รถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยา
SRT Bangkok Commuter Rail Dark Red Line Logo.svg
SRTRedline 1000series WiteePhotography. For wikipedia.jpg
ขบวนรถไฟฟ้า ซีรีส์ 1000 สายธานีรัถยา
ระหว่างสถานีหลักหกกับสถานีรังสิต
ข้อมูลทั่วไป
ชื่ออื่นรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงเข้ม
สถานะเปิดให้บริการ
เจ้าของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ที่ตั้งปทุมธานี, กรุงเทพมหานคร, พระนครศรีอยุธยา, ราชบุรี, สมุทรสงคราม, และสมุทรสาคร
ปลายทาง
จำนวนสถานี63 (ทั้งหมด)
10 (เปิดให้บริการ)
53 (โครงการ)
การดำเนินงาน
รูปแบบรถไฟรางหนัก
ระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง)
ผู้ดำเนินงานรอเอกชนเข้าประมูล
ศูนย์ซ่อมบำรุงศูนย์ซ่อมบำรุง โรงรถจักรไฟฟ้าบางซื่อ
ขบวนรถฮิตาชิ เอ-ซีรีส์ 1000
ประวัติ
ปีที่เริ่มพ.ศ. 2553
เปิดเมื่อ29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 (1 ปีก่อน)
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง22.6 km (14.04 mi) (ระยะที่ 1)
30.4 km (18.89 mi) (ระยะที่ 2)
185 km (114.95 mi) (รวม)
จำนวนทางวิ่ง2 และ 4 ทางวิ่ง
(2 ชานเมืองสายสีแดง)
(2 รถด่วนในอนาคตและรถไฟทางไกล(เฉพาะสถานีวัดเสมียนถึงสถานีการเคหะ))
ลักษณะทางวิ่งทางยกระดับ
ทางระดับพื้นดิน
รางกว้าง1.000 เมตร
ระบบจ่ายไฟ25 kV AC จ่ายไฟเหนือหัว
ความเร็วความเร็วสูงสุด160 km/h (99 mph)
ความเร็วบริการ145 km/h (90 mph)
อาณัติสัญญาณETCS Level1
แผนที่เส้นทาง

กม.
รฟท. สายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือ
ส่วนต่อขยายด้านเหนือ
90+496
บ้านภาชี
76+800
พระแก้ว
71+400
มาบพระจันทร์
67+100
บ้านม้า
63+500
อยุธยา
55+200
บ้านโพธิ์
50+400
บางปะอิน
44+300
เชียงรากน้อย
38+400
นวนคร
32+600
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์-ศูนย์รังสิต
29+900
เชียงราก
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ รังสิต
26+200
คลองหนึ่ง
22+600
รังสิต
คลองรังสิต
19+900
หลักหก
แกรนด์ คาแนล
13+800
ดอนเมือง
11+800
การเคหะ
(MRT (Bangkok) Pink Logo.svg สายสีชมพู )
9.9
หลักสี่
7+100
ทุ่งสองห้อง
5+600
บางเขน
4+100
วัดเสมียนนารี
2+600
จตุจักร
 สายนครวิถี  ไป ตลิ่งชัน
รฟท. สายใต้
ชุมทางบางซื่อ
0.0
กลางกรุงเทพอภิวัฒน์
MRT (Bangkok) logo.svg สายสีน้ำเงิน
ประดิพัทธิ์
2+700
สามเสน
3+700
ราชวิถี
โรงพยาบาลรามาธิบดี
ARLbangkok.svg ไป สุวรรณภูมิ
ไป หัวหมาก
ยมราช
รฟท. สายตะวันออก
5+400
ยมราช
อุรุพงษ์
6+500
ยศเส
7+500
หัวลำโพง
กรุงเทพ
MRT (Bangkok) logo.svg สายสีน้ำเงิน
ส่วนต่อขยายด้านใต้
ส่วนต่อขยายด้านใต้
แม่น้ำเจ้าพระยา
คลองสาน  BTS 
BTS Dark Green.svg สายสีลม
MRT (Bangkok) Purple logo.svg สายสีม่วง
12+530
วงเวียนใหญ่
รฟท. ทางรถไฟสายแม่กลอง
17+190
ตลาดพลู
BTS Dark Green.svg สายสีลม
วุฒากาศ
ตากสิน
คลองต้นไทร
30+740
จอมทอง
39+690
วัดไทร
50+070
วัดสิงห์
63+415
บางบอน
การเคหะ
79+065
รางสะแก
96+915
รางโพธิ์
115+945
สามแยก
136+595
พรมแดน
158+420
ทุ่งศรีทอง
181+575
บางน้ำจืด
คอกควาย
ศูนย์ซ่อมบำรุงย่อยคอกควาย
บ้านขอม
คลองจาก
มหาชัย
แม่น้ำท่าจีน
บ้านแหลม
ท่าฉลอม
บ้านชีผ้าขาว
นกเล็ก
สีคต
บางกระเจ้า
บ้านบ่อ
บางโทรัด
บ้านกาหลง
บ้างนาขวาง
บ้างนาโคก
ศูนย์ซ่อมบำรุงย่อยนาโคก
บ้านเขตเมือง
ลาดใหญ่
บางตะบูน
แม่กลอง
แม่น้ำแม่กลอง
บางขันทอง
ปลายโพงพาง
วัดเพลง
ปากท่อ
(รถไฟสายใต้)

รถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยา (อังกฤษ: S.R.T. Red Line Mass Transit System, Thani Ratthaya Line)[1] หรือ รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงเข้ม (บ้านภาชี–บางซื่อ–ปากท่อ) ซึ่งเรียกตามสีที่กำหนดและเป็นเส้นทางรถไฟที่เป็นแกนหลักของแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นหนึ่งในโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าในโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)

โครงการมีระยะทางทั้งหมด 185 กิโลเมตร 44 สถานี เป็นเส้นทางหลักในแนวเหนือ–ใต้ ตามแนวทางรถไฟเดิมของการรถไฟแห่งประเทศไทย เชื่อมต่อพื้นที่ชานเมืองด้านทิศเหนือ (พื้นที่ดอนเมือง, รังสิต, ปทุมธานีและอยุธยา) และพื้นที่ชานเมืองด้านทิศใต้ (พื้นที่บางบอนและมหาชัย) เข้าสู่ใจกลางเมือง โดยบูรณาการการเดินทางร่วมกันกับระบบรถไฟทางไกลที่สามารถเชื่อมโยงการเดินทางไปสู่ภูมิภาคต่าง ๆ สนับสนุนให้เกิดการกระจายตัวของพื้นที่อยู่อาศัยไปยังพื้นที่รอบนอกตามแนวคิดการขยายผังเมือง รองรับศูนย์ราชการกรุงเทพมหานครแห่งใหม่ พื้นที่ชุมชนบริเวณถนนแจ้งวัฒนะและรามอินทราที่กำลังมีการเติบโตในอัตราสูง เชื่อมต่อกับท่าอากาศยานดอนเมือง รองรับประชาชนบริเวณรังสิต ปทุมธานี ไปยังเมืองมหาวิทยาลัยบริเวณรังสิต อยุธยา เชื่อมโยงไปยังบ้านภาชี

ปัจจุบันโครงการรถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยา ได้แบ่งการดำเนินงานออกเป็นหลายส่วน ประกอบด้วยช่วงบางซื่อ–รังสิต ปัจจุบันก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดดำเนินการเต็มรูปแบบเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 โดยมี บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด เป็นผู้ให้บริการชั่วคราวจนกว่าจะได้เอกชนดำเนินการใน พ.ศ. 2570 โดยช่วงรังสิต–มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และช่วงบางซื่อ–หัวลำโพง อยู่ระหว่างการเตรียมการเปิดประมูลการก่อสร้างภายในปี พ.ศ. 2565 ส่วนช่วงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์–บ้านภาชี และช่วงหัวลำโพง–มหาชัย–ปากท่อ ยังเป็นเพียงแผนงาน

ภาพรวม[แก้]

เป็นระบบรถไฟฟ้าที่มีโครงสร้างทางวิ่งทั้งระดับดิน (At grade level) ยกระดับ และใต้ดิน ผสมกันตลอดเส้นทาง ดำเนินการโดย บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) ในลักษณะของการจ้างเดินรถชั่วคราวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย มีแนวเส้นทางหลักในแนวเหนือที่ขนานคู่ไปกับทางรถไฟสายเหนือ และใต้ที่ขนานคู่ไปกับทางรถไฟสายแม่กลอง เริ่มต้นจากสถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชี อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผ่านตัวเมืองพระนครศรีอยุธยา เข้าสู่จังหวัดปทุมธานี ผ่านนิคมอุตสาหกรรมนวนคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาเขตรังสิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต และมหาวิทยาลัยรังสิต ผ่านตัวเมืองรังสิตเข้าสู่พื้นที่ชานเมืองกรุงเทพมหานครฝั่งเหนือ จากนั้นยกระดับขึ้นเหนือพื้นดินเข้าสู่พื้นที่กองทัพอากาศอันเป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานดอนเมือง เข้าสู่ใจกลางกรุงเทพมหานครย่านบางซื่อ อันเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล จากนั้นลดระดับลงเป็นรถไฟฟ้าใต้ดินเพื่อวิ่งผ่านพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้มที่สถานียมราช รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลมที่สถานียศเส และรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลที่สถานีหัวลำโพง แล้วมุ่งหน้าลอดแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าสู่พื้นที่ฝั่งธนบุรี เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีทองที่สถานีคลองสาน รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลมและรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรมที่สถานีวงเวียนใหญ่ จากนั้นยกระดับขึ้นกลับเป็นทางยกระดับเข้าสู่พื้นที่ชานเมืองกรุงเทพมหานครฝั่งใต้ตามทางรถไฟสายแม่กลอง เข้าสู่จังหวัดสมุทรสาครเพื่อผ่านตัวเมืองมหาชัยแล้วมุ่งหน้าข้ามแม่น้ำท่าจีน เพื่อมุ่งหน้าสู่จังหวัดสมุทรสงคราม และตลาดร่มหุบแม่กลอง เพื่อข้ามแม่น้ำแม่กลอง วิ่งคู่ขนานกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3093 เข้าสู่จังหวัดราชบุรี เพื่อสิ้นสุดทั้งเส้นทางที่สถานีรถไฟปากท่อ อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ที่เป็นจุดเชื่อมต่อกับทางรถไฟสายใต้ที่จะมุ่งหน้าสู่ภาคใต้ต่อไป รวมระยะทางทั้งสิ้น 185 กิโลเมตร

พื้นที่ที่เส้นทางผ่าน[แก้]

ตำบล/แขวง อำเภอ/เขต จังหวัด
ภาชี / ไผ่ล้อม / กระจิว ภาชี พระนครศรีอยุธยา
ข้าวเม่า อุทัย
หนองปลิง นครหลวง
บ้านเกาะ / หอรัตนไชย / กะมัง / เกาะเรียน พระนครศรีอยุธยา
ขนอนหลวง / บ้านโพธิ์ / บางกระสัน / เชียงรากน้อย บางปะอิน
คลองหนึ่ง คลองหลวง ปทุมธานี
ประชาธิปัตย์ ธัญบุรี
หลักหก เมืองปทุมธานี
สีกัน / สนามบิน / ดอนเมือง ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร
ตลาดบางเขน หลักสี่
ลาดยาว / จตุจักร จตุจักร
บางซื่อ บางซื่อ
สามเสนใน พญาไท
สวนจิตรลดา ดุสิต
รองเมือง ปทุมวัน
มหาพฤฒาราม / บางรัก บางรัก
คลองต้นไทร / คลองสาน คลองสาน
บางยี่เรือ / ตลาดพลู ธนบุรี
บางค้อ / บางขุนเทียน จอมทอง
คลองบางบอน / บางบอนใต้ บางบอน
แสมดำ บางขุนเทียน
บางน้ำจืด / คอกกระบือ / โคกคาม / มหาชัย / ท่าฉลอม / ท่าจีน / บางกระเจ้า / บ้านบ่อ / บางโทรัด / กาหลง / นาโคก เมืองสมุทรสาคร สมุทรสาคร
ลาดใหญ่ / บางแก้ว / แม่กลอง / ท้ายหาด / บางขันแตก เมืองสมุทรสงคราม สมุทรสงคราม
สวนหลวง / ปลายโพงพาง / วัดประดู่ อัมพวา
วัดยางงาม / ปากท่อ ปากท่อ ราชบุรี

แนวเส้นทาง[แก้]

รถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยา มีแนวเส้นทางในแนวเหนือ-ใต้ของกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง ตลอดจนจังหวัดบริวารใกล้เคียง มีจุดเริ่มต้นของทั้งโครงการที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล

ในแนวเหนือ เส้นทางจะเริ่มจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์วิ่งขึ้นไปทางเหนือตามแนวทางรถไฟสายเหนือไปจนพ้นพื้นที่ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน รถไฟฟ้าจะวิ่งข้ามทางพิเศษศรีรัช และถนนรัชดาภิเษกช่วงใกล้ ๆ กับทางแยกต่างระดับรัชวิภา จากนั้นเมื่อผ่านสถานีวัดเสมียนนารีไป แนวเส้นทางจะวิ่งเลียบถนนวิภาวดีรังสิต ด้วยการคร่อมบนถนนกำแพงเพชร 6 ซึ่งปรับแก้มาจากแนวเส้นทางเดิมเล็กน้อย เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้โครงสร้างร่วมกับโครงการโฮปเวลล์เดิม ระหว่างทางจะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลที่สถานีบางเขน, รถไฟฟ้าสายสีชมพูที่สถานีหลักสี่, รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน และรถไฟความเร็วสูง 3 เส้นทาง คือสายเหนือ, สายอีสาน และสายเชื่อม 3 สนามบิน ที่สถานีดอนเมืองบริเวณท่าอากาศยานดอนเมือง จากนั้นแนวเส้นทางจะเบี่ยงกลับไปวิ่งตามทางรถไฟสายเหนือตลอดทางจนกระทั่งสิ้นสุดเส้นทางในส่วนเหนือที่สถานีรถไฟบ้านภาชี อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ในแนวใต้ เส้นทางจะเริ่มจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์วิ่งลงไปทางทิศใต้ตามแนวทางรถไฟสายเหนือ แล้วลดระดับลงเป็นรถไฟฟ้าใต้ดิน เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ที่สถานียมราช ก่อนผุดขึ้นมาอยู่ในแนวถนนเพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม ที่สถานียศเส และเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลอีกครั้งที่สถานีหัวลำโพง จากนั้นแนวเส้นทางจะกลับลงใต้ดินและวิ่งแนวตรงมาทางใต้ตามแนวคลองผดุงกรุงเกษมแล้วลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณปากคลองผดุงกรุงเกษมฝั่งใต้ ใกล้ ๆ กับศูนย์การค้าริเวอร์ซิตี เข้าสู่ฝั่งธนบุรี และลอดใต้โรงแรมมิลเลนเนียม ฮิลตัน กรุงเทพ เข้าสู่ถนนเจริญรัถ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีทองที่สถานีคลองสาน จากนั้นวิ่งใต้ถนนเจริญรัถไปจนถึงวงเวียนใหญ่เพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรมที่สถานีวงเวียนใหญ่ แล้ววิ่งต่อตามแนวทางรถไฟสายแม่กลอง เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลมอีกครั้งที่สถานีวุฒากาศ จากนั้นจึงไต่ระดับกลับขึ้นมาเป็นรถไฟฟ้ายกระดับแล้ววิ่งต่อไปตามแนวทางรถไฟสายแม่กลองไปจนถึงสถานีมหาชัยใหม่ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร จากนั้นเส้นทางจะข้ามแม่น้ำท่าจีนแล้ววิ่งต่อไปตามแนวทางรถไฟสายแม่กลองไปจนถึงสถานีรถไฟแม่กลอง อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม แล้วยกระดับข้ามแม่น้ำแม่กลองแล้ววิ่งต่อในแนวขนานกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3093 แล้วสิ้นสุดทั้งโครงการที่สถานีรถไฟปากท่อ อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี

แผนที่แสดงการเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนอื่น[แก้]

รายชื่อสถานี[แก้]

ชื่อและสีของสถานี รหัสสถานี ขบวนที่จอด จุดเปลี่ยนเส้นทาง วันที่เปิดให้บริการ ที่ตั้ง
รถไฟฟ้า รถทางไกล
รังสิต SRT RN10.svg 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ปทุมธานี
หลักหก (มหาวิทยาลัยรังสิต) SRT RN09.svg -
ดอนเมือง SRT RN08.svg  สายซิตี้  สถานีดอนเมือง (กำลังก่อสร้าง) กรุงเทพมหานคร
การเคหะ SRT RN07.svg -
หลักสี่ SRT RN06.svg -  สายสีชมพู  สถานีหลักสี่ (กำลังก่อสร้าง)
ทุ่งสองห้อง SRT RN05.svg -
บางเขน SRT RN04.svg -  สายสีน้ำตาล  สถานีบางเขน (โครงการ)
วัดเสมียนนารี SRT RN03.svg -
จตุจักร SRT RN02.svg -
กรุงเทพอภิวัฒน์
(สถานีกลาง)
SRT RN01-RS01.svg  สายนครวิถี  (สถานีร่วม)
 สายเฉลิมรัชมงคล  สถานีบางซื่อ
 สายซิตี้  สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (กำลังก่อสร้าง)

รูปแบบของโครงการ[แก้]

ทางวิ่งและขบวนรถ[แก้]

สายไฟฟ้าแรงสูงที่อยู่เหนือราง
  • เป็นระบบไฟฟ้าขนาดหนัก (heavy rail transit)
  • ทางวิ่งยกระดับที่ความสูง 17 เมตรตลอดทั้งโครงการ ยกเว้น (1) ช่วงสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ - สถานีหัวลำโพง - สถานีวงเวียนใหญ่ รถไฟฟ้าจะลดระดับลงเป็นรถไฟฟ้าใต้ดินที่ความลึก 12 เมตรจากผิวถนนบริเวณใต้ถนนกำแพงเพชร 5 หลังออกจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ และจะลดระดับลงเรื่อย ๆ จนถึงความลึกระดับเดียวกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง-อิสรภาพ ที่ 30 เมตรจากผิวถนน และ 7 เมตรจากใต้ท้องน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อลอดข้ามสู่ฝั่งธนบุรี เมื่อพ้นสถานีคลองสานรถไฟฟ้าจะเพิ่มระดับกลับมาอยู่ที่ 12 เมตรที่สถานีวงเวียนใหญ่ ก่อนพ้นเป็นรถไฟระดับดินที่สถานีตลาดพลู (2) ช่วงเข้า-ออกสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ทางวิ่งจะยกระดับที่ความสูงประมาณ 7 เมตรแล้วจะไต่ระดับความสูงขึ้นไปที่ 17 เมตรก่อนเข้าสถานีจตุจักร (3) ช่วงเข้าสถานีดอนเมือง รถไฟฟ้าจะยกระดับขึ้นจาก 17 เมตรเป็น 19 เมตร เพื่อเข้าชานชาลาชั้น 4 ของสถานีดอนเมือง และ (4) ช่วงดอนเมือง - รังสิต - บ้านภาชี หลังจากออกจากสถานีดอนเมือง รถไฟฟ้าจะค่อยๆ ลดระดับกลับมาอยู่ที่ 17 เมตร แล้วค่อยลดระดับลงไปที่ระดับดินเข้าสถานีหลักหก จากนั้นจะยกระดับกลับไปที่ความสูง 12 เมตรเพื่อเข้าสถานีรังสิต และลดระดับกลับลงมาเป็นระดับดินผสมกับสถานียกระดับไปจนถึงสถานีปลายทางบ้านภาชี
  • ขนาดราง 1 เมตร (Meter guage) โดยมีสายไฟฟ้าแรงสูงตีขนานอยู่เหนือราง ระบบรถไฟฟ้าใช้วิธีการรับไฟฟ้าจากด้านบนด้วยแพนโทกราฟ
  • ตัวรถเป็นรถปรับอากาศขนาดกว้าง 2.86 เมตร ยาว 20 เมตร ต่อตู้ สูงประมาณ 3.7 เมตร ความจุ 250-300 คนต่อคัน ต่อพวงได้ 3-10 คันต่อขบวน โดย แบบ 6 ตู้จะยาว 121.2 เมตร และ แบบ 4 ตู้จะยาว 81.2 เมตร[2] ใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ 25 กิโลโวลต์ 50 เฮิรตซ์ ส่งจากสถานีไฟฟ้าแรงสูงจตุจักรของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และสถานีจ่ายไฟต้นทางบางซื่อของการไฟฟ้านครหลวงเพื่อป้อนระบบขับเคลื่อนรถ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 18,213 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง
  • ใช้ระบบอาณัติสัญญาณเดินรถด้วยระบบอัตโนมัติจากศูนย์ควบคุมการเดินรถ และใช้ระบบเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติเช่นเดียวกับรถไฟฟ้ามหานคร

ศูนย์ซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมการเดินรถ[แก้]

โครงการมีศูนย์ซ่อมบำรุงใหญ่ตั้งอยู่ภายในบริเวณพื้นที่เดิมของโรงรถจักรบางซื่อ ซึ่งเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงที่ใช้งานร่วมกับรถไฟฟ้าชานเมือง สายนครวิถี และมีศูนย์ซ่อมบำรุงย่อยบริเวณทางทิศใต้ของสถานีคอกควายและสถานีบ้านนาโคก จังหวัดสมุทรสาคร ส่วนศูนย์ควบคุมการเดินรถกลางจะอยู่ในสำนักงานบริหารโครงการสายสีแดง บริเวณอาคารผู้โดยสารสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์

สิ่งอำนวยความสะดวก[แก้]

มีจุดจอดแล้วจร (park and ride) ที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์

สถานี[แก้]

ชานชาลาสถานีดอนเมืองในปี 2564

ในระยะแรก (ธรรมศาสตร์รังสิต - หัวลำโพง) มีทั้งหมด 18 สถานี (ไม่รวมสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์) ปัจจุบันก่อสร้างแล้วเสร็จ 9 สถานี โดยเป็นสถานียกระดับ 8 สถานี และสถานีระดับดิน 1 สถานี และสถานีส่วนต่อขยาย 9 สถานี

ตัวสถานีมีความยาวประมาณ 210 เมตร รองรับการจอดรถไฟฟ้าได้สูงสุด 10 ตู้โดยสาร ออกแบบให้หลบเลี่ยงสาธารณูปโภคใต้ดินและบนดิน และรักษาสภาพผิวดินให้มากที่สุด มีเสายึดสถานีคร่อมอยู่บนทางรถไฟ บางส่วนของโครงการใช้โครงสร้างเดิมของโครงการโฮปเวลล์เป็นเสายึดโครงสร้างของโครงการ

ขบวนรถไฟฟ้า[แก้]

รถไฟฟ้าที่ใช้ในโครงการทั้งหมดเป็นรถไฟฟ้าประเภทวิ่งชานเมืองรุ่น เอ-ซีรีส์ 1000 ที่เป็นรุ่นสั่งเฉพาะ โดยอาศัยเค้าโครงต้นแบบจาก ฮิตาชิ เอที 100 เมโทร มีทั้งหมด 15 ขบวน 90 ตู้ ต่อพ่วงขบวนละ 6 ตู้ ผลิตโดย ฮิตาชิ จุผู้โดยสารได้สูงสุด 1,366 คนต่อขบวน (คำนวณจากอัตราหนาแน่นที่ 3 คน/ตารางเมตร) มีความเร็วสูงสุด 152 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้ระบบอาณัติสัญญาณแบบอัตโนมัติมาตรฐานยุโรป (ETCS) ระดับที่ 1 ภายในขบวนรถไฟฟ้าจะมีเก้าอี้แบบแข็งสองแถวตั้งตามความยาวของตัวรถแบบเดียวกับรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ส่วนต่อขยาย[แก้]

ส่วนต่อขยายด้านเหนือ[แก้]

ส่วนต่อขยายรังสิต – ธรรมศาสตร์รังสิต[แก้]

ส่วนต่อขยายธรรมศาสตร์รังสิต – บ้านภาชี[แก้]

รายชื่อสถานี[แก้]

สถานี โครงสร้าง กม.ที่ ขบวนที่จอด เชื่อมต่อกับ ที่ตั้ง
รถไฟฟ้า รถทางไกล
รังสิต – ธรรมศาสตร์รังสิต
SRT Bangkok Commuter Rail Dark Red Line Logo.svg RN10 รังสิต Rangsit ยกระดับ
ระดับดิน
38+400 จังหวัดปทุมธานี
SRT Bangkok Commuter Rail Dark Red Line Logo.svg RN11 คลองหนึ่ง Khlong Neung ระดับดิน -
SRT Bangkok Commuter Rail Dark Red Line Logo.svg RN12 มหาวิทยาลัยกรุงเทพ Bangkok University -
SRT Bangkok Commuter Rail Dark Red Line Logo.svg RN13 เชียงราก Chiang Rak -
SRT Bangkok Commuter Rail Dark Red Line Logo.svg RN14 ธรรมศาสตร์รังสิต Thammasat Rangsit -
ธรรมศาสตร์รังสิต – บ้านภาชี [7]
SRT Bangkok Commuter Rail Dark Red Line Logo.svg RN15 นวนคร Navanakorn ระดับดิน 38+400 - จังหวัดปทุมธานี
SRT Bangkok Commuter Rail Dark Red Line Logo.svg RN16 เชียงรากน้อย Chiang Rak Noi 44+300 - จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
SRT Bangkok Commuter Rail Dark Red Line Logo.svg RN17 บางปะอิน Bang Pa-In 50+400 -
SRT Bangkok Commuter Rail Dark Red Line Logo.svg RN18 บ้านโพ Ban Pho 55+200 -
SRT Bangkok Commuter Rail Dark Red Line Logo.svg RN19 อยุธยา Ayutthaya 63+500 รถไฟความเร็วสูงสายอีสาน, รถไฟความเร็วสูงสายเหนือ
SRT Bangkok Commuter Rail Dark Red Line Logo.svg RN20 บ้านม้า Ban Ma 67+100 -
SRT Bangkok Commuter Rail Dark Red Line Logo.svg RN21 มาบพระจันทร์ Nap Phra Chan 71+400 -
SRT Bangkok Commuter Rail Dark Red Line Logo.svg RN22 พระแก้ว Phra Kai 77+800 -
SRT Bangkok Commuter Rail Dark Red Line Logo.svg RN23 บ้านภาชี Baan Pa-Chi 90+469

ส่วนต่อขยายด้านใต้[แก้]

ส่วนต่อขยายกรุงเทพอภิวัฒน์ - ปากท่อ[แก้]

ช่วงกรุงเทพอภิวัฒน์ - หัวลำโพง[แก้]
ช่วงหัวลำโพง - มหาชัย[แก้]
ช่วงมหาชัย - ปากท่อ[แก้]

รายชื่อสถานี[แก้]

รหัสสถานี สถานี โครงสร้าง กม.
จากบางซื่อ
ขบวนที่จอด เชื่อมต่อกับ ที่ตั้ง
รถไฟฟ้า รถทางไกล จังหวัด
กรุงเทพอภิวัฒน์ - หัวลำโพง
SRT Bangkok Commuter Rail Dark Red Line Logo.svg RS01/
RN01
กรุงเทพอภิวัฒน์
(สถานีกลาง)
Bang Sue ยกระดับ 0+000  สายนครวิถี  (สถานีร่วม)
 สายเฉลิมรัชมงคล  สถานีบางซื่อ
 สายซิตี้  สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (กำลังก่อสร้าง)
กรุงเทพมหานคร
SRT Bangkok Commuter Rail Dark Red Line Logo.svg RS02 สามเสน Sam Sen ใต้ดิน 3+040 -
SRT Bangkok Commuter Rail Dark Red Line Logo.svg RS03 แยกราชวิถี Yaek Rajavithi n/a -  สายนครวิถี  (สถานีร่วม)
SRT Bangkok Commuter Rail Dark Red Line Logo.svg RS04 ยมราช Yommarat 5+580 -  สายสีส้ม  สถานียมราช (โครงการ)
SRT Bangkok Commuter Rail Dark Red Line Logo.svg RS05 ยศเส Yotse ใต้ดิน[note 1] 6+750 -  สายสีลม  สถานียศเส (โครงการ)
SRT Bangkok Commuter Rail Dark Red Line Logo.svg RS06 หัวลำโพง Hua Lamphong 7+500  สายเฉลิมรัชมงคล  สถานีหัวลำโพง
หัวลำโพง - มหาชัย [8]
อุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา
SRT Bangkok Commuter Rail Dark Red Line Logo.svg RS07 คลองสาน Khlong San ใต้ดิน 9+360  สายสีทอง  คลองสาน กรุงเทพมหานคร
SRT Bangkok Commuter Rail Dark Red Line Logo.svg RS08 วงเวียนใหญ่ Wongwian Yai 11+420  สายสีลม   สายฉลองรัชธรรม  วงเวียนใหญ่ (โครงการ)
SRT Bangkok Commuter Rail Dark Red Line Logo.svg RS09 ตลาดพลู Talat Phlu ระดับดิน 12+980  สายสีลม  ตลาดพลู
SRT Bangkok Commuter Rail Dark Red Line Logo.svg RS10 วุฒากาศ Wutthakat ยกระดับ 14+120  สายสีลม  วุฒากาศ
SRT Bangkok Commuter Rail Dark Red Line Logo.svg RS11 จอมทอง Chom Thong 15+630
SRT Bangkok Commuter Rail Dark Red Line Logo.svg RS12 วัดไทร Wat Sai 17+140
SRT Bangkok Commuter Rail Dark Red Line Logo.svg RS13 วัดสิงห์ Wat Sing 18+440
SRT Bangkok Commuter Rail Dark Red Line Logo.svg RS14 บางบอน Bang Bon 21+200
SRT Bangkok Commuter Rail Dark Red Line Logo.svg RS15 รางสะแก Rang Sakae 24+100
SRT Bangkok Commuter Rail Dark Red Line Logo.svg RS16 รางโพธื์ Rang Pho 26+720
SRT Bangkok Commuter Rail Dark Red Line Logo.svg RS17 สามแยก Sam Yaek 28+190
SRT Bangkok Commuter Rail Dark Red Line Logo.svg RS18 พรมแดน Phrom Daen 28+580 สมุทรสาคร กรุงเทพมหานคร
SRT Bangkok Commuter Rail Dark Red Line Logo.svg RS19 ทุ่งสีทอง Thung Si Thong 30+040 - สมุทรสาคร
SRT Bangkok Commuter Rail Dark Red Line Logo.svg RS20 บางน้ำจืด Bang Nam Chuet 31+360 -
SRT Bangkok Commuter Rail Dark Red Line Logo.svg RS21 คอกควาย Khok Khwai 34+330 -
SRT Bangkok Commuter Rail Dark Red Line Logo.svg RS22 เอกชัย Ekkachai 40+330 -
SRT Bangkok Commuter Rail Dark Red Line Logo.svg RS23 มหาชัย Maha Chai 45+090
มหาชัย - ปากท่อ [9] [10]
สะพานข้ามแม่น้ำท่าจีน
SRT Bangkok Commuter Rail Dark Red Line Logo.svg RS24 ท่าฉลอม Tha Chalom ยกระดับ 46+460 สมุทรสาคร
SRT Bangkok Commuter Rail Dark Red Line Logo.svg RS25 นกเล็ก Nok Lek 50+860 -
SRT Bangkok Commuter Rail Dark Red Line Logo.svg RS26 สีคต Si Khot 51+800 -
SRT Bangkok Commuter Rail Dark Red Line Logo.svg RS27 บางกระเจ้า Bang Krachao 53+760 -
SRT Bangkok Commuter Rail Dark Red Line Logo.svg RS28 บ้านบ่อ Baan Bo 55+680
SRT Bangkok Commuter Rail Dark Red Line Logo.svg RS29 บางโทรัด Bang Tho Rat 58+080 -
SRT Bangkok Commuter Rail Dark Red Line Logo.svg RS30 บ้านกาหลง Baan Ka Long 60+670 -
SRT Bangkok Commuter Rail Dark Red Line Logo.svg RS31 บ้านนาขวาง Baan Na Khwang 62+490 -
SRT Bangkok Commuter Rail Dark Red Line Logo.svg RS32 บ้านนาโคก Baan Na Khok 64+830
SRT Bangkok Commuter Rail Dark Red Line Logo.svg RS33 บ้านเขตเมือง Baan Khet Mueang 68+700 - สมุทรสงคราม
SRT Bangkok Commuter Rail Dark Red Line Logo.svg RS34 ลาดใหญ่ Lat Yai 72+590 -
SRT Bangkok Commuter Rail Dark Red Line Logo.svg RS35 บางตะบูน Bang Tabun 68+100 -
SRT Bangkok Commuter Rail Dark Red Line Logo.svg RS36 แม่กลอง Mae Klong 70+800
สะพานข้ามแม่น้ำแม่กลอง
SRT Bangkok Commuter Rail Dark Red Line Logo.svg RS37 บางขันทอง Bang Khan Thong ยกระดับ 77+500 - สมุทรสงคราม
SRT Bangkok Commuter Rail Dark Red Line Logo.svg RS38 ปลายโพงพาง Plai Phong Phang 83+200 - ราชบุรี
SRT Bangkok Commuter Rail Dark Red Line Logo.svg RS39 วัดเพลง Wat Pleang 87+600 -
SRT Bangkok Commuter Rail Dark Red Line Logo.svg RS40 ปากท่อ Pak Tho ระดับดิน 92+600  สายใต้ 

แผนการก่อสร้าง[แก้]

อ้างอิงตามแผนแม่บทโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง โครงการรถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยา แบ่งออกเป็นช่วงๆ ดังนี้[11]

ระยะที่ ช่วง ระยะทาง สถานะ
1 ธรรมศาสตร์-บางซื่อ 36 กม. เปิดให้บริการช่วง กรุงเทพอภิวัฒน์ - รังสิต และเตรียมเปิดประมูลช่วง รังสิต-ธรรมศาสตร์
2 กรุงเทพอภิวัฒน์ - หัวลำโพง 11 กม. รวมงานโยธาเป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
3 หัวลำโพง - บางบอน 18 กม. เตรียมเปิดประมูล
4 บางบอน - มหาชัย 20 กม. เลื่อนการดำเนินการออกไปอย่างไม่มีกำหนด
5 มหาชัย - แม่กลอง 34 กม. ทบทวนการศึกษา
6 แม่กลอง - ปากท่อ 22 กม.
7 ธรรมศาสตร์ - บ้านภาชี 22 กม. ยังเป็นเพียงแค่แผนงาน ทั้งนี้โครงการรถไฟความเร็วสูงสายอีสาน จะดำเนินการก่อสร้างสถานีอยุธยาให้แล้วเสร็จก่อน

หมายเหตุ[แก้]

  1. ในแผนงานสถานียศเสกับสถานีหัวลำโพงถูกกำหนดเป็นสถานีใต้ดินเพื่อมุ่งหน้าลอดแม่น้ำเจ้าพระยาด้วยความลึกระดับเดียวกับสายเฉลิมรัชมงคล แต่ในระหว่างรอความชัดเจนเรื่องส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง-มหาชัย รฟท. จะสร้างเป็นระดับดิน โดยใช้ประโยชน์จากทางรถไฟและสถานีกรุงเทพเดิมที่มีอยู่แล้วไปก่อน เมื่อเริ่มก่อสร้างจริงจะเปลี่ยนโครงสร้างเป็นสถานีใต้ดินเต็มรูปแบบ

อ้างอิง[แก้]

  1. "พระราชทานชื่อ รถไฟสีแดง-สถานีกลางบางซื่อ "นครวิถี-ธานีรัถยา" และ "สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์"". ผู้จัดการออนไลน์. 29 กันยายน 2022. สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2022.
  2. [รฟท.รับมอบ “รถไฟฟ้าสายสีแดง” ชุดแรก 1 พ.ย.62 พร้อมทดสอบเดินรถไตรมาส 3/63 วันที่ 21/10/2019 https://www.kaohoon.com/content/322178]
  3. aof (2021-06-25). "ยาหอม "สายสีแดง มธ.รังสิต" มาปี68 ธรรมศาสตร์ จ่อ MOU คมนาคมผุด TOD". ประชาชาติธุรกิจ.
  4. ""ศักดิ์สยาม" หารืออธิการบดี มธ.สร้างรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม รังสิต-มธ.ศูนย์รังสิต". mgronline.com. 2021-06-25.
  5. "จี้เร่งสร้างรถไฟสายสีแดงไป มธ.ศูนย์รังสิต". dailynews. 2021-06-25.
  6. "ส่องความคืบหน้ารถไฟส่วนต่อขยายสายสีแดง ช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ ถึงไหนแล้ว". thansettakij.com.
  7. ช่วงบางซื่อ - มักกะสันและช่วงบางซื่อ – หัวลำโพง เก็บถาวร 2020-12-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน www.otp.go.th สืบค้นเมื่อ 04-04-2563.
  8. โครงการการพัฒนาศูนย์คมนาคมตากสินและโครงการรถไฟสายแม่กลองและส่วนต่อเนื่อง
  9. โครงการการพัฒนาศูนย์คมนาคมตากสินและโครงการรถไฟสายแม่กลองและส่วนต่อเนื่อง
  10. ช่วงบางซื่อ - มักกะสันและช่วงบางซื่อ – หัวลำโพง เก็บถาวร 2020-12-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน www.otp.go.th สืบค้นเมื่อ 04-04-2563.
  11. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-12. สืบค้นเมื่อ 2022-06-03.

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]