สถานีพระโขนง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระโขนง
Phra Khanong
BTS-Logo.svg
Bts sky train.jpg
สถานีพระโขนง
ข้อมูลทั่วไป
เจ้าของบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร
ผู้ให้บริการบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
สาย สายสุขุมวิท 
 สายสีเทา 
การเชื่อมต่อรถโดยสารประจำทาง
ถนนสุขุมวิท
เขต/อำเภอเขตวัฒนา, เขตคลองเตย
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
รูปแบบชานชาลาด้านข้าง
จำนวนชานชาลา2
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีBTS E8.svg
ทางออก4
บันไดเลื่อน3
ลิฟต์3
เวลาให้บริการ06.00 - 24.00 น.
ประวัติ
เปิดให้บริการ5 ธันวาคม พ.ศ. 2542
ที่ตั้ง
แผนที่จากเว็บไซต์รถไฟฟ้าบีทีเอส
หมายเหตุ
BTS E8 Traditional station sign.svg

สถานีพระโขนง (อังกฤษ: Phra Khanong Station, รหัส E8) เป็นสถานีรถไฟลอยฟ้า ในเส้นทางรถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา (รถไฟฟ้าบีทีเอส) สายสุขุมวิท ยกระดับเหนือถนนสุขุมวิท กรุงเทพมหานคร บริเวณย่านพระโขนง

ที่ตั้ง[แก้]

ด้านทิศตะวันตกของแยกพระโขนง จุดบรรจบถนนสุขุมวิท ถนนพระรามที่ 4 และถนนสุขุมวิท 71 (ปรีดี พนมยงค์) ระหว่างซอยสุขุมวิท 44/1-46 กับซอยสุขุมวิท 67-69 ในพื้นที่แขวงพระโขนงเหนือ เขตวัฒนา และแขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร

สถานีพระโขนงเป็นสถานีที่อยู่ใกล้ถนนปรีดี พนมยงค์ ซึ่งเป็นเส้นทางต่อเนื่องกับถนนรามคำแหง จึงสามารถเชื่อมต่อรถประจำทางไปสู่ย่านคลองตัน มหาวิทยาลัยรามคำแหง และบางกะปิ ซึ่งเป็นย่านการค้าและที่พักอาศัยที่สำคัญของกรุงเทพมหานครด้านตะวันออกและยังสามารถต่อเส้นทางไปยังสถานีรามคำแหง ของโครงการรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้ที่บริเวณป้ายหยุดรถรามคำแหง (หรือป้ายหยุดรถสุขุมวิท 71 เดิม) ได้อีกด้วย

แผนผังของสถานี[แก้]

U3
ชานชาลา
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 1  สายสุขุมวิท  มุ่งหน้า สถานีเคหะฯ
ชานชาลา 2  สายสุขุมวิท  มุ่งหน้า สถานีคูคต
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1-4, ศูนย์บริการผู้โดยสาร
ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า,
 สายสีเทา  สถานีพระโขนง
G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง, อาคารไทซิน, ที่ทำการไปรษณีย์พระโขนง
โรงเรียนศรีวิกรม์ โรงเรียนศรีวิกรม์บริหารธุรกิจ และโรงเรียนศรีวิกรม์คอมพิวเตอร์และภาษา

รูปแบบของสถานี[แก้]

เป็นแบบมีชานชาลาอยู่ 2 ข้าง (side platform station) ขนาดมาตรฐาน กว้างประมาณ 20 เมตร ยาวประมาณ 150 เมตร ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสาร และชานชาลา

สัญลักษณ์ของสถานี[แก้]

ใช้สีเขียวตกแต่งเสาและรั้วบนชั้นชานชาลา ชั้นจำหน่ายตั๋ว ป้ายทางเข้าและบริเวณทางขึ้นสถานี เพื่อบ่งบอกว่า เป็นสถานีด้านตะวันออก

ทางเข้า-ออก[แก้]

  • 1 โรงแรมจัสมิน รีสอร์ท แอนด์ ปาร์ค โฮเทล, อาคารไทซิน
  • 2 ริทึ่ม สุขุมวิท 44/1, ซอยสุขุมวิท 44/1, ป้ายรถประจำทางไปเอกมัย (ลิฟต์)
  • 3 ซอยสุขุมวิท 69, ที่ทำการไปรษณีย์พระโขนง, เวลท์ส เรสซิเดนซ์, ป้ายรถประจำทางไปอ่อนนุช (บันไดเลื่อน)
  • 4 ถนนพระราม 4, อีเกิ้ล สโตร์ สุขุมวิท-พระราม 4, ซอยสุขุมวิท 46 (ซอยภูมิจิตร)

จุดรวมพลอยู่ที่ทางออก 2 บริเวณหน้าปากซอยสุขุมวิท 44/1 และ ทางออก 4 หน้าอีเกิ้ล สโตร์ สุขุมวิท-พระราม 4

เวลาให้บริการ[แก้]

ปลายทาง ขบวนรถ ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสุขุมวิท
ชานชาลาที่ 1
BTS E23.svg เคหะฯ เต็มระยะ 05.44 00.22
ปลายทางสำโรง - 00.44
ชานชาลาที่ 2
BTS N24.svg คูคต เต็มระยะ 05.28 23.53
ปลายทางห้าแยกลาดพร้าว - 00.15

จุดเชื่อมต่อการเดินทางในอนาคต[แก้]

รถไฟฟ้าสายสีเทา เชื่อมต่อที่ สถานีทองหล่อ (โครงการ)

รถโดยสารประจำทาง[แก้]

  • ถนนสุขุมวิท รถขสมก. สาย รถขสมก. สาย 2 23 25 71 501 508 511 รถเอกชน สาย 38 40 48 71 98 133 มินิบัส สาย 71(จอดเฉพาะขาไปอ่อนนุช)

อุบัติเหตุ[แก้]

  • 21 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เวลา 18.41 น. บริเวณใต้สถานีพระโขนง ถนนสุขุมวิท เขตคลองเตย เจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจนครบาลคลองตันได้รับแจ้งเหตุจากนายสถานีพระโขนงว่ามีหญิงกระโดดลงมาจากชั้นชานชาลาสถานีรถไฟฟ้าพระโขนง ตรวจสอบที่เกิดเหตุพบร่าง น.ส.นง (นามสมมติ) อายุ 38 ปี พร้อมด้วยพลเมืองดีจำนวนหนึ่งที่กำลังช่วยชีวิต เจ้าหน้าที่จึงได้ประสานให้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ส่งรถกู้ชีพ เพื่อนำส่งรักษาที่โรงพยาบาลตำรวจ แต่เนื่องจากได้รับบาดเจ็บสาหัสและมีแผลฉกรรจบริเวณกะโหลกสมอง ผู้บาดเจ็บจึงเสียชีวิตในเวลาต่อมา เบื้องต้นจากการตรวจสอบร่างพบจดหมายลาตายสองฉบับถึงบุพการีและ "ผู้หมวด" โดยมีเนื้อหาตัดพ้อว่าติดโควิด-19 ทำให้ไม่มีงานทำ ไม่รู้จะใช้ชีวิตต่ออย่างไร จึงลงมือก่อเหตุในที่สุด[1]

สถานที่สำคัญใกล้เคียง[แก้]

  • ตลาดพระโขนง
  • ที่ทำการไปรษณีย์พระโขนง
  • สมาคมอัสสัมชัญ
  • โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท
  • สถานเอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาลประจำประเทศไทย
  • สถานเอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐไนจีเรียประจำประเทศไทย
  • สุเหร่าบางมะเขือ
  • โรงเรียนพระแม่มารีพระโขนง
  • ซัมเมอร์ ฮิลล์ และซัมเมอร์ พอยต์
  • ดับเบิลยู ดิสทริค

อาคารสำนักงาน[แก้]

  • อาคารไทซิน
  • อาคารสหไทย
  • อาคารซัมเมอร์ฮับ ออฟฟิศเซส

อ้างอิง[แก้]

สถานีใกล้เคียง[แก้]

สถานีก่อนหน้า ขบวนรถไฟ สถานีต่อไป
สถานีเอกมัย
มุ่งหน้า สถานีคูคต
   สายสุขุมวิท    สถานีอ่อนนุช
มุ่งหน้า สถานีเคหะฯ
สถานีทองหล่อ
มุ่งหน้า สถานีวัชรพล
   สายสีเทา 
(กรุงเทพมหานคร)
เชื่อมต่อที่ สถานีพระโขนง
  สถานีบ้านกล้วยใต้
มุ่งหน้า สถานีท่าพระ