อำเภอชื่นชม
อำเภอชื่นชม | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Chuen Chom |
คำขวัญ: ชื่นชมถิ่นคนดี กะหล่ำปลีและอ้อยหวาน ลำธารห้วยสายบาตร เห็ดธรรมชาติป่าโคกข่าว กราบเจ้าหลวงปู่หิน | |
![]() แผนที่จังหวัดมหาสารคาม เน้นอำเภอชื่นชม | |
พิกัด: 16°31′53″N 103°10′18″E / 16.53139°N 103.17167°E | |
ประเทศ | ![]() |
จังหวัด | มหาสารคาม |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 113.0 ตร.กม. (43.6 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 24,628 คน |
• ความหนาแน่น | 217.95 คน/ตร.กม. (564.5 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 44160 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 4413 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอชื่นชม เลขที่ 247 หมู่ที่ 3 ถนนเชียงยืน-คำใหญ่ ตำบลชื่นชม อำเภอชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม 44160 |
![]() |
ชื่นชม เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดมหาสารคาม มีพื้นที่เล็กที่สุดและมีประชากรน้อยที่สุดของจังหวัดมหาสารคาม
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
อำเภอชื่นชมตั้งอยู่ทางทิศเหนือสุดของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียงดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอกระนวน (จังหวัดขอนแก่น) และอำเภอห้วยเม็ก (จังหวัดกาฬสินธุ์)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอห้วยเม็กและอำเภอยางตลาด (จังหวัดกาฬสินธุ์)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเชียงยืน
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอซำสูง (จังหวัดขอนแก่น)
ประวัติ[แก้]
ท้องที่อำเภอชื่นชมเดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอเชียงยืน ทางราชการได้แบ่งพื้นที่การปกครองออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอชื่นชม ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2540 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ปีเดียวกัน[1] และต่อมาในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็น อำเภอชื่นชม โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน ปีเดียวกัน[2]
การแบ่งเขตปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
อำเภอชื่นชมแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 4 ตำบล 47 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | ชื่นชม | (Chuen Chom) | 11 หมู่บ้าน | |||||
2. | กุดปลาดุก | (Kut Pla Duk) | 15 หมู่บ้าน | |||||
3. | เหล่าดอกไม้ | (Lao Dok Mai) | 11 หมู่บ้าน | |||||
4. | หนองกุง | (Nong Kung) | 10 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
ท้องที่อำเภอชื่นชมประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลกุดปลาดุก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกุดปลาดุกทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลหนองกุง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองกุงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลชื่นชม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชื่นชมทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเหล่าดอกไม้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเหล่าดอกไม้ทั้งตำบล
ประเพณีและวัฒนธรรม[แก้]
ชาวอำเภอชื่นชมได้ปฏิบัติสืบทอดขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน เพื่อความร่มเย็นเป็นสุขความเป็นสิริมงคล ให้ผู้คนปราศจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ รวมทั้งเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยรักษาสภาพสังคม และสถานภาพของสังคมให้คงอยู่และเป็นเครื่องเสริมสร้างความรู้สึกที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในหมู่ประชาชน
สิ่งที่สำคัญเหมือนและแตกต่างจากวัฒนธรรมอีสานทั่วไป คือ มีวัฒนธรรมหลักคือการประพฤติตนให้อยู่ในศิลธรรมอันดี มีความเชื่อเรื่อง ผีปู่ตา เสากลางบ้าน และการทำบุญประเพณีตามฮีตสิบสอง การจัดงานประเพณีสืบต่อกันมาและถือเป็นการท่องเที่ยวภายในอำเภอ คือ[3]
- งานประจำปีกะหล่ำปลีเงินล้าน ในช่วงปลายเดือน - ปลายเดือนธันวาคมของทุกปี
- งานกราบเจ้าหลวงปู่หิน เป็นพิธีสรงน้ำพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ จัดที่ตำบลหนองกุง ในวันที่ 13–19 เดือนเมษายน ของทุกปี
- งานออนซอนบั้งไฟแสน กำหนดจัดที่ตำบลเหล่าดอกไม้ในช่วงเดือนพฤษภาคม ของทุกปี
- งานประเพณีลอยกระทงและแข่งเรือพาย จัดที่ตำบลชื่นชมในช่วงวันลอยกระทง ของทุกปี
สถาบันการศึกษา[แก้]
โรงเรียน[แก้]
- โรงเรียนชุมชนบ้านกุดปลาดุก
- โรงเรียนชื่นชมพิทยาคาร
- โรงเรียนกระบากวิทยาคาร
- โรงเรียนบ้านหนองนาไร่เดียว
- โรงเรียนอนุบาลชื่นชม
- โรงเรียนบ้านหนองกุง
- โรงเรียนบ้านหนองผักแว่น
วัดในอำเภอชื่นชม[แก้]
- วัดใหม่ชัยมงคล ศรีสวัสดิ์
- วัดธรรมรังสี
- วัดชัยศรี บ้านหนองหว้า
- วัดบูรพา บ้านหนองผักแว่น
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม ตั้งเป็นกิ่งอำเภอชื่นชม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (พิเศษ 51 ง): 15. 25 มิถุนายน 2540. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-14. สืบค้นเมื่อ 2008-05-25.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอฆ้องชัย...และอำเภอเหล่าเสือโก้ก พ.ศ. ๒๕๕๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (46 ก): 14–21. 24 สิงหาคม 2550. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2008-05-25.
- ↑ "อำเภอชื่นชม". สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม. ม.ป.ป. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-06. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภ่าคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|year=
(help)