สถานีสนามไชย
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
สนามไชย Sanam Chai | |
---|---|
![]() ชั้นจำหน่ายบัตรโดยสาร | |
ข้อมูลสถานี | |
เส้นทาง |
สายเฉลิมรัชมงคล |
รหัสสถานี | BL31 |
ที่ตั้ง | เขตพระนคร |
ถนน | สนามไชย |
แผนที่ | เว็บไซต์ BEM |
ข้อมูลอื่นๆ | |
วันที่เปิดให้บริการ | 12 สิงหาคม พ.ศ. 2562[1] |
ผู้ให้บริการ | บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) |
รูปแบบสถานี | ใต้ดิน |
รูปแบบชานชาลา | เกาะกลาง |
จำนวนชานชาลา | 2 |
ทางออก | 5 |
จุดเชื่อมต่อ | |
รถโดยสารประจำทาง |
สถานีสนามไชย (อังกฤษ: Sanam Chai Station, รหัส BL31) เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ส่วนต่อขยายหัวลำโพง-บางแค ซึ่งโครงการยังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง โดยเป็นสถานีในระบบใต้ดินที่อยู่ใจกลางพื้นที่อนุรักษ์เกาะรัตนโกสินทร์ ในแนวถนนสนามไชย กรุงเทพมหานคร บริเวณวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นส่วนต่อขยายของเส้นทางรถไฟฟ้าใต้ดินจากสถานีหัวลำโพง ผ่านพื้นที่เมืองเก่าก่อนลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณปากคลองตลาด ไปยังฝั่งธนบุรี และยกระดับขึ้นสู่สถานีท่าพระต่อไป
สถานีตั้งอยู่บนถนนสนามไชย ด้านทิศเหนือของแยกสะพานเจริญรัช 31 หรือปากคลองตลาด (จุดบรรจบถนนสนามไชย, ถนนมหาราช, ถนนราชินี, ถนนอัษฎางค์ และถนนจักรเพชร) บริเวณด้านหน้าโรงเรียนวัดราชบพิธ, มิวเซียมสยาม และด้านหลังวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ในพื้นที่แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
เนื้อหา
การออกแบบ[แก้]
ที่ตั้งของสถานีสนามไชยเป็นสถานีแห่งเดียวในโครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานคร ที่มีตัวสถานีอยู่ใจกลางพื้นที่ชั้นในของเกาะกรุงรัตนโกสินทร์ ภายในขอบเขตระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยา และคลองคูเมืองเดิม (นอกเหนือจากสถานีสนามหลวง ของส่วนต่อขยายรถไฟฟ้ามหานคร ซึ่งมีทางเข้า-ออกสถานีที่เชื่อมต่อกับท้องสนามหลวงอยู่ในขอบเขตพื้นที่ดังกล่าว) จึงทำให้การวางแผนก่อสร้างเส้นทางและตัวสถานีสนามไชยเป็นที่จับตามองจากคณะกรรมการกรุงรัตนโกสินทร์ เนื่องจากหลายฝ่ายกังวลว่าโครงสร้างระบบรถไฟฟ้าจะส่งผลกระทบต่อชั้นน้ำใต้ดินและความมั่นคงของโครงสร้างโบราณสถานที่สำคัญใกล้เคียง โดยเฉพาะวัดพระเชตุพนฯ และพระบรมมหาราชวัง นอกจากนี้เพื่อรักษาทัศนียภาพของเมืองและเพื่อลดผลกระทบในระหว่างการก่อสร้าง จึงจำเป็นต้องเลือกวิธีการก่อสร้างเส้นทางแบบไม่เปิดหน้าดิน
ทางขึ้น-ลง ได้ตัดหลังคาออกไปเพื่อมิให้บดบังทัศนียภาพของมิวเซียมสยาม การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และผู้รับเหมาก่อสร้าง จึงตกลงกันที่จะก่อสร้างทางออกในรูปแบบดังกล่าว โดยระหว่างการก่อสร้างได้มีการเพิ่มบ่อพักน้ำฝนและเพิ่มท่อระบายน้ำบริเวณที่เป็นโซนพื้นที่กลางแจ้งของสถานี รวมถึงได้มีการติดตั้งบันไดเลื่อนแบบใช้งานกลางแจ้งเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาไฟฟ้ารั่วหรือลัดวงจรแก่ผู้มาใช้บริการ
การออกแบบภายใน มีรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ออกแบบโดย รศ.ดร. ภิญโญ สุวรรณคีรี ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ให้ความรู้สึกเหมือนเป็นท้องพระโรงในสมัยรัตนโกสินทร์ มีการประดับด้วยเสาสดุมภ์ ที่ตั้งตระหง่านอยู่ระหว่างทางเดิน ลงลายกระเบื้องเป็นดอกพิกุล ปลายเสาประดับด้วยบัวจงกลปิดทองคำเปลว พื้นและผนังจำลองมาจากกำแพงเมือง ประดับด้วยเสาเสมาของพระบรมมหาราชวัง เพดานเป็นลายฉลุแบบดาวล้อมเดือน ปิดทองคำเปลว[2] นอกจากนี้ยังมีการจัดนิทรรศการ แสดงวัตถุโบราณที่ขุดพบ เช่น ฐานรากของพระราชวังของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุขสวัสดี
ระบบปรับอากาศ ไว้ด้านข้างแทนการวางด้านบน ทำให้สถานีนี้มีเพดานสูงกว่าสถานีอื่น[3]
ขุดพบวัตถุโบราณ[แก้]
ในช่วงการก่อสร้าง ผู้รับเหมาคือ บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) ได้มีการขุดเจอวัตถุโบราณในชั้นดินเป็นจำนวนมาก อาทิ ตุ๊กตาดินเผา ถ้วย ชาม กระเบื้องดินเผา สมัยพุทธศตวรรษที่ 24–25 ทั้งภาษาไทยและภาษาจีน ปืนโลหะ ความยาว 14.5 ซม. สลักวลีว่า MEMENTO MORI ซึ่งมีความหมายว่า Remember you will die นอกจากนั้นยังพบเหรียญโลหะสมัยรัชกาลที่ 4-5 เช่น เหรียญโลหะวงกลม มีตราจักร มูลค่า 1 สตางค์ เหรียญโลหะวงกลม พิมพ์อักษรสยามรัฐ มูลค่า 1 สตางค์ เหรียญโลหะ มีตรามหามงกุฎ อีกด้านพิมพ์ลายจักรภายในมีช้าง เป็นต้น ยังขุดพบ คลองราก หรือฐานรากโครงสร้างพระราชวังโบราณ ทำให้ทราบวิธีการก่อสร้างพระราชวังโบราณ[4] การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยและผู้รับเหมาจึงได้ดำเนินการส่งมอบวัตถุโบราณให้กรมศิลปากร และมิวเซียมสยาม นำไปเก็บรักษาและสืบหาที่มาของวัตถุ พร้อมทั้งปรับแบบของสถานีสนามไชยให้มีพื้นที่จัดแสดงวัตถุโบราณก่อนลงไปยังพื้นที่ของสถานี[5]
แผนผังสถานี[แก้]
G ระดับถนน |
- | ป้ายรถประจำทาง, มิวเซี่ยมสยาม, โรงเรียนวัดราชบพิธ โรงเรียนราชินี, สน.พระราชวัง, ปากคลองตลาด วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม |
B1 ทางเดินระหว่างชั้นระดับถนน กับ ชั้นขายตั๋วโดยสาร |
ชั้น Subway | ชั้นแสดงวัตถุโบราณ ที่ถูกค้นพบระหว่างการก่อสร้างสถานี |
B2 ชั้นขายบัตรโดยสาร |
ชั้นขายบัตรโดยสาร | ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร , ทางเดินลอดถนน ,ทางออก 1-5 |
B3 ทางเดินระหว่างชั้นขายบัตรโดยสาร กับ ชั้นชานชาลา |
ชั้น Plant | ชั้นคั่นกลาง ระหว่างชั้นขายบัตรโดยสาร กับ ชั้นชานชาลา |
B4 ชานชาลา |
ชานชาลา 2 | สายเฉลิมรัชมงคล มุ่งหน้า สถานีบางซื่อ - สถานีท่าพระ |
ชานชาลา 1 | สายเฉลิมรัชมงคล มุ่งหน้า สถานีหลักสอง |
รายละเอียดสถานี[แก้]
สัญลักษณ์ของสถานี[แก้]
รูปแบบของสถานี[แก้]
เป็นชานชาลาแบบเกาะกลาง (Station with Central Platform) โดยชั้นออกบัตรโดยสารตกแต่งโดยใช้สถาปัตยกรรมรัตนโกสินทร์ตอนต้น ออกแบบโดยรองศาสตราจารย์ ดร. ภิญโญ สุวรรณคีรี
ทางเข้า-ออกสถานี[แก้]
- 1 โรงเรียนวัดราชบพิธ, สนามยิงปีน กรมรักษาดินแดน
- 2 หลังสถานีตำรวจนครบาลพระราชวัง, ท่าปล่อยรถประจำทางสาย 12
- 3 ในมิวเซียมสยาม
- 4 โรงเรียนราชินี, หน้าสถานีตำรวจนครบาลพระราชวัง
- 5 ปากคลองตลาด, ถนนราชินี
การจัดพื้นที่ในตัวสถานี[แก้]
แบ่งเป็น 4 ชั้น ประกอบด้วย
- 1 ชั้นระหว่างระดับถนน กับ ชั้นออกบัตรโดยสาร
- 2 ชั้นออกบัตรโดยสาร และ ทางเดินลอดถนน
- 3 ชั้นระหว่างชั้นออกบัตรโดยสาร กับ ชั้นชานชาลา
- 4 ชั้นชานชาลา
รถโดยสารประจำทาง[แก้]
- ถนนสนามไชย หน้ามิวเซี่ยมสยาม สาย 3 44 47 48 524
- ถนนสนามไชย หน้าสวนเจ้าเชตุ สาย 3 6 9 12
- ถนนมหาราช สาย 9(มุ่งหน้าสถานีรถไฟสามเสน) 47(มุ่งหน้าท่าเรือคลองเตย) 53(วนขวา) 82(มุ่งหน้าบางลำพู) 524(มุ่งหน้าบางเขน)
- ถนนอัษฎางค์ สาย 8 12 42(วนซ้าย) 73 73ก.
สถานที่สำคัญใกล้เคียง[แก้]
- วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร
- หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน(สวนเจ้าเชตุ)
- สวนสราญรมย์
- อาคารสำนักงานสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม)
- ปากคลองตลาด
- ท่าเตียน
- กรมที่ดิน
- โรงเรียนวัดราชบพิธ
- โรงเรียนราชินี
- ถนนบ้านหม้อ
อ้างอิง[แก้]
- ↑ รถไฟฟ้าสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย4สถานีแรกเปิดก.ย.62
- ↑ สถานีสนามไชย สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสวยที่สุดในไทย
- ↑ เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ “สถานีสนามไชย” สถานีรถไฟใต้ดินที่สวยที่สุดในประเทศไทย
- ↑ ขุดรถไฟฟ้าพบประวัติศาสตร์ โบราณวัตถุสมัยรัชกาลที่ 4–5 ไทยรัฐออนไลน์
- ↑ MRT สนามไชย “พิพิธภัณฑ์ใต้ดิน” แห่งแรกของไทย! - บ้านและสวน
สถานีใกล้เคียง[แก้]
สถานีก่อนหน้า | ขบวนรถไฟ | สถานีต่อไป | ||
---|---|---|---|---|
สถานีอิสรภาพ มุ่งหน้า สถานีหลักสอง |
สายเฉลิมรัชมงคล (กำลังก่อสร้าง) |
สถานีสามยอด มุ่งหน้า สถานีท่าพระ (ผ่านหัวลำโพง - บางซื่อ) |
|
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°44′38″N 100°29′38″E / 13.744°N 100.494°E