โรงเรียนกู่ทองพิทยาคม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนกู่ทองพิทยาคม
Kuthongpittayakhom School

Kuthongpittayakhom School
ตราประจำโรงเรียน
ที่ตั้ง
ถนนสาย รพช. โคกสูง – ขามเปี้ย หมู่ที่ 14 ตำบลกู่ทอง อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม 44160
ข้อมูล
ชื่ออื่นก.พ.
ประเภทโรงเรียนรัฐบาล - โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง
คำขวัญทนฺโต เสฏฺโฐ มนุสฺเสสุ
(มนุษย์ผู้ฝึกตนดีแล้วเป็นผู้ประเสริฐ)
สถาปนา8 พฤษภาคม 2540
หน่วยงานกำกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
รหัส1044410602
ผู้อำนวยการนายชัดสกร พิกุลทอง
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษา
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน ไทย ภาษาไทย
สหราชอาณาจักร ภาษาอังกฤษ
สี████ น้ำเงิน-แสด
เพลงมาร์ชกู่ทองพิทยาคม
เว็บไซต์www.kut.ac.th

โรงเรียนกู่ทองพิทยาคม เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งที่สองของอำเภอเชียงยืน เดิมเป็นโรงเรียนสาขาของโรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม[1] รูปแบบสหศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 26 กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ที่ คม ตั้งอยู่ที่ตำบลกู่ทอง อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม ปัจจุบันเปิดสอนในช่วงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย

ประวัติโรงเรียน[แก้]

ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ โดยกรมสามัญศึกษาและโรงเรียนเชียงยืนพิทยาคมได้จัดทำโครงการจัดตั้งโรงเรียนสาขามัธยมศึกษาตามแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 7 ( พ.ศ. 2535 - 2539) ขึ้นที่ตำบลกู่ทอง โดยขอจัดสาขามัธยมศึกษาในปีการศึกษา 2537 และทางโรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม โดย นายธรรมรัตน์ ประเสริฐ ผู้อำนวยการโรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม ได้มอบหมายให้ นายเรืองยศ ไชยศึก เป็นผู้ดำเนินการและประสานงานในการจัดทำโครงการตลอดจนจัดเตรียมเอกสารข้อมูลการขอจัดสาขา

โรงเรียนมัธยมศึกษาที่ทางโรงเรียนมอบหมายเพื่อเสนออนุมัติการเปิดสาขาโรงเรียนมัธยมศึกษาตามขั้นตอนร่วมกับคณะกรรมการที่ทางโรงเรียนมอบหมายเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2536 คณะกรรมการประสานงานโดยการนำของ นายเรืองยศ ไชยศึก ได้เข้าร่วมกับสภาตำบลกู่ทอง ได้นำเรื่องการจัดตั้งสาขาโรงเรียนมัธยมศึกษาขึ้น ในเขตพื้นที่ปกครองของตำบลกู่ทอง เสนอต่อที่ประชุมเพื่อขอความเห็นชอบและทางสภาตำบลกู่ทองได้มีมติเป็นเอกฉันท์ในการประชุม เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2536 ให้จัดตั้งโรงเรียนสาขาโรงเรียนมัธยมศึกษา คือ สาขาโรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม (ตำบลกู่ทอง) ที่บ้านใหม่บัวบาน หมู่ที่ 14 โดยอนุมัติให้ใช้ที่ดินเนื้อที่ 36 ไร่ ณ โคกสาธารณะหนองคลอง

วันที่ 20 ธันวาคม 2536 โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการศึกษา การศาสนาและศิลปวัฒนธรรม จังหวัดมหาสารคาม ประกาศให้จัดตั้งสาขาโรงเรียนมัธยมศึกษา ในปีการศึกษา 2537 ขึ้นที่สาขาโรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม (ตำบลกู่ทอง) ผู้อำนวยการโรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม (นายธรรมรัตน์ ประเสริฐ) จึงได้แต่งตั้งให้ นายเรืองยศ ไชยศึก โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม ไปทำหน้าที่ผู้ประสานงานสาขาโรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม (ตำบลกู่ทอง) ตามคำสั่งโรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม ณ วันที่ 23 ธันวาคม 2536 และผู้ประสานงานได้ดำเนินการประสานงานกับสภาตำบลกู่ทอง และตำบลใกล้เคียง

วันที่ 8 พฤษภาคม 2540 ฯพณฯ สุขวิช รังสิตพล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในขณะนั้น ได้ประกาศจัดตั้งเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกเทศชื่อ โรงเรียนกู่ทองพิทยาคม มีเนื้อที่ 91.43 ไร่ พื้นที่บริการประกอบด้วยพื้นที่ปกครอง 2 ตำบล มีโรงเรียนประถมศึกษาในเขตพื้นที่บริการจำนวน 13 โรงเรียน

โรงเรียนได้ดำเนินการจัดการศึกษาให้กับนักเรียนในท้องถิ่นและชุมชนใกล้เคียงจนผ่านการประเมินจาก สมศ. รอบสาม ในระดับ ดี[2]

อาคาร สถานที่[แก้]

โรงเรียนกู่ทองพิทยาคม ตั้งอยู่ที่บ้านใหม่บัวบาน ตำบลกู่ทอง อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม อยู่บนถนนสาย รพช. โคกสูง – ขามเปี้ย กิโลเมตรที่ 21 บนเนื้อที่ 91.43 ไร่ ณ โคกสาธารณะหนองคลอง

ปัจจุบัน มีอาคารเรียนหลังคาทรงไทย จำนวน 1 หลัง อาคารเรียนชั่วคราว จำนวน 1 หลัง หอประชุม สนามฟุตบอลและสนามบาสเกตบอล FIBA[3]

การจัดการศึกษา[แก้]

หลักสูตร[แก้]

โรงเรียนกู่ทองพิทยาคม เปิดให้การศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 (ช่วงชั้นที่ 3-4) ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน แผนการศึกษาแห่งชาติ ปัจจุบัน องค์กรหลักของสถานศึกษาที่มีหน้าที่จัดการเรียนรู้ ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ รวม 8 กลุ่ม คือ

  • กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้พลศึกษาและสุขศึกษา
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประวัติโรงเรียน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-20. สืบค้นเมื่อ 2017-10-17.
  2. "ประวัติโรงเรียน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-20. สืบค้นเมื่อ 2017-10-17.
  3. ข้อมูลสิ่งก่อสร้าง[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]