ข้ามไปเนื้อหา

อำเภอบรบือ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอบรบือ
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Borabue
คำขวัญ: 
มันแกวมากเหลือ เกลือใต้ดินมากมี
ผ้าไหมดีมากค่า งามสง่าสวนหนองบ่อ
ศักดิ์สิทธิ์พ่อปู่จุมคำ รสหวานล้ำแตงโม
แผนที่จังหวัดมหาสารคาม เน้นอำเภอบรบือ
แผนที่จังหวัดมหาสารคาม เน้นอำเภอบรบือ
พิกัด: 16°2′18″N 103°7′9″E / 16.03833°N 103.11917°E / 16.03833; 103.11917
ประเทศ ไทย
จังหวัดมหาสารคาม
พื้นที่
 • ทั้งหมด681.6 ตร.กม. (263.2 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด107,084 คน
 • ความหนาแน่น157.11 คน/ตร.กม. (406.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 44130
รหัสภูมิศาสตร์4406
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอบรบือ ถนนแจ้งสนิท ตำบลบรบือ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม 44130
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

บรบือ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดมหาสารคาม เป็นอำเภอที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของจังหวัดมหาสารคาม รองจากอำเภอโกสุมพิสัย และมีประชากรมากเป็นอันดับ 4 ของจังหวัดรองจากอำเภอเมืองมหาสารคาม อำเภอโกสุมพิสัยและอำเภอวาปีปทุม

ชื่อของอำเภอบรบือ  มีลักษณะแปลกกว่าอำเภออื่นใดเพราะเป็นลักษณะเฉพาะไม่มีคำแปลหรือความหมายในพจนานุกรมฉบับใดทั้งสิ้น อันความเป็นมาของชื่อนี้จากผู้เฒ่าผู้แก่ และตามตำนานโบราณกล่าวไว้ว่า ในสมัยก่อนมีควายประหลาดตัวหนึ่ง เป็นความตัวผู้มีรูปร่างสูงใหญ่โตกว่าควายทั้งปวง มีนิสัยดุร้ายเที่ยวไล่ขวิดวัวควายและผู้คนทั่วไป ได้มาอาศัยอยู่บริเวณหนองบ่อและทำการขวิดดินจนกระทั่งเป็นโนนหนองบ่อในปัจจุบัน ชาวบ้านทราบก็ได้ทำการตามเพื่อไล่จับ บ้างก็มีหอก  ดาบ แหลน หลาว เมื่อมาถึงบริเวณหนองบ่อไม่พบควายเปลี่ยวตัวดังกล่าวแต่อย่างใด จึงได้สอบถามชาวบ้านว่าควายหนีไปทางได๋ (ไปทางไหน) ชาวบ้านบอกว่าไปบ้านกำพี้(กำ คือด้านหรือทิศทาง,พี้ คือ นี้หรือทิศนี้) ตามที่ชาวบ้านชี้บอกมาก็คือ(บ้านกำพี้ ตำบลกำพี้ในปัจจุบัน) ชาวบ้านที่ตามควายมาทันที่บ้านหนองตุ จึงทำการยิงควายเปลี่ยวตัวนั้นแต่ก็ไม่สามารถยับยั้งควายตัวนั้นได้ คำว่า “ตุ”ลักษณะของการกระทบเบา ๆ ผลปรากฏว่าการติดตามควายเปลี่ยวโดยใช้ปืนยิงทำให้ดินปืนหมด จึงทำการบดมาด(มาด คือ กำมะถัน)ที่บ้านหนองบัว บ้านนั้นก็เลยเรียกว่าบ้านบัวบดมาด หรือบ้านบัวมาศในปัจจุบัน และบางพวกก็เลยไปหาน้ำที่ลำห้วยยาง และตัดไม้มาทำหลาวแหลนและหอก ห้วยนี้จึงไดชื่อว่าห้วยคันหอก(คัน คือ ด้าม)และได้พากันติดตามควายเปลี่ยวไปทันกันที่บ้านโนนทันที่บ้านโนนทันในปัจจุบัน ห้วยและหมู่บ้านดังกล่าวอยู่ในเขตปกครองตำบลบัวมาศ ควายร้ายตัวนี้ยังคงหนีได้ต่อไปอีกชาวบ้านได้ติดตามต่อไปอีกและได้มาพบควายตัวนี้ที่บริเวณหนองบ่อซึ่งควายกำลังขวิดดินอยู่ไม่ได้ระวังตัวชาวบ้านจึงได้ใช้ปืนยิงถูกที่สายบือควายเปลี่ยวตัวนี้จึงได้วิ่งหนีชาวบ้านต่อไปอีกทั้งที่บาดเจ็บที่สะดือจนกระทั่งชาวบ้านตามไปพบควายซึ่งได้รับบาดเจ็บนอนอยู่ในป่า จึงช่วยกันล่ามไว้ในโคกทางด้านทิศเหนือของอำเภอบรบือ หลังจากที่ชาวบ้านจับควายเปลี่ยวตัวดังกล่าวได้แล้วและก็ล่ามไว้ ชาวบ้านก็นอนหลับพักผ่อนหลับนอนเนื่องจากความเมื่อยล้า ทุกคนจึงหลับไป ตื่นแต่เช้าขึ้นมาก็ไม่พบควายเปลี่ยวที่ล่ามไว้หายไปไหน จึงได้พากันติดตามอีกจนพบว่าควายเปลี่ยวตัวนั้นได้หลบหนีมาทิศเหนือและได้พบควายนอนตายที่บริเวณบึ่งแห่งหนึ่ง ทำให้บึงแห่งนั้นเกิดกลิ่นเหม็น “กุย”(กุย หมายความว่า กลิ่นคาวเลือด) จึงได้ชื่อว่า”บึงกุย”(ปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของอำเภอโกสุมพิสัย ชื่อว่า บึงกุย) โดยสรุปแล้วชื่ออำเภอบรบือ มีที่มาจากตำนาน 3 ประการ[1]

1. สายบือ (สะดือ) ชาวบ้านยิงควายถูกสายบือหลุดที่หนองบ่อ จึงเรียกว่า “บ่อสายบือ”

2. กระบือ(ควาย) ควายได้ขวิดดินโนนหนองบ่อ จึงเรียกว่า “บ่อระบือ”

3.ระบือ(เลื่องลือ) ในบริเวณหนองบ่อนี้ได้พากันขูดเอาดินเค็มมาทำการกรอง กลายเป็นน้ำเค็ม และทำการต้มเป็นเกลือสินเธาว์ที่ขึ้นชื่อลือชา โดยชาวบ้านใกล้เคียงและชาวบ้านที่อยู่ห่างไกลจะนำสิ่งของมาแลกเปลี่ยนเกลือไปบริโภค จนมีชื่อระบือไกล จึงเรียกว่า “บ่อระบือ”

ประวัติความเป็นมาของอำเภอบรบือ

            อำเภอบรบือ ตั้งขึ้นในสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน ปี พ.ศ.2443 เนื่องจากพระองค์ทรงมีพระราชดำริที่จะปกครองหัวเมืองในภาคอีสานให้มีความสงบสุข จึงทรงปฏิรูปการปกครองโดยแบ่งหัวเมืองในภาคอีสานออกเป็น 4 หัวเมืองใหญ่ ๆ คือ หัวเมืองลาวตะวันออก หัวเมืองลาวตะวันออกเฉียงเหนือ หัวเมืองลาวกลาง และหัวเมืองลาวเหนือ แต่ละหัวเมืองมีข้าหลวงกำกับการปกครอง โดยก่อนหน้านี้ (พ.ศ.2440) พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติการปกครองท้องที่ โดยแบ่งหัวเมืองต่าง ๆ ของภาคอีสาน ออกเป็น 5 มณฑล คือมณฑลอุบลราชธานี มณฑลจำปาศักดิ์ มณฑลขุขันธ์ มณฑลกมลาไสย มณฑลสุรินทร์และมณฑลร้อยเอ็ด โดยเฉพาะมณฑลร้อยเอ็ดแบ่งออกเป็น 5 หัวเมือง คือ เมืองร้อยเอ็ด เมืองกาฬสินธ์ุ เมืองสุวรรณภูมิ และเมืองมหาสารคาม และอำเภอประจิมสารคาม กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นข้าหลวงใหญ่ ประจำมณฑลอุบลราชธานี ได้แต่งตั้งซาบุดดี เป็นหลวงสารคามกิจนิคมภิบาลเป็นอำเภออุทัยสารคาม และแต่งตั้งนาย โลม เปาริสาน เป็นหลวงสารคามนิคมเป็นนายอำเภอประจิมสารคาม ถือว่าเป็นนายอำเภอคนแรกของท้องถิ่น

              ในปี พ.ศ.2453 พระพิทักษ์รากร หรือพระเจริญราชเดช ( อุ่น ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม) ข้าหลวงกำกับเมืองมหาสารคาม ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าแต่งตั้งเป็นผู้ว่าราชกรเมือง มหาสารคามสมัยนั้น ได้พิจารณาเห็นว่าบ้านเมืองได้เจริญก้าวหน้า มีผู้คนอาศัยอยู่หนาแน่นควรมีการขยายเมืองและอำเภอออกไปอีก จึงได้ทำหนังสือกรมทูลกรมดำรงราชานุภาพ (สมเด็จพระเจ้าวรวงค์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ) เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยขอย้ายอำเภอประจิมสารคาม จากเมืองมหาสารคาม มาตั้งที่บ้านค้อ(ปัจจุบันอยู่ทิศตะวันออกอำเภอบรบือ ) แล้วเปลี่ยนนามใหม่ว่าท่าขอนยาง โดยเอานามเมืองท่าขอนยางที่ถูกยุบลงให้เป็นตำบลมาตั้งชื่อแทน ในระยะแรกมีตำบลอยู่ในเขตปกครอง 10 ตำบล คือ ตำบลเกิ้ง ตำบลท่าสองคอน ตำบลบ่อใหญ่ ตำบลบัวมาศ ตำบลกุดรัง ตำบลตามาศ ตำบลกำพี้ ตำบลเขวาไร่ ตำบลหนองคู่ และตำบลบรบือ ต่อมาในปี พ.ศ.2457 หม่อมเจ้านพมาศ นวรัตน์ ซึ่งดำรงตำแหน่ง เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม ในขณะนั้น ได้เสด็จมาตรวจราชการที่อำเภอท่าขอนยางได้พบเห็นสภาพของท้องถิ่นอำเภอนี้เห็นว่ามีบ่อน้ำอุดมสมบูรณ์ไปด้วยข้าวปลาอาหาร มีบ่อเกลือที่ชาวบ้านในท้องถิ่นนี้ ถือเป็นสินค้าที่นำไปแลกเปลี่ยนสิ่งของกับท้องถิ่นห่างไกลดังนั้นหม่อมเจ้านพมาศนวรัตน์จึงประทานชื่อใหม่ว่า“บ่อระบือ”อำเภอท่าขอนยาง จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอบรบือ มาตราบเท่าทุกวันนี้

ในปี พ.ศ. 2503 เนื่องจากเห็นสมควรยกฐานะตำบลนาเชือก อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย ขึ้นเป็นกิ่งอำเภอนาเชือก จึงได้โอนท้องที่ตำบลเขวาไร่ บางส่วนตำบลเลิกแฝก (อำเภอบรบือ) ตำบลนาเชือก บางส่วนตำบลนาภู (อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย) บางส่วนตำบลนาดูน และบางส่วนตำบลนาข่า (อำเภอวาปีปทุม) ตั้งเป็นกิ่งอำเภอนาเชือก ให้อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอบรบือ[1]

ในปี พ.ศ. 2538 เนื่องจากท้องที่อำเภอบรบือ มีอาณาเขตกว้างขวางและพลเมืองอาศัยอยู่จำนวนมาก บางตำบลอยู่ห่างไกลจากตัวอำเภอ กระทรวงมหาดไทยจึงแบ่งท้องที่ 5 ตำบล ได้แก่ตำบลกุดรัง ตำบลนาโพธิ์ ตำบลห้วยเตย ตำบลเลิงแฝก และตำบลหนองแวง ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ 1 แห่ง ชื่อว่า " กิ่งอำเภอกุดรัง" ให้อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอบรบือ

              ในปี พ.ศ.2560 พระสารคามคณาภิบาล ( พร้อม ณ นคร) ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม มาตรวจราชการที่อำเภอบรบือ เห็นว่าที่ตั้งที่ว่าการอำเภอห่างไกลจากเส้นคมนาคม โดยเฉพาะ เส้นทางหลวงขณะนั้นกำลังก่อสร้างพอดี พระสารคามคณาภิบาล จึงได้ทำหนังสือกราบทูลเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ให้มีการปรับปรุงที่ตั้งอำเภอใหม่ ดังนั้นจึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้ง ณ ที่ว่าการอำเภอปัจจุบัน

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

อำเภอบรบือตั้งอยู่ทางตอนกลางของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

การแบ่งเขตปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

อำเภอบรบือแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 15 ตำบล 206 หมู่บ้าน

1. บรบือ (Borabue) 9. บัวมาศ (Bua Mat)
2. บ่อใหญ่ (Bo Yai) 10. หนองคูขาด (Nong Khu Khat)
3. วังไชย (Wang Chai) 11. วังใหม่ (Wang Mai)
4. หนองม่วง (Nong Muang) 12. ยาง (Yang)
5. กำพี้ (Kamphi) 13. หนองสิม (Nong Sim)
6. โนนราษี (Non Rasi) 14. หนองโก (Nong Ko)
7. โนนแดง (Non Daeng) 15. ดอนงัว (Don Ngua)
8. หนองจิก (Nong Chik)

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

อำเภอบรบือประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 16 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลบรบือ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบรบือ
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบรบือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบรบือ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลบรบือ)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ่อใหญ่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวังไชย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังไชยทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองม่วง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองม่วงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกำพี้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกำพี้ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโนนราษี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโนนราษีทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโนนแดง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโนนแดงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองจิก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองจิกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบัวมาศ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบัวมาศทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองคูขาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองคูขาดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวังใหม่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังใหม่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลยาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลยางทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองสิม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองสิมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองโกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดอนงัว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนงัวทั้งตำบล

สถาบันการศึกษา

[แก้]

สถานพยาบาล

[แก้]

สถานที่ที่น่าสนใจ

[แก้]
  • หนองบ่อ
  • กู่บัวมาศ ตั้งอยู่ในบ้านกกกอก ตำบลบัวมาศ เป็นศาสนสถานในช่วงสมัยวัฒนธรรมลพบุรี ราวช่วงพุทธศตวรรษ 16-18[3] มีองค์ประกอบเป็นศาสนสถานศิลาแลงมีกำแพงศิลาแลงล้อมรอบ ภายในมีปราสาทประธานด้านบนเป็นอิฐซึ่งสร้างขึ้นในสมัยหลัง ด้านทิศตะวันตกมีร่องรอยคล้ายโคปุระแต่หักพังมาก ด้านทิศตะวันออกหักพังมากจนเห็นเพียงแนวศิลาแลง มีคูน้ำรูปเกือกม้าล้อมรอบโบราณสถานอีกชั้นหนึ่ง

การคมนาคม

[แก้]

อำเภอบรบือเป็นทางผ่านของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 23 ถนนแจ้งสนิท และเป็นทางผ่านไปสู่อำเภอเมืองมหาสารคาม และจังหวัดอื่นๆ จึงทำให้มีรถประจำทางจำนวนมาก โดยสามารถใช้บริการได้ที่สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอบรบือ

ด้านการคมนาคมภายในอำเภอ มีรถจักยานยนต์รับจ้าง และสามล้อบริการ

ในอนาคต มีทางรถไฟสายบ้านไผ่-นครพนมผ่านท้องที่อำเภอบรบือ และมีสถานีรถไฟบรบือ

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "ประวัติความเป็นมา : องค์การบริหารส่วนตำบลบรบือ ตำบลบรบือ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม". www.borabuelocal.go.th. สืบค้นเมื่อ 2025-02-23.
  2. ข้อมูลพื้นฐานโรงพยาบาล [1] เก็บถาวร 2022-01-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. "อำเภอบรบือ". สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม. ม.ป.ป. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-24. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภ่าคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |year= (help)