ข้ามไปเนื้อหา

วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก วัดมกุฏกษัตริยาราม)
วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร
วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร
แผนที่
ชื่อสามัญวัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร
ที่ตั้งถนนราชดำเนินนอก แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ประเภทพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร
พระประธานพระพุทธวชิรมกุฎ
เจ้าอาวาสพระเทพวชิรเมธาจารย์ (บุญร่วม อตฺถกาโม)
หมายเหตุ
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนวัดมกุฏกษัตริยาราม
ขึ้นเมื่อ14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544
เป็นส่วนหนึ่งของโบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานคร
เลขอ้างอิง0000064
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร[1] ตั้งอยู่ริมถนนและคลองผดุงกรุงเกษม ด้านใกล้ถนนราชดำเนินนอก

ประวัติ

[แก้]

วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร สร้างขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากขุดคลองผดุงกรุงเกษมเป็นคูพระนครชั้นนอกแล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้มีวัดเรียงรายอยู่ตามชายคลองเหมือนที่กรุงศรีอยุธยา จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดขึ้นเคียงคู่กับวัดโสมนัสราชวรวิหาร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นแม่กองก่อสร้าง และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนราชสีหวิกรม เป็นนายช่าง การก่อสร้างแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2411 ในขั้นแรกโปรดเกล้าฯ ให้เรียกชื่อว่าวัดนามบัญญัติ เป็นการชั่วคราวก่อน เมื่อสิ้นรัชกาลจึงค่อยเรียกนามพระราชทานว่าวัดมกุฏกษัตริยาราม อันเป็นนามตามพระปรมาภิไธย

วัดมกุฏกษัตริยารามในเขตพระนคร และวัดโสมนัสวิหารที่อยู่ในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เป็นวัดในเขตกรุงรัตนโกสินทร์ ที่มีเสมา 2 ชั้น ชั้นแรกเรียกว่า มหาสีมา อยู่ในซุ้มที่มุมกำแพงรอบวัด และยังมีเสมารอบพระอุโบสถอีกเรียกว่า ขัณฑสีมา ในวัดที่มีเสมา 2 ชั้นเช่นนี้ พระสงฆ์สามารถประชุมทำสังฆกรรมได้ทั้งพระอุโบสถและพระวิหาร อยู่ติดกับโรงเรียนมัธยมวัดมกุฏกษัตริย์

ประวัติสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ

[แก้]

อาคารสำคัญในวัดได้แก่ พระวิหาร และพระอุโบสถ มีลายพระมหามงกุฏอันเป็นตราประจำรัชกาลที่ 4 ทั้งที่หน้าบันและด้านบนของซุ้มประตูหน้าต่างเช่นเดียวกัน ผนังด้านในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมอันหลากหลายแตกต่างจากวัดอื่น เช่น เรื่องพระสาวกในบาลีและอรรถกถา พระอัครสาวก 11 พระองค์ อัครสาวิกา 8 องค์ ภาพการบำเพ็ญกรรมฐาน สิ่งที่พึ่งปฏิบัติเนื่องด้วยธรรมวินัย ธุดงควัตร บนบานหน้าต่างและบานประตูด้านในเขียนพระสูตรที่เป็นคาถาด้วยตัวอักษรบรรจง เป็นต้น

ลำดับเจ้าอาวาส

[แก้]

พระอารามแห่งนี้มีเจ้าอาวาสมาแล้วทั้งสิ้น 8 พระองค์/รูปได้แก่

ลำดับที่ รูปภาพ รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1 พระจันทรโคจรคุณ (ยิ้ม จนฺทรํสี) พ.ศ. 2411 พ.ศ. 2425
2 พระพรหมมุนี (แฟง กิตฺติสาโร) พ.ศ. 2425 พ.ศ. 2443
3 พระธรรมปาโมกข์ (ถม วราสโย) พ.ศ. 2443 พ.ศ. 2462
4 พระศาสนโศภน (แจ่ม จตฺตสลฺโล) พ.ศ. 2462 พ.ศ. 2488
5 สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฺฐายี) พ.ศ. 2488 พ.ศ. 2514
6 พระเทพกิตติเมธี (หิ้น คนฺธาโร) พ.ศ. 2514 พ.ศ. 2516
7 สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กนฺตาจาโร) พ.ศ. 2517 พ.ศ. 2551
8 พระเทพวชิรเมธาจารย์ (บุญร่วม อตฺถกาโม) พ.ศ. 2565 ปัจจุบัน

คลังภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]