สถานีสุรศักดิ์

พิกัด: 13°43′9.26″N 100°31′17.32″E / 13.7192389°N 100.5214778°E / 13.7192389; 100.5214778
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุรศักดิ์
S5

Surasak
สถานีสุรศักดิ์จากมุมสูง
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนสาทรเหนือและถนนสาทรใต้ เขตบางรักและเขตสาทร กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°43′9.26″N 100°31′17.32″E / 13.7192389°N 100.5214778°E / 13.7192389; 100.5214778
เจ้าของกรุงเทพมหานคร
ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี)
ผู้ให้บริการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี)
สาย
ชานชาลา2 ชานชาลาด้านข้าง
ราง2
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีS5
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ5 ธันวาคม พ.ศ. 2542; 24 ปีก่อน (2542-12-05)
ผู้โดยสาร
25641,198,528
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีต่อไป
เซนต์หลุยส์ สายสีลม สะพานตากสิน
มุ่งหน้า บางหว้า
ที่ตั้ง
แผนที่

สถานีสุรศักดิ์ (อังกฤษ: Surasak station; รหัส: S5) เป็นสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสแบบยกระดับในเส้นทางสายสีลม โดยโครงสร้างสถานีอยู่เหนือถนนสาทรเหนือและถนนสาทรใต้ในพื้นที่เขตบางรักและเขตสาทร กรุงเทพมหานคร

ที่ตั้ง[แก้]

อยู่เหนือคลองสาทรและถนนสาทรเหนือและถนนสาทรใต้ ด้านทิศตะวันออกของทางแยกสาทร–สุรศักดิ์ ใกล้ทางแยกสาทร–ประมวญ หน้าหอการค้าไทย–จีน ในพื้นที่แขวงสีลม เขตบางรัก และแขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร

แผนผังของสถานี[แก้]

U3
ชานชาลา
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 3 สายสีลม มุ่งหน้า บางหว้า (สะพานตากสิน)
ชานชาลา 4 สายสีลม มุ่งหน้า สนามกีฬาแห่งชาติ (เซนต์หลุยส์)
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1–4, ศูนย์บริการผู้โดยสาร
ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า
G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง, โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
หอการค้าไทย–จีน และอาคารไทยซีซี

รูปแบบของสถานี[แก้]

เป็นแบบมีชานชาลาอยู่ 2 ข้าง ขนาดมาตรฐาน กว้างประมาณ 20 เมตร ยาวประมาณ 150 เมตร ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสารและชานชาลา มีประตูอัตโนมัติกั้นชานชาลาแบบครึ่งความสูง โดยที่ระดับความสูงชานชาลาจะมากกว่าปกติที่ 19 เมตร เนื่องมาจากเส้นทางรถไฟฟ้าจากด้านตะวันตกจะต้องข้ามทางพิเศษศรีรัชก่อนถึงสถานี

สิ่งอำนวยความสะดวก[แก้]

ทางเข้า-ออก[แก้]

คอนโด เดอะแบงค็อก สาทร

จุดรวมพลอยู่ที่ทางออก 2 หน้า เดอะ แบงค็อก สาทร และ ทางออก 4 บริเวณหน้าปากซอยสาทร 15

เวลาให้บริการ[แก้]

ปลายทาง ขบวนรถ ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสีลม[1]
ชานชาลาที่ 3
S12 บางหว้า เต็มระยะ 05.42 00.27
ชานชาลาที่ 4
W1 สนามกีฬาแห่งชาติ เต็มระยะ 05.43 00.01
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสุขุมวิท 23.48

การเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนอื่น[แก้]

รถโดยสารประจำทาง[แก้]

  • Handicapped/disabled access เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ[แก้]

สายที่ เขตการเดินรถที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
21E (4-7E) Handicapped/disabled access 5 (กปด.15) วัดคู่สร้าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้ก๊าซธรรมชาติ) ขสมก. รถบริการทางด่วน (ขึ้นทางด่วนด่านสุขสวัสดิ์ ลงด่านสาทร)
77 4 (กปด.24) เซ็นทรัลพระราม 3 รถโดยสารประจำทาง สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
77 รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

รถเอกชน[แก้]

สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
17 (4-3) Handicapped/disabled access บิ๊กซีพระประแดง รถโดยสารประจำทาง อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.ไทยสมายล์บัส
77 (3-45) Handicapped/disabled access เซ็นทรัลพระราม 3 รถโดยสารประจำทาง สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร)
149 (4-53) Handicapped/disabled access บรมราชชนนี รถโดยสารประจำทาง สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (เอกมัย)
167 (4-26) Handicapped/disabled access เคหะธนบุรี สวนลุมพินี รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.สมาร์ทบัส
(เครือไทยสมายล์บัส)
167 (4-26) รถโดยสารประจำทางสีส้ม (ใช้พลังงานไฟฟ้า)
  • ถนนสาทรเหนือ-สาทรใต้ รถขสมก. สาย 77 รถเอกชน สาย 17 149

รถโดยสารอื่น ๆ[แก้]

  • รถรับส่งนักศึกษาและบุคลากรระหว่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ศูนย์การศึกษาในเมือง (Bangkok CODE) กับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี วิทยาเขตบางขุนเทียน
  • รถรับส่ง (shuttle bus) บริเวณทางออก 4 (ด้านหน้าอาคารไทยซีซี) ระหว่างสถานีสุรศักดิ์ - เทอร์มินอล 21 พระราม 3 ให้บริการทุกวันตั้งแต่เวลา 09.30 - 21.30 น. (เริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 4 พ.ย. 2565 เป็นต้นไป)[2]
  • ในอดีตเคยมีรถรับส่ง (shuttle bus) สายสุรศักดิ์ - วงเวียนใหญ่ ให้บริการทุกวันตั้งแต่เวลา 06.30 - 22.30 น. ในเส้นทางสถานีสุรศักดิ์ (S5) - ถนนเจริญนคร - ถนนลาดหญ้า - วงเวียนใหญ่ - ถนนตากสิน - ถนนกรุงธนบุรี - รพ.บางรัก - รพ.เซ็นหลุยส์ (จอดรับเฉพาะผู้โดยสารที่เข้าสถานี และส่งผู้โดยสารออกจากสถานีเท่านั้น) แต่ปัจจุบันได้ยกเลิกไปแล้ว

อุบัติเหตุ[แก้]

  • 20 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เกิดเหตุผู้โดยสารลื่นล้มบันไดเลื่อนบริเวณทางเข้า-ออกที่ 3 ทำให้ล้มทับคนที่กำลังขึ้นสู่ด้านบนลงสู่ด้านล่างในลักษณะคล้ายโดมิโน ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บเล็กน้อย 27 ราย[3] สาเหตุจากสภาพอากาศที่มีฝนตกลงมา และอยู่ในช่วงหลังจบคอนเสิร์ตครบรอบการก่อตั้งโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย 170 ปี ทำให้บริเวณดังกล่าวมีความหนาแน่น[4] ต่อมาบีทีเอสซีชี้แจงว่าขณะเกิดเหตุนั้นบันไดเลื่อนไม่ได้ขัดข้อง และพร้อมดูแลผู้บาดเจ็บทุกคนอย่างดีที่สุด[5]

สถานที่สำคัญใกล้เคียง[แก้]

ตึกไทยซีซี และ ภัตตาคารและโรงเรียนสอนประกอบอาหารไทย บลูเอเลฟเฟ่นท์

ศูนย์การค้าและอาคารสำนักงาน[แก้]

โรงแรม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้าบีทีเอส" (PDF). 2021-11-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-08-25.
  2. เปิดแล้ว ‘เทอร์มินอล 21 พระราม 3’ มหานครแห่งไลฟ์สไตล์ แลนด์มาร์กใหม่ติดเจ้าพระยา
  3. matichon (2022-08-20). "ตร.เผย #BTSสุรศักดิ์ วัยรุ่นเที่ยวงานรร.ดัง ขากลับเบียดขึ้นบันไดเลื่อน ลื่นตก เจ็บ 27". มติชนออนไลน์.
  4. "คืบหน้าล่าสุดอุบัติเหตุบันไดเลื่อนบีทีเอส สถานีสุรศักดิ์ คนกลับบ้านแน่นล้มเป็นโดมิโน". mgronline.com. 2022-08-20.
  5. ""บีทีเอส" ชี้แจงกรณีผู้โดยสารล้มจากบันไดเลื่อนบริเวณสถานีสุรศักดิ์". bangkokbiznews. 2022-08-20.