จอดแล้วจร
![]() | มุมมองและกรณีตัวอย่างในบทความนี้อาจไม่ได้แสดงถึงมุมมองที่เป็นสากลของเรื่อง (เมษายน 2022) |

จอดแล้วจร (อังกฤษ: Park and ride หรือ Park & Ride) เป็นบริการพื้นที่สำหรับจอดรถที่ตั้งอยู่ใกล้กับระบบขนส่งมวลชน ในรูปแบบของอาคารและลานจอดรถ เพื่อให้ประชาชนเปลี่ยนผ่านจากรถส่วนบุคคลเข้าสู่ระบบขนส่วมวลชน อาทิ รถโดยสารประจำทาง รถไฟ รถราง โดยในประเทศไทยเป็นที่นิยมกล่าวถึงในระบบรถไฟฟ้า โดยมีแบบทั้งคิดค่าบริการจอดรถเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายเดือน และไม่คิดค่าบริการ ซึ่งดูแลโดยผู้ให้บริการขนส่งมวลชนเอง และดูแลโดยบริษัทเอกชนในพื้นที่ข้างเคียงสถานี[1]
สำหรับการจอดแล้วจรนั้น ช่วยประหยัดระยะเวลาในการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนบุคคล ลดปัญหาสภาพการจราจรบนท้องถนน และช่วยประหยัดระยะเวลาในการเดินทางเนื่องจากการใช้ระบบขนส่งมวลชนด้วยระบบรางนั้นมีความรวดเร็ว รวมถึงลดปัญหามลพิษจากการเผาไหม้และเกิดเป็นไอเสียจากรถยนต์[2]
จุดจอดแล้วจรที่เปิดให้บริการ[แก้]
จุดจอดแล้วจรของโครงการรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการในปัจจุบัน โดยแยกตามความรับผิดชอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีดังต่อไปนี้
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย[แก้]
จัดเป็นพื้นที่อาคารสำหรับจอดรถในระบบปิด มีระบบรักษาความปลอดภัยและมีการคิดค่าบริการ โดยมีส่วนลดให้กับผู้ใช้บริการขนส่งมวลชนรถไฟฟ้า เพื่อจูงใจให้ใช้บริการระบบรถไฟฟ้า[3] ประกอบไปด้วย
- สายเฉลิมรัชมงคล (รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน) รองรับรถยนต์และรถจักรยานยนต์ได้ประมาณ 5,112 คัน[4]อาคารจอดแล้วจร (ขวา) พร้อมเส้นทางเชื่อมต่อเข้าสู่สถานีหลักสอง (ซ้าย)
- สายฉลองรัชธรรม (รถไฟฟ้าสายสีม่วง) รองรับรถยนต์และรถจักรยานยนต์ได้ประมาณ 5,339 คัน[5]
- สายสุขุมวิท (รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท) ช่วงสายสีเขียวเหนือ (ช่วงหมอชิต - สะพานใหม่ - คูคต) ที่สถานีคูคตกับสถานีแยก คปอ. และสายสีเขียวใต้ (ช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการ) ที่สถานีเคหะฯ[6]อาคารจอดแล้วจรที่สถานีคูคต
รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.[แก้]
จัดเป็นพื้นที่จอดรถแบบเปิดกลางแจ้ง ในบริเวณสถานีรถไฟฟ้า บางส่วนยังไม่เปิดให้บริการ
- สายธานีรัถยา (รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงเข้ม)
- สายนครวิถี (รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงอ่อน)
สถานีกลางบางซื่อ
สถานีบางบำหรุ
สถานีตลิ่งชัน
รถไฟฟ้าบีทีเอส[แก้]
ไม่มีการสร้างพื้นที่จอดและจรเป็นของตนเอง อาศัยพื้นที่จอดรถจากเอกชนบริเวณข้างเคียงสถานี ซึ่งคิดอัตราค่าบริการตามสถานที่นั้น ๆ กำหนด ทั้งในรูปแบบรายชั่วโมง รายวัน และรายเดือน[1]
- สายสุขุมวิท (รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท) ช่วงหมอชิต - แบริ่ง
สถานีหมอชิต บริเวณลานจอดรถในพื้นที่ของกรมธนารักษ์
สถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ บริเวณศูนย์การค้าเซ็นเตอร์วัน และ ศูนย์การค้าเซ็นจูรี่ เดอะมูฟวี่พลาซ่า
สถานีอโศก บริเวณศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 ลานจอดรถในซอยสุขุมวิท 23 (หลังตึกจัสมิน) และ อาคารอโศก เอ็กซเชนจ์ ทาวเวอร์
สถานีสำโรง บริเวณศูนย์การค้าอิมพีเรียลเวิลด์ สำโรง
- สายสีลม (รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม) ช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ - บางหว้า
โครงการในอนาคต[แก้]
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย[แก้]
- สายสีส้ม (รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี
สถานีคลองบ้านม้า เป็นอาคารสูง 10 ชั้น สามารถจอดรถได้ประมาณ 1,200 คัน[7]
- สายสีชมพู (รถไฟฟ้าโมโนเรล สายสีชมพู) ช่วงแคราย - มีนบุรี
- PK30 สถานีมีนบุรี เป็นอาคารสูง 3 ชั้น สามารถจอดรถได้ประมาณ 3,000 คัน[8]
- สายสีเหลือง (รถไฟฟ้าโมโนเรล สายสีเหลือง) ช่วงลาดพร้าว - สำโรง
- YL17 สถานีศรีเอี่ยม เป็นอาคารสูง 7 ชั้น สามารถจอดรถได้ประมาณ 3,000 คัน[9]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 "ที่จอดรถ". www.bts.co.th.
- ↑ Duck, Parking (2016-08-09). "จอดแล้วจร Park & Ride". Medium (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "BEM บริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพจำกัด (มหาชน)". metro.bemplc.co.th.
- ↑ "ที่จอดรถสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) | การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย". www.mrta.co.th.
- ↑ "ที่จอดรถสายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) | การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย". www.mrta.co.th.
- ↑ "ที่จอดรถสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ | การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย". www.mrta.co.th.
- ↑ "โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี (สุวินทวงศ์)". mrta-orangelineeast.com.
- ↑ "โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู | การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย". www.mrta.co.th.
- ↑ "โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง | การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย". www.mrta.co.th.
![]() |
บทความเกี่ยวกับอาคาร หรือ สถานที่สำคัญนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |