สถานีรัชโยธิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัชโยธิน
N11

Ratchayothin
สถานีรัชโยธิน มองจากฝั่งตรงข้ามเมเจอร์รัชโยธิน
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
เจ้าของกรุงเทพมหานคร
ผู้ให้บริการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี)
สาย
ชานชาลา2 ชานชาลาด้านข้าง
ราง2
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีN11
ประวัติ
เปิดให้บริการ4 ธันวาคม พ.ศ. 2562; 4 ปีก่อน (2562-12-04)[1]
ผู้โดยสาร
25641,850,436
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีต่อไป
เสนานิคม
มุ่งหน้า คูคต
สายสุขุมวิท พหลโยธิน 24
มุ่งหน้า เคหะฯ
ที่ตั้ง
แผนที่

สถานีรัชโยธิน (อังกฤษ: Ratchayothin station; รหัส: N11) เป็นสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสแบบยกระดับในเส้นทางสายสุขุมวิท ยกระดับเหนือถนนพหลโยธินในพื้นที่เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร มีกำหนดเปิดให้บริการในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2562

ที่ตั้ง[แก้]

ถนนพหลโยธิน บริเวณเชิงสะพานข้ามทางแยกรัชโยธิน ใกล้กับโรงภาพยนตร์เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ รัชโยธิน ในพื้นที่แขวงลาดยาวและแขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร

แผนผังของสถานี[แก้]

U3
ชานชาลา
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 1 สายสุขุมวิท มุ่งหน้า เคหะฯ (พหลโยธิน 24)
ชานชาลา 2 สายสุขุมวิท มุ่งหน้า คูคต (เสนานิคม)
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก , ศูนย์บริการผู้โดยสาร, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า,
โรงภาพยนตร์เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์, อเวนิว รัชโยธิน, เอสซีบี ปาร์ค พลาซา (ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักรัชโยธิน)
G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง, ถนนพหลโยธิน, ซอยพหลโยธิน 30 (อาลาดิน), ซอยพหลโยธิน 33, คอนโดมิเนียมลุมพินีเพลส รัชโยธิน

รายละเอียดของสถานี[แก้]

รูปแบบของสถานี[แก้]

เป็นแบบชานชาลาด้านข้าง ขนาดมาตรฐาน กว้าง 22.15 เมตร (ระยะรวมหลังคา 27.8 เมตร) ระดับชานชาลาสูงจากพื้นดิน 18 เมตร ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสารและชานชาลา มีประตูอัตโนมัติกั้นชานชาลาแบบครึ่งความสูง ในส่วนหลังคาชานชาลามีการออกแบบให้ป้องกันฝนสาดและแดดส่อง โดยใช้กระจกเชื่อมปิดหลังคาทั้งหมด

สัญลักษณ์ของสถานี[แก้]

ใช้สีเขียวเข้มตกแต่งรั้วและเสาบริเวณชานชาลา ป้ายทางเข้าและทางขึ้นสถานี เพื่อบ่งบอกว่าเป็นสถานีฝั่งพหลโยธินเหนือ

ทางเข้า-ออก[แก้]

ประกอบด้วยทางขึ้น-ลงปกติ, สะพานเชื่อมต่ออาคาร และทางเดินใต้รางรถไฟฟ้า (Sky Walk) ได้แก่

  • 1 อาคารเอสซีบี ปาร์ค พลาซา, อเวนิว รัชโยธิน, ทางเชื่อมเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ รัชโยธิน, กรีนเฮาส์ แมนชั่น, ซอยพหลโยธิน 33 (บันไดเลื่อน)
  • 2 แมสซารีน พหลโยธิน, ซอยพหลโยธิน 30 (อาลาดิน) (บันไดเลื่อน)
  • 3 เดอะซี้ด เตร์เร่-รัชโยธิน, ซอยพหลโยธิน 35 (ลิฟต์)
  • 4 ลุมพินีเพลส รัชโยธิน (ลิฟต์)
  • 5 โรงเรียนอรรถมิตร, เซ็นทริค รัชโยธิน, ธนาคารเอสเอ็มอี (ทางเดินยกระดับ)

จุดรวมพลอยู่ที่ทางออกที่ 2 บริเวณด้านหน้าแมสซารีน พหลโยธิน และทางออกที่ 3 บริเวณด้านหน้าศูนย์บริการอีเกิ้ลสโตร์ รัชโยธิน

ปลายทาง ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสุขุมวิท[2]
ชานชาลาที่ 1
E23 เคหะฯ 05.38 23.39
E15 สำโรง 23.53
N9 ห้าแยกลาดพร้าว 00.24
ชานชาลาที่ 2
N24 คูคต 05.18 00.23

การเชื่อมต่อรถโดยสารประจำทาง[แก้]

ถนนพหลโยธิน มุ่งหน้า เกษตร รถขสมก. สาย 24 26 34 39 59 63 107 129 178 185 206 503 543(ท่าน้ำนนท์) รถเอกชน สาย 39 104 126 524

ถนนพหลโยธิน มุ่งหน้า ห้าแยกลาดพร้าว รถขสมก. สาย 24 26 34 39 59 63 107 129 178 185 503 543(ท่าน้ำนนท์) รถเอกชน สาย 39 104 126 524

ถนนรัชดาภิเษก รถขสมก. สาย 136 178 179 185 206 รถเอกชน สาย 126

ถนนพหลโยธิน
สายที่ ต้นทาง ปลายทาง หมายเหตุ
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)
24 ประชานิเวศน์ 3 อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ วิ่งวิภาวดีรังสิต
26 มีนบุรี อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
34 รังสิต หัวลำโพง วิ่งเส้นพหลโยธิน
39 ตลาดไท อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ วิ่งเส้นพหลโยธิน
59 รังสิต สนามหลวง วิ่งเส้นวิภาวดีรังสิต
63 นนทบุรี อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
107 บางเขน คลองเตย ขึ้นทางด่วนดินแดง
129 บางเขน สำโรง ขึ้นทางด่วนดินแดง
136 คลองเตย หมอชิต2
191 การเคหะคลองจั่น กระทรวงพาณิชย์
503 รังสิต สนามหลวง วิ่งเส้นพหลโยธิน
รถเอกชนร่วมบริการ
39 มธ.ศูนย์รังสิต อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
104 ปากเกร็ด หมอชิต 2
524 หลักสี่ สนามหลวง วิ่งเส้นทางประดิพัทธิ์-สามแสน

สถานที่สำคัญใกล้เคียง[แก้]

ระเบียงภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. เปิดเพิ่มรถไฟฟ้าสายสีเขียว 4 สถานี นั่งฟรี 1 เดือน เริ่ม 4 ธ.ค.นี้
  2. "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้าบีทีเอส" (PDF). 2021-11-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-08-25.