหนาแน่น163.67 คน/ตร.กม. (423.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 80130, 80180 (เฉพาะตำบลบ้านชะอวดและบ้านควนมุด)
รหัสภูมิศาสตร์8019
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอจุฬาภรณ์ หมู่ที่ 4 ตำบลสามตำบล อำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช 80130
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

จุฬาภรณ์ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช เดิมเป็นเขตท้องที่ของอำเภอร่อนพิบูลย์ทั้งหมด ก่อนที่พื้นที่บางส่วนจะย้ายมาขึ้นกับอำเภอชะอวดในปี พ.ศ. 2496 (ตำบลบ้านควนมุด ตำบลบ้านชะอวด)[1][2] ก่อนที่จะขอจัดตั้งเป็นอำเภอซึ่งตั้งขึ้นเป็นกรณีพิเศษ เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2537 โดยแยกการปกครองบางส่วนออกจากอำเภอร่อนพิบูลย์ และอำเภอชะอวด[3]

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

อำเภอจุฬาภรณ์ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียงดังนี้

ประวัติ

[แก้]

อำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช เดิมเป็นพื้นที่รอยต่อระหว่างอำเภอร่อนพิบูลย์กับอำเภอชะอวด โดยเป็นพื้นที่ตำบลบ้านควนมุด ตำบลบ้านชะอวด อำเภอชะอวด และตำบลควนหนองคว้า ตำบลทุ่งโพธิ์ ตำบลสามตำบล ตำบลนาหมอบุญ อำเภอร่อนพิบูลย์ ทั้งนี้พื้นที่ดังกล่าวเดิมเป็นพื้นที่มีความกันดารและห่างไหลจากอำเภอ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งมีปัญหาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อย จำเป็นที่จะต้องได้รับการพัฒนาแก้ไขโดยเร่งด่วน ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน การปกครอง การอาชีพ สังคมจิตวิทยา และการให้บริการประชาชน จึงมีการขอจัดตั้งพื้นที่ดังกล่าวเป็นอำเภอจุฬาภรณ์ (กรณีพิเศษ) พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอ เพื่อเป็นประโยชน์แก่การปกครองและความสะดวกของประชาชน เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2537 และได้รับพระราชทานพระอนุญาตให้ใช้พระนามศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เป็นชื่ออำเภอ โดยได้ทำพิธีเปิดอำเภอและเริ่มบริการประชาชนเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2537

พื้นที่บริเวณที่ตั้งอำเภอจุฬาภรณ์ปัจจุบันคือตำบลสามตำบล โดยมีประวัติว่าหมายถึงสามวัง ได้แก่ วังฆ้อง วังใส และวังนาหมอบุญ ซึ่งทั้งสามวังเป็นที่อยู่อาศัยของเชื้อพระวงศ์แต่โบราณที่ได้เข้ามาบุกเบิกตั้งถิ่นฐานยังบริเวณนี้ ต่อมาเมื่อยุคหนึ่งในอดีต พื้นที่แถบนี้กลายเป็นเขตเคลื่อนไหวและต่อสู้ ของสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ทำให้บริเวณนี้ซึ่งทุรกันดารอยู่แล้วต้องประสบกับปัญหาด้านความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยเพิ่มขึ้นอีก นอกจากนี้การพัฒนาและการบริการของทางราชการก็ไม่สามารถเข้าถึงยังจุดนี้ได้

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

อำเภอจุฬาภรณ์แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 6 ตำบล 30 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[4]
แผนที่
1. บ้านควนมุด Ban Khuan Mut
2
1,620
  
2. บ้านชะอวด Ban Cha-uat
4
2,662
3. ควนหนองคว้า Khuan Nong Khwa
4
3,302
4. ทุ่งโพธิ์ Thung Pho
8
9,856
5. นาหมอบุญ Na Mo Bun
6
7,233
6. สามตำบล Sam Tambon
6
6,810

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ท้องที่อำเภอจุฬาภรณ์ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้แก่

  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาหมอบุญ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาหมอบุญทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านชะอวด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านควนมุดและตำบลบ้านชะอวดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลควนหนองคว้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลควนหนองคว้าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งโพธิ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งโพธิ์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสามตำบล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสามตำบลทั้งตำบล

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ประกาศ เรื่อง จัดเปลี่ยนแปลงท้องที่ในเขตมณฑลนครศรีธรรมราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 40 (0 ก): 110–111. วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2466
  2. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอจักราช อำเภอสัตตหีบ อำเภอศรีสงคราม อำเภอชะอวด อำเภอหนองแซง อำเภอภาชี อำเภอเขาไชยสน อำเภอชุมพลบุรี อำเภอวาริชภูมิ อำเภอสบปราบ และอำเภอสุไหงโกลก พ.ศ. ๒๔๙๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 70 (17 ก): 368–371. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-06. สืบค้นเมื่อ 2022-04-20. วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2496
  3. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. ๒๕๓๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (4 ก): (ฉบับพิเศษ) 24-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-12. สืบค้นเมื่อ 2018-05-19. วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537
  4. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.