อำเภออัมพวา
อำเภออัมพวา | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Amphawa |
คำขวัญ: ส้มโอรสดี ลิ้นจี่รสหวาน สาวงามอัมพวา | |
แผนที่จังหวัดสมุทรสงคราม เน้นอำเภออัมพวา | |
พิกัด: 13°25′30″N 99°57′24″E / 13.42500°N 99.95667°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สมุทรสงคราม |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 170.2 ตร.กม. (65.7 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 54,344 คน |
• ความหนาแน่น | 319.30 คน/ตร.กม. (827.0 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 75110 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 7503 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภออัมพวา ถนนโชติธำรงค์ ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม 75110 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
อัมพวา เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งอำเภออัมพวาเป็นอำเภอที่มีพื้นที่มากที่สุดของจังหวัดสมุทรสงคราม โดยมีประวัติเมื่อก่อนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีผู้คนมาตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ไม่มากนักต่อมาเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2310 ผู้คนอพยพมาอยู่กันมากขึ้น เพราะมีทำเลเหมาะแก่การเพาะปลูกและเป็นที่อยู่อาศัย ตามหลักฐานที่พอจะค้นคว้าได้นั้น ปรากฏว่า ทึ่ว่าการอำเภออัมพวาในอดีตได้อาศัยศาลาการเปรียญของวัดอัมพวันเจติยาราม ต่อมาได้ย้ายข้ามคลองอัมพวาไปอยู่ที่ศาลาการเปรียญวัดท้ายตลาด ตำบลบางกะพ้อม ซึ่งอยู่ห่างจากสถานที่เดิมไปประมาณ 400 เมตร และได้ย้ายมาอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำแม่กลองมาจนทุกวันนี้ และคงใช้ชื่ออัมพวา เพราะบริเวณนี้เดิมเป็นเรือกสวน มีต้นมะพร้าว และต้นมะม่วงอยู่เป็นจำนวนมาก ต้นมะพร้าวนั้นเป็นพืชหลักของสมุทรสงครามและมีอยู่ทั่วไป ส่วนต้นมะม่วงมีการปลูกอยู่อย่างหนาแน่นที่บริเวณนี้ จึงใช้ชื่ออัมพวามาตลอด[1] ปัจจุบันมี นายยุทธนา โพธิวิหค ดำรงตำแหน่งเป็นนายอำเภออัมพวาคนปัจจุบัน[2]
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภออัมพวามีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอบางคนที
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเมืองสมุทรสงคราม
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเขาย้อยและอำเภอบ้านแหลม (จังหวัดเพชรบุรี)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอปากท่อและอำเภอวัดเพลง (จังหวัดราชบุรี)
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภออัมพวาแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 12 ตำบล 96 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[3] |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|
1. | อัมพวา | Amphawa | –
|
4,551
|
|
2. | สวนหลวง | Suan Luang | 15
|
5,068
| |
3. | ท่าคา | Tha Kha | 12
|
5,539
| |
4. | วัดประดู่ | Wat Pradu | 10
|
5,531
| |
5. | เหมืองใหม่ | Mueang Mai | 10
|
4,105
| |
6. | บางช้าง | Bang Chang | 9
|
4,588
| |
7. | แควอ้อม | Khwae Om | 8
|
2,157
| |
8. | ปลายโพงพาง | Plai Phongphang | 9
|
8,259
| |
9. | บางแค | Bang Khae | 7
|
3,735
| |
10. | แพรกหนามแดง | Phraek Nam Daeng | 6
|
4,006
| |
11. | ยี่สาร | Yi San | 5
|
2,834
| |
12. | บางนางลี่ | Bang Nang Li | 5
|
3,585
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภออัมพวาประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 13 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลอัมพวา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอัมพวาทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลเหมืองใหม่ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเหมืองใหม่
- เทศบาลตำบลสวนหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสวนหลวงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าคา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าคาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลวัดประดู่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวัดประดู่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเหมืองใหม่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเหมืองใหม่ (นอกเขตเทศบาลตำบลเหมืองใหม่)
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางช้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางช้างทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแควอ้อม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแควอ้อมทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลปลายโพงพาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปลายโพงพางทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางแค ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางแคทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแพรกหนามแดง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแพรกหนามแดงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลยี่สาร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลยี่สารทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางนางลี่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางนางลี่ทั้งตำบล
โรงเรียนมัธยมในอำเภออัมพวา
[แก้]- โรงเรียนอัมพวันวิทยาลัย
- โรงเรียนวัดแก้วเจริญอำนวยวิทย์
วิทยาลัยอาชีวะศึกษาในอำเภออัมพวา
[แก้]- วิทยาลัยการอาชีพอัมพวา
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภออัมพวา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-26. สืบค้นเมื่อ 2020-04-12.
- ↑ "คำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 814/2563 ลงวันที่ 30 มีนาคม 2563" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-04-12. สืบค้นเมื่อ 2020-04-12.
- ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.