แขวงบางรัก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แขวงบางรัก
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันKhwaeng Bang Rak
แขวงบางรักตลอดริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
แขวงบางรักตลอดริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
แผนที่เขตบางรัก เน้นแขวงบางรัก
แผนที่เขตบางรัก เน้นแขวงบางรัก
ประเทศ ไทย
เขตปกครองพิเศษกรุงเทพมหานคร
เขตบางรัก
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด0.689 ตร.กม. (0.266 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)[2]
 • ทั้งหมด2,413 คน
 • ความหนาแน่น3,502.18 คน/ตร.กม. (9,070.6 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์10500
รหัสภูมิศาสตร์100404
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

แขวงบางรัก เป็นแขวงหนึ่งในพื้นที่การปกครองของเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแขวงที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เนื่องจากเป็นแหล่งชุมชนของชาวต่างชาติที่มาอาศัยในกรุงเทพมหานครตั้งแต่การสร้างถนนเจริญกรุงและรถรางขึ้น จึงทำให้เป็นบริเวณที่ชาวยุโรปมาตั้งรกราก ค้าขาย และสร้างสถานทูต เช่น ฝรั่งเศส, โปรตุเกส, สหราชอาณาจักร นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของวัดม่วงแค, วัดสวนพลู, ตึกสเตท ทาวเวอร์, โอ.พี.การ์เดน, โรงเรียนอัสสัมชัญ, โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์, โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา, อาคารสำนักงานของ โทรคมนาคมแห่งชาติ และศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ

พื้นที่แขวงบางรักประกอบด้วยชุมชนโบราณหลายแห่ง เช่น ชุมชนมัสยิดฮารูณ และยังเป็นที่ตั้งของโบราณสถานที่มีสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกที่สวยงาม เช่น อาสนวิหารอัสสัมชัญ, ศุลกสถาน, อาคาร อีสต์ เอเชียติก, อาคารไปรษณีย์กลาง เป็นต้น

ศุลกสถานเป็นโบราณสถานสำคัญของแขวงบางรัก อาคารสูงด้านหลังคืออาคารที่ทำการของ โทรคมนาคมแห่งชาติ

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

แขวงบางรักตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเขต มีอาณาเขตติดต่อกับแขวงข้างเคียงดังนี้

การคมนาคม[แก้]

ระเบียงภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. กองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ. สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล. กรุงเทพมหานคร. "จำนวนประชากร พื้นที่ ความหนาแน่น จำนวนบ้าน จำแนกตามแขวง ในเขตกรุงเทพมหานคร 2563." สถิติกรุงเทพมหานครประจำปี 2563.
  2. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2566." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statyear/#/TableTemplate4/Area/statpop?yymm=66&ccDesc=กรุงเทพมหานคร&topic=statpop&ccNo=10&rcodeNo=1004&rcodeDesc=เขตบางรัก 2566. สืบค้น 18 กุมภาพันธ์ 2567.