คลองผดุงกรุงเกษม

พิกัด: 13°44′52″N 100°31′00″E / 13.747722°N 100.516663°E / 13.747722; 100.516663
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คลองผดุงกรุงเกษม
คลองผดุงกรุงเกษมในปัจจุบัน
ตำแหน่งกรุงเทพมหานคร
ประเทศประเทศไทย
ข้อมูลจำเพาะ
ความยาว5.5 km (3.4 ไมล์)
ประตูกั้นน้ำ2
ประวัติ
ชื่อทั่วไปคลองผดุง
หัวหน้าวิศวกรสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)
วันที่อนุมัติพ.ศ. 2394
เริ่มก่อสร้างพ.ศ. 2394
วันที่เปิดใช้พ.ศ. 2395
วันที่แล้วเสร็จพ.ศ. 2395
ข้อมูลภูมิศาสตร์
ทิศใต้
จุดเริ่มต้นแม่น้ำเจ้าพระยา แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร และแขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต
จุดสิ้นสุดแม่น้ำเจ้าพระยา แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ และแขวงบางรัก เขตบางรัก
สาขาของแม่น้ำเจ้าพระยา
เชื่อมต่อกับแม่น้ำเจ้าพระยา
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนคลองผดุงกรุงเกษม ตลอดแนวคลอง
ขึ้นเมื่อ29 เมษายน พ.ศ. 2519
เป็นส่วนหนึ่งของโบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานคร
เลขอ้างอิง0000014

คลองผดุงกรุงเกษม (อักษรโรมัน: Khlong Phadung Krung Kasem) เป็นคลองขุดรอบพระนครชั้นนอก (ชั้นที่สาม) ขุดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ขุดเมื่อ พ.ศ. 2394 ทรงพิจารณาเห็นว่าบ้านเมืองเจริญขึ้น ผู้คนก็มากกว่าเมื่อเริ่มสร้างกรุง ควรขยับขยายพระนครออกไป จึงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ว่าที่สมุหพระกลาโหมเป็นแม่กอง เจ้าหมื่นไวยวรนาถเป็นกงสีจ้างจีนขุดคลองพระนครออกไปอีกชั้นหนึ่ง โดยขุดถัดจากคลองรอบกรุงออกไปทางชานพระนคร เริ่มขุดจากปากคลองริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณวัดเทวราชกุญชร (วัดสมอแครง) ย่านเทเวศร์ มีแนวขนานไปกับคลองคูเมืองเดิม ผ่านย่านหัวลำโพง ตัดผ่านคลองมหานาคไปทะลุแม่น้ำเจ้าพระยาอีกด้านหนึ่งบริเวณวัดแก้วแจ่มฟ้า สี่พระยา คลองนี้ขุดเสร็จในปี พ.ศ. 2395 ได้รับพระราชทานชื่อว่า "คลองผดุงกรุงเกษม"

คลองนี้ตัดผ่านคลองมหานาค บริเวณสี่แยกมหานาค ซึ่งเป็นย่านการค้าที่สำคัญ ผ่านบริเวณหัวลำโพงในปัจจุบัน ผ่านวัดมหาพฤฒาราม (เดิมเรียกว่า วัดท่าเกวียน) ในสมัยที่ทำการขุดมีขนาดกว้าง 20 เมตร ลึก 3 เมตร ยาว 5.5 กิโลเมตร การขยายครั้งนี้ทำให้มีพื้นที่เมืองเพิ่มขึ้นสองเท่าเป็น 5,552 ไร่ (8.883 ตารางกิโลเมตร; 3.430 ตารางไมล์).[1]

อนึ่ง คลองผดุงกรุงเกษมเป็นเส้นแบ่งการปกครองระหว่างเขตหลายเขตในฝั่งพระนคร ดังนี้

ประวัติ[แก้]

คลองผดุงกรุงเกษมในอดีต
สะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษมระหว่างโรงเรียนเทพศิรินทร์ไปยังสถานีรถไฟหัวลำโพง (สร้างขึ้นสมัยรัชกาลที่ 7)

คลองผดุงกรุงเกษมเป็นคลองเมืองชั้นนอกที่ขุดในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวระหว่าง พ.ศ. 2394 ถึง พ.ศ. 2395 ในการขุดคลองได้จ้างแรงงานชาวจีนเป็นผู้ขุดเพื่อขยายชุมชนออกไปทางทิศตะวันออกของพระนคร ระยะทางรวมราว 5.5 กิโลเมตร เริ่มทางทิศเหนือที่วัดสมอแครงหรือวัดเทวราชกุญชร ขนานไปกับคลองบางลำพู-โอ่งอ่าง ตัดผ่านคลองมหานาคจนกลายเป็นย่านการค้าที่สำคัญคือ สี่แยกมหานาค ผ่านวัดวัดหัวลำโพง วัดท่าเกวียนหรือวัดมหาพฤฒารามไปจนจรดแม่น้ำเจ้าพระยาทางทิศใต้แถววัดแก้วแจ่มฟ้า การขุดคลองทำให้เกิดวัดและชุมชนเรียงรายไปตามลำคลองเพิ่มขึ้น เช่น วัดสามจีน (วัดไตรมิตรฯ) วัดพลับพลาไชย วัดโสมนัสราชวรวิหาร วัดมกุฎกษัตริยาราม วัดบางขุนพรหม วัดเทวราชกุญชร เป็นต้น

ตั้งแต่สมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา มีการขยายพื้นที่อยู่อาศัยของผู้คนจากเมืองพระนครมาทางฝั่งตะวันออกเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดวัดขึ้นเป็นศูนย์กลางของชุมชนเพิ่มตามขึ้นมาเช่นวัดพระพิเรนทร์ วัดชัยชนะสงคราม วัดจักรวรรดิราชาวาส วัดกันมาตุยาราม วัดสัมพันธวงศ์ วัดปทุมคงคา วัดใหม่ยายแฟง วัดคณิกาผล วัดพลับพลาไชย เป็นต้น เมื่อมีการขุดคลองเมืองพระนครชั้นนอกคือคลองผดุง-กรุงเกษมขึ้นมานั้น ได้ทำให้วัดต่างๆ ดังกล่าวนี้เข้ามาอยู่ภายในเขตเมืองกรุงเทพมหานคร

สะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษม[แก้]

สะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษมที่สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามให้คล้องจองกันทั้งหมด

สะพานอื่น ๆ ที่ไม่ได้สร้างในสมัยนั้น และไม่ได้มีชื่อคล้องจอง

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. คณะกรรมการจัดงานสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี (1982). จดหมายเหตุการอนุรักษ์กรุงรัตนโกสินทร์. Department of Fine Arts. Reproduced in "กว่าจะมาเป็นกรุงเทพฯ". BMA Data Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 December 2014. สืบค้นเมื่อ 24 December 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

13°44′52″N 100°31′00″E / 13.747722°N 100.516663°E / 13.747722; 100.516663