ข้ามไปเนื้อหา

สถานีเตาปูน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เตาปูน
BL10
PP16

Tao Poon
สถานีเตาปูน
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร
เจ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ผู้ให้บริการทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (บีอีเอ็ม)
สาย
ชานชาลาสายสีน้ำเงิน: 2 ชานชาลาด้านข้าง
สายสีม่วง: 1 ชานชาลาเกาะกลาง
ทางวิ่ง4
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
ทางเข้าออกสำหรับผู้พิการมีบริการ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีสายสีน้ำเงิน: BL10
สายสีม่วง: PP16
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ6 สิงหาคม พ.ศ. 2559 (สายสีม่วง)[1]
11 สิงหาคม พ.ศ. 2560 (สายสีน้ำเงิน)[2]
ผู้โดยสาร
25642,200,468
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้ามหานคร สถานีต่อไป
บางซื่อ
มุ่งหน้า หลักสอง
สายเฉลิมรัชมงคล บางโพ
มุ่งหน้า ท่าพระ
บางซ่อน
มุ่งหน้า คลองบางไผ่
สายฉลองรัชธรรม สถานีปลายทาง
ที่ตั้ง
แผนที่

สถานีเตาปูน (อังกฤษ: Tao Poon station; รหัส: PP16/BL10) เป็นสถานีรถไฟฟ้าแบบยกระดับเหนือทางแยกเตาปูน (จุดตัดระหว่างถนนประชาราษฎร์ สาย 2 กับถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี) เป็นสถานีร่วมของรถไฟฟ้ามหานคร 2 สาย ได้แก่ สายสีน้ำเงิน และ สายสีม่วง และเป็นสถานีเปลี่ยนเส้นทางรถไฟฟ้า (interchange station) เพียงสถานีเดียวระหว่างเส้นทางรถไฟฟ้ามหานครทั้ง 2 สายในปัจจุบัน เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2559 เพื่อให้บริการเฉพาะสายสีม่วง และเปิดให้บริการเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2560 ในสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงบางซื่อ–เตาปูน และวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ในสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงเตาปูน–ท่าพระ

ในอนาคต หลังการเปิดให้บริการเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน–ราษฎร์บูรณะ–ครุใน สถานีเตาปูนจะเป็นสถานีที่สามารถโดยสารรถไฟฟ้าไปยังปลายทางได้ทั้ง 4 ทิศทาง ได้แก่ ท่าพระ–หลักสอง (สายสีน้ำเงิน) และคลองบางไผ่–ครุใน (สายสีม่วง)

ประวัติ

[แก้]

ในช่วงแรกของการเปิดให้บริการสถานีเตาปูน (6 สิงหาคม พ.ศ. 2559 – 10 สิงหาคม พ.ศ. 2560) รถไฟฟ้าสายสีม่วงเป็นรถไฟฟ้าที่ไม่มีจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายอื่น เนื่องจากรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินยังคงเปิดให้บริการเดินรถในช่วงหัวลำโพง–บางซื่อ และส่วนต่อขยายช่วงเตาปูน–ท่าพระ ยังอยู่ในระหว่างดำเนินการก่อสร้าง ผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางเชื่อมต่อกับระบบรถไฟฟ้าเพื่อเดินทางเข้าสู่กรุงเทพมหานครชั้นใน จำเป็นต้องโดยสารรถโดยสารปรับอากาศเชื่อมต่อที่ ขสมก. ให้บริการระหว่างสถานีเตาปูนถึงสถานีบางซื่อ หรือรถไฟสปรินเตอร์เชื่อมต่อที่ รฟท. ให้บริการ (เฉพาะช่วงเวลาเร่งด่วน วันจันทร์–วันเสาร์) ระหว่างสถานีบางซ่อน (ที่หยุดรถไฟบางซ่อนของ รฟท.) – สถานีบางซื่อ (สถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ ของ รฟท.)[3]

จนกระทั่งวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2559 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติในขณะนั้นได้ออกคำสั่งโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557[4][5] ให้ดำเนินการเร่งรัดการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงบางซื่อ–เตาปูน ระยะทางประมาณ 1.2 กิโลเมตร โดยให้ รฟม. เจรจาร่วมกับ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) ให้เป็นผู้เดินรถตลอดสาย และได้เปิดให้บริการในระบบรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2560 นับจากวันนั้น สถานีเตาปูนก็ได้กลายเป็นสถานีปลายทางของระบบรถไฟฟ้ามหานครทั้ง 2 สายในปัจจุบัน โดยผู้โดยสารสามารถเดินทางต่อเนื่องได้ทันที โดยไม่ต้องแตะบัตรโดยสารออกจากระบบ จึงได้ยกเลิกรถไฟสปรินเทอร์เชื่อมต่อเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2560 และยกเลิกรถโดยสารปรับอากาศเชื่อมต่อเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ในช่วง พ.ศ. 2560–2562 สถานีเตาปูนเคยทำหน้าที่เป็นสถานีปลายทางของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) แทนสถานีบางซื่อ แต่ปัจจุบันไม่ได้ทำหน้าที่เป็นสถานีปลายทางอีกต่อไป เนื่องจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยได้เปิดใช้งาน โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงเตาปูน-ท่าพระ เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2562 แต่ทั้งนี้ สถานีเตาปูนยังคงทำหน้าที่เป็นสถานีปลายทางสำหรับรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) ต่อไป จนกว่าการก่อสร้างส่วนต่อขยาย ช่วงเตาปูน–ราษฎร์บูรณะ จะแล้วเสร็จ ในวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2571

ที่ตั้ง

[แก้]

ทางแยกเตาปูน (จุดบรรจบระหว่างถนนประชาราษฎร์ สาย 2 กับถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี) ในพื้นที่แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร

รายละเอียด

[แก้]

รูปแบบ

[แก้]

เป็นสถานีลอยฟ้า โดยชานชาลาของรถไฟฟ้าสายสีม่วงจะเป็นชานชาลากลาง (station with central platform) ส่วนรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินจะเป็นชานชาลาแบบข้าง (station with side platform) โดยชานชาลาของรถไฟฟ้าทั้งสองสายจะวางในแนวตั้งฉากกันตามทิศทางการเดินรถไฟฟ้าทั้งสองสาย

ทางเข้า–ออก

[แก้]
  • 1 ซอยนำชัย, ถนนประชาราษฎร์ สาย 2 ฝั่งมุ่งหน้าทางแยกบางโพ (ลิฟต์)
  • 2 ซอยกรุงเทพฯ-นนทบุรี 1 (ลิฟต์)
  • 3 ซอยกรุงเทพฯ-นนทบุรี 2, ตลาดมณีพิมาน (ลิฟต์)
  • 4 ถนนประชาราษฎร์ สาย 2 ฝั่งมุ่งหน้าทางแยกประชาชื่น[6][7]

การจัดสรรพื้นที่

[แก้]

แบ่งเป็น 3 ชั้น ประกอบด้วย

  • 4 ชั้นชานชาลาที่ 3 และ 4 สำหรับรถไฟฟ้าสายสีม่วง
  • 3 ชั้นชานชาลาที่ 1 และ 2 สำหรับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
  • 2 ชั้นออกบัตรโดยสาร

แผนผัง

[แก้]
U4
ชานชาลาสายสีม่วง
ชานชาลา 3 สายสีม่วง มุ่งหน้า คลองบางไผ่ (06:00–21:10 น.)
ชานชาลาเกาะกลาง, ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา
ชานชาลา 4 สายสีม่วง มุ่งหน้า คลองบางไผ่ (21:10–23:33 น.)
U3
ชานชาลาสายสีน้ำเงิน
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 2 สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า ท่าพระ
ชานชาลา 1 สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า หลักสอง (ผ่าน บางซื่อ)
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1–4, ศูนย์บริการผู้โดยสารและนักท่องเที่ยว, ศูนย์บริการผู้โดยสาร, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า
G
ระดับถนน
ป้ายรถประจำทาง, ป้ายรถตู้รับส่ง เกตเวย์ แอท บางซื่อ, ตลาดสดมณีพิมาน

เนื่องจากสถานีเตาปูนทำหน้าที่เป็นทั้งสถานีชุมทางสำหรับตัดระยะในชั่วโมงเร่งด่วนช่วงเช้า (เฉพาะวันจันทร์–ศุกร์ ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 07:00–09:00 น.) ของสายสีน้ำเงิน[8] และสถานีปลายทางสำหรับสายสีม่วง การใช้งานสถานีจึงมีการบริหารจัดการดังต่อไปนี้

  • ชานชาลาสายสีน้ำเงิน เนื่องมาจากมีการปรับแผนการเดินรถให้มีประสิทธิภาพด้วยการแยกระหว่างขบวนไปสถานีเตาปูน และสถานีท่าพระ เฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วนช่วงเช้า รถไฟฟ้าที่สิ้นสุดที่สถานีเตาปูน จะใช้ชานชาลาที่ 2 เป็นชานชาลาปลายทาง ผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางไปสถานีท่าพระ จะต้องออกจากขบวนรถ แล้วรอรถขบวนถัดไปที่ชานชาลาฝั่งตรงข้าม
  • ชานชาลาสายสีม่วง เนื่องจากเป็นสถานีปลายทาง เมื่อขบวนรถจากสถานีคลองบางไผ่มาถึงสถานีเตาปูนแล้ว ผู้โดยสารที่เดินทางมาจากสถานีรายทางจะต้องลงจากขบวนรถทั้งหมด และเนื่องจากเป็นชานชาลาเกาะกลาง ผู้โดยสารที่จะโดยสารไปยังสถานีคลองบางไผ่จะใช้ชานชาลาร่วมกับผู้โดยสารจากสถานีรายทาง โดยผู้โดยสารที่จะโดยสารไปยังสถานีคลองบางไผ่จะต้องรอจนกว่าผู้โดยสารจากสถานีรายทางลงจากขบวนรถทั้งหมด และรอให้เจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบสภาพของรถไฟฟ้าให้เรียบร้อยเสียก่อน โดยรูปแบบการเดินรถเทียบชานชาลาเป็นช่วงเวลา ดังนี้ เวลา 06:00–21:10 น. ขบวนรถจะจอดรับ-ส่ง ที่ชานชาลาหมายเลข 3 และเวลา 21:10–23:33 น. ขบวนรถจะจอดรับ–ส่ง ที่ชานชาลาหมายเลข 4[9]

เวลาให้บริการ

[แก้]
ปลายทาง ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
จันทร์ – ศุกร์ เสาร์ – อาทิตย์
และนักขัตฤกษ์
ทุกวัน
สายเฉลิมรัชมงคล[10]
ชานชาลาที่ 1
BL38 หลักสอง
(ผ่านบางซื่อ)
05:56 05:59 23:30
ชานชาลาที่ 2
BL01 ท่าพระ 05:56 05:59 00:07
สายฉลองรัชธรรม[11]
ชานชาลาที่ 3 และ 4
PP01 คลองบางไผ่ 06:00 06:18 23:33

สถานที่ใกล้เคียง

[แก้]

รถโดยสารประจำทาง

[แก้]

ถนนประชาราษฎร์ สาย 2 (มุ่งหน้าแยกประชาชื่น/บางซื่อ)

[แก้]

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

[แก้]
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
50 (2) เรือข้ามฟาก พระราม 7 สวนลุมพินี 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

ขสมก.
65 (2) วัดปากน้ำนนทบุรี สนามหลวง 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
66 (2) ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 รถโดยสารประจำทาง สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี) 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

2-33 หมู่บ้านบัวทองเคหะ สถานีรถไฟฟ้าบางซื่อ 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง
  • ถนนประชาราษฎร์ สาย 2 (ฝั่งไปทางแยกประชาชื่น) สาย 50 65 66 97 2-33

ถนนประชาราษฎร์ สาย 2 (มุ่งหน้าแยกบางโพ)

[แก้]

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

[แก้]
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
16 (2) รถโดยสารประจำทาง อู่กำแพงเพชร เรือข้ามฟาก ท่าน้ำสี่พระยา 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

ขสมก.
เสาวภา
66 (2) ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 รถโดยสารประจำทาง สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี)
505 (2) เรือข้ามฟาก ท่าน้ำปากเกร็ด สวนลุมพินี 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
  • ถนนประชาราษฎร์ สาย 2 (ฝั่งไปทางแยกบางโพ) สาย 16 30 66 505

ถนนกรุงเทพ-นนทบุรี

[แก้]

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

[แก้]
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
16 (2) รถโดยสารประจำทาง อู่กำแพงเพชร เรือข้ามฟาก ท่าน้ำสี่พระยา 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

ขสมก.
เสาวภา
50 (2) เรือข้ามฟาก พระราม 7 สวนลุมพินี
65 (2) วัดปากน้ำนนทบุรี สนามหลวง 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
505 (2) เรือข้ามฟาก ท่าน้ำปากเกร็ด สวนลุมพินี 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
2-33 หมู่บ้านบัวทองเคหะ สถานีรถไฟฟ้าบางซื่อ 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง
  • ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี สาย 16 30 50 65 97 505 2-33


อ้างอิง

[แก้]
  1. "ข่าวรอบวัน".
  2. "เปิดแน่ 11 ส.ค. จุดเชื่อมรถไฟฟ้าสีม่วง-สีน้ำเงิน - VoiceTV". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-13. สืบค้นเมื่อ 2017-07-25.
  3. "วันนี้ที่รอคอย! "รถไฟฟ้าสายสีม่วง" ความหวังใหม่ของคนชานเมือง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-07. สืบค้นเมื่อ 2019-07-07.
  4. "คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 78/2559 เรื่อง มาตรการแก้ไขปัญหาการเชื่อมต่อระบบรถไฟฟ้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (สายเฉลิมรัชมงคล) ช่วงหัวลำโพง - บางซื่อ และโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่ - บางซื่อ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 2559. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-01-10. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. ‘บิ๊กตู่’ใช้ ม.44 ไฟเขียวจ้างเดินรถขาดช่วงเตาปูน-บางซื่อ ได้ทันที
  6. "แผนผังสถานีเตาปูน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-30. สืบค้นเมื่อ 2020-04-20.
  7. "รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-07. สืบค้นเมื่อ 2020-04-20.
  8. รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน แจ้งรูปแบบการให้บริการเดินรถไฟฟ้า[ลิงก์เสีย]
  9. ข้อมูลจากสถานีเตาปูน
  10. "รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ตารางเดินรถไฟฟ้า". www.mrta.co.th.
  11. "รถไฟฟ้าสายสีม่วง ตารางเดินรถ". www.mrta.co.th.