เทศบาลเมืองมหาสารคาม

พิกัด: 16°10′38.1″N 103°18′3.5″E / 16.177250°N 103.300972°E / 16.177250; 103.300972
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลเมืองมหาสารคาม
ภาพถ่ายทางอากาศของโรงพยาบาลสุทธาเวชและตัวเมืองมหาสารคาม
ภาพถ่ายทางอากาศของโรงพยาบาลสุทธาเวชและตัวเมืองมหาสารคาม
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลเมืองมหาสารคาม
ตรา
คำขวัญ: 
เมืองน่าอยู่ คู่การศึกษา พัฒนาองค์กร คุณภาพชีวิต เศรษฐกิจและสังคม อย่างยั่งยืน
ทม.มหาสารคามตั้งอยู่ในจังหวัดมหาสารคาม
ทม.มหาสารคาม
ทม.มหาสารคาม
ที่ตั้งของเทศบาลเมืองมหาสารคาม
ทม.มหาสารคามตั้งอยู่ในประเทศไทย
ทม.มหาสารคาม
ทม.มหาสารคาม
ทม.มหาสารคาม (ประเทศไทย)
พิกัด: 16°10′38.1″N 103°18′3.5″E / 16.177250°N 103.300972°E / 16.177250; 103.300972
ประเทศ ไทย
จังหวัดมหาสารคาม
อำเภอเมืองมหาสารคาม
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีนายภาคิน ติระพงศ์ไพบูลย์
พื้นที่
 • ทั้งหมด24.14 ตร.กม. (9.32 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (กรกฎาคม 2564)[1]
 • ทั้งหมด47,852 คน
 • ความหนาแน่น2,000 คน/ตร.กม. (5,100 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.4440102
ที่อยู่
สำนักงาน
สำนักงานเทศบาลเมืองมหาสารคาม เลขที่ 27 ถนนผังเมืองบัญชา ตำบลตลาด อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม
โทรศัพท์0 4374 0826 ต่อ 8
โทรสาร0 4371 1504
เว็บไซต์www.mkm.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

มหาสารคาม เป็นเทศบาลเมืองแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม ได้รับยกฐานะมาจากเทศบาลตำบลมหาสารคาม มีเขตรับผิดชอบ ได้แก่ ตำบลตลาดทั้งตำบล

ประวัติ[แก้]

ท้องถิ่นเทศบาลเมืองมหาสารคาม ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น เทศบาลเมืองมหาสารคาม เมื่อวันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479 มีคณะเทศมนตรีชุดแรก เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2480 โดยนายบุญช่วย อัตถากร เป็นนายกเทศมนตรี สำนักงานเทศบาลเมืองมหาสารคาม ระยะเริ่มแรกได้อาศัยสถานที่สโมสรเสือป่า เป็นที่ทำการของ สำนักงานเทศบาลเมืองมหาสารคาม จนถึง พ.ศ. 2483 จึงย้ายไปอยู่สุขศาลา อำเภอเมืองมหาสารคาม เป็นเวลา 5 ปีเศษ แล้วย้ายสำนักงานมาอยู่ชั้นบนตึกแถว 2 ชั้น (ปัจจุบันคือบริเวณตลาดสด ) จนถึง พ.ศ. 2501 จึงย้ายมาอยู่อาคารหลังใหม่ และต่อมาในปี พ.ศ. 2519 ได้ย้ายสำนักงานไปสร้างในที่ดินซึ่งมีผู้อุทิศให้ จำนวน 10 ไร่ เป็นอาคารคอนกรีต 2 ชั้น ดังในปัจจุบันนี้ เทศบาลเมืองมหาสารคาม เป็นศูนย์กลางทุกด้านของมหาสารคาม

ส่วนราชการ[แก้]

เทศบาลเมืองมหาสารคามมีส่วนราชการ ดังนี้

  1. สำนักปลัดเทศบาล
  2. กองคลัง
  3. สำนักช่าง
  4. สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
  5. กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ
  6. กองการศึกษา
  7. กองสวัสดิการสังคม
  8. กองทะเบียนราษฎรและบัตรประจำตัวประชาชน
  9. กองการเจ้าหน้าที่
  10. หน่วยงานตรวจสอบภายใน

ภูมิอากาศ[แก้]

ข้อมูลภูมิอากาศของเทศบาลเมืองมหาสารคาม (พ.ศ. 2524–พ.ศ. 2553)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 31.4
(88.5)
33.6
(92.5)
35.7
(96.3)
36.8
(98.2)
35.2
(95.4)
34.2
(93.6)
33.6
(92.5)
33.0
(91.4)
32.6
(90.7)
32.2
(90)
31.6
(88.9)
30.5
(86.9)
33.37
(92.06)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 16.7
(62.1)
19.7
(67.5)
22.5
(72.5)
24.7
(76.5)
24.9
(76.8)
24.9
(76.8)
24.6
(76.3)
24.3
(75.7)
23.8
(74.8)
22.7
(72.9)
19.9
(67.8)
16.7
(62.1)
22.12
(71.81)
ปริมาณฝน มม (นิ้ว) 2.0
(0.079)
12.6
(0.496)
46.6
(1.835)
81.5
(3.209)
155.0
(6.102)
190.0
(7.48)
140.5
(5.531)
210.2
(8.276)
221.4
(8.717)
124.9
(4.917)
13.2
(0.52)
4.0
(0.157)
1,201.9
(47.319)
ความชื้นร้อยละ 70 67 66 68 76 78 79 82 84 79 73 70 74.3
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย (≥ 1 mm) 1 2 3 7 13 15 14 17 17 10 2 1 102
แหล่งที่มา: Thai Meteorological Department (Normal 1981-2010), (Rainfall mm, Avg. rainy days 1961-1990)

ชุมชน[แก้]

แผนที่แบ่งเขตชุมชนต่าง ๆ ในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม

จากภาพเรียงชุมชนต่าง ๆ ตามเลขในภาพแผนที่ดังนี้

การศึกษา[แก้]

เทศบาลเมืองมหาสารคาม เป็นศูนย์กลางการศึกษาของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นเมือง “ตักสิลานคร” เนื่องจากเป็นที่รวมของสถานศึกษาในระบบโรงเรียนทุกระดับ ตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษาจนถึงระดับอุดมศึกษา เป็นจังหวัดที่มีสถานศึกษาเกือบทุกสังกัดกระจายอยู่ในจังหวัด โดยในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม สามารถจำแนกตามระบบการศึกษาและสังกัดได้ดังนี้

มหาวิทยาลัย/อาชีวศึกษา[แก้]

โรงเรียนรัฐบาล[แก้]

  • โรงเรียนอนุบาลมหาสารคาม
  • โรงเรียนหลักเมืองมหาสารคาม

โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม (7 แห่ง)[แก้]

  • โรงเรียนเทศบาลบูรพาพิทยาคาร
  • โรงเรียนเทศบาลศรีสวัสดิ์วิทยา
  • โรงเรียนเทศบาลบ้านส่องนางใย
  • โรงเรียนเทศบาลบ้านค้อ
  • โรงเรียนเทศบาลสามัคคีวิทยา
  • โรงเรียนเทศบาลโพธิ์ศรี
  • โรงเรียนเทศบาลบ้านแมด

การสาธารณสุข[แก้]

การคมนาคม[แก้]

  • เทศบาลเมืองมหาสารคามถือเป็นศูนย์กลางทางด้านเศรษฐกิจของจังหวัดมหาสารคาม ซึงจังหวัดมหาสารคามมีภูมิประเทศตั้งอยู่กึ่งกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงส่งผลในมีรถโดยสารประจำทางจำนวนมากผ่านไปยังหรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ทั้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคอืน ๆ โดยสามารถใช้บริการได้ ณ สถานีขนส่งมหาสารคาม
  • การเดินทางภายในเทศบาลมีรถสองแถวบริการ แท็กซี จักรยายนต์รับจ้าง เป็นต้น

อ้างอิง[แก้]

  1. https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/displayData

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]