สถานีบางบัว

พิกัด: 13°51′22″N 100°35′07″E / 13.8561°N 100.5852°E / 13.8561; 100.5852
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บางบัว
N15

Bang Bua
สถานีบางบัว มุมมองจากทิศทางมุ่งหน้าถนนพหลโยธินฝั่งขาเข้า
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°51′22″N 100°35′07″E / 13.8561°N 100.5852°E / 13.8561; 100.5852
ผู้ให้บริการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี)
สาย
ชานชาลา2 ชานชาลาด้านข้าง
ราง2
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีN15
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ5 มิถุนายน พ.ศ. 2563; 3 ปีก่อน (2563-06-05)
ชื่อเดิมศรีปทุม
ผู้โดยสาร
2564619,258
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีต่อไป
กรมทหารราบที่ 11
มุ่งหน้า คูคต
สายสุขุมวิท กรมป่าไม้
มุ่งหน้า เคหะฯ
ที่ตั้ง
แผนที่

สถานีบางบัว (อังกฤษ: Bang Bua station; รหัส: N15) เป็นสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสแบบยกระดับในเส้นทางสายสุขุมวิท ยกระดับเหนือถนนพหลโยธินในพื้นที่เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2563[1][2]

ที่ตั้ง[แก้]

ถนนพหลโยธิน บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยศรีปทุมและโรงเรียนบางบัว (เพ่งตั้งตรงจิตวิทยาคาร) ใกล้กับทางแยกบางบัว ในพื้นที่แขวงลาดยาวและแขวงเสนานิคม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร

การตั้งชื่อสถานี[แก้]

ในแผนงานแรกสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สถานะก่อนกรมการขนส่งทางราง) ได้กำหนดชื่อสถานีแห่งนี้ว่า สถานีบางบัว เนื่องจากที่ตั้งสถานีตั้งอยู่ในย่านชุมชนบางบัว และใกล้แยกบางบัว ซอยบางบัว (พหลโยธิน 49) โรงเรียนบางบัว (เพ่งตั้งตรงจิตวิทยาคาร) และวัดบางบัว อันเป็นโรงเรียนและวัดเก่าแก่ในพื้นที่ แต่อย่างไรก็ตามในคราวการก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2556 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ดำเนินการเปลี่ยนชื่อสถานีเป็น สถานีศรีปทุม ตามข้อเสนอจากทางคณะกรรมการมหาวิทยาลัยศรีปทุม ที่ได้มีการยื่นเรื่องร้องขอให้พิจารณาใช้ชื่อสถานีว่า ศรีปทุม แทน บางบัว ด้วยชื่อดังกล่าว เป็นนามพระราชทานโดย สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่พระราชทานนาม ศรีปทุม ให้เป็นชื่อของมหาวิทยาลัยศรีปทุมแทน วิทยาลัยไทยสุริยะ ที่ใช้มาตั้งแต่เดิม โดยมีความหมายว่า "ดอกบัว" เช่นเดียวกับคำว่าบางบัว[3] ภายหลังประชาชนที่อาศัยในย่านดังกล่าวเกิดการคัดค้านการใช้ชื่อสถานีอย่างหนัก จึงได้ส่งเรื่องร้องเรียนไปยัง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร รวมถึง กรุงเทพธนาคม และบีทีเอสซี เพื่อให้มีการพิจารณาเปลี่ยนชื่อสถานีกลับเป็น บางบัว ตามเดิม ด้วยเหตุที่ว่า ย่านที่ตั้งสถานีมีชื่อย่านว่าบางบัว ประชาชนรู้จักกันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว และการใช้ชื่อ "ศรีปทุม" อาจเป็นการโฆษณา หรือการประชาสัมพันธ์ให้กับมหาวิทยาลัยศรีปทุม ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเอกชน หาใช่มหาวิทยาลัยรัฐบาลเช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ถูกนำไปใช้เป็นชื่อสถานี รวมถึงอาจเข้าข่ายความเสี่ยงในการเปลี่ยนแปลงสถานที่ด้วยเหตุผลเดียวกับที่ รฟม. เปลี่ยนชื่อสถานีหอวัง เป็นสถานีห้าแยกลาดพร้าว ด้วยเช่นกัน[4]

ภายหลังจากที่ได้รับการร้องเรียน รฟม. ได้ออกแถลงการณ์ว่าสาเหตุที่ รฟม. ตัดสินใจใช้ชื่อว่า "ศรีปทุม" เนื่องมาจากเป็นนามพระราชทาน ย่อมมีศักดิ์สูงกว่าชื่อย่านที่ประชาชนรู้จักกันโดยทั่วไป และความหมายคือ "ดอกบัว" ย่อมมีความหมายที่พ้องต้องกันกับย่านบางบัวอยู่แล้ว แต่อย่างไรก็ตาม รฟม. ยินดีรับข้อร้องเรียนไปพิจารณาเพื่อกำหนดเป็นชื่อสถานีจริงก่อนเปิดให้บริการต่อไป[5] ซึ่งภายหลังจากที่ รฟม. ได้โอนโครงการให้กรุงเทพมหานครไปดำเนินการ ประชาชนย่านบางบัวจึงได้ร้องเรียนไปที่กรุงเทพมหานคร และกรุงเทพธนาคมอีกครั้ง ทั้งสองหน่วยงานจึงรับเรื่องพิจารณา และร้องขอให้ รฟม. อย่าเพิ่งดำเนินการติดตั้งป้ายชื่อสถานีจนกว่าจะได้รับการยืนยันจากทาง กทม. และบีทีเอสซีที่เป็นผู้ให้บริการ

ต่อมา กรุงเทพมหานคร ได้ยืนยันใช้ชื่อ "บางบัว" เป็นชื่อสถานีตามแผนงานเดิมของ สนข. เนื่องจากเหตุผลของฝั่งประชาชนฟังขึ้น รวมถึงมีการทำประชาพิจารณ์กับประชาชนในพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่เห็นควรให้ใช้ชื่อสถานีว่า "บางบัว" กรุงเทพมหานครจึงได้แจ้งยืนยันต่อกรมการขนส่งทางรางว่าได้กำหนดให้สถานีดังกล่าวมีชื่อสถานีอย่างเป็นทางการว่า สถานีบางบัว ในที่สุด[6]

แผนผังของสถานี[แก้]

U3
ชานชาลา
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 1 สายสุขุมวิท มุ่งหน้า เคหะฯ (กรมป่าไม้)
ชานชาลา 2 สายสุขุมวิท มุ่งหน้า คูคต (กรมทหารราบที่ 11)
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก , ศูนย์บริการผู้โดยสาร, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า
G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง, ถนนพหลโยธิน, ซอยพหลโยธิน 49 (ซอยบางบัว), โรงเรียนบางบัว (เพ่งตั้งตรงจิตวิทยาคาร), มหาวิทยาลัยศรีปทุม

รายละเอียดของสถานี[แก้]

รูปแบบของสถานี[แก้]

เป็นแบบชานชาลาด้านข้าง ขนาดมาตรฐาน กว้าง 22.15 เมตร (ระยะรวมหลังคา 27.8 เมตร) ระดับชานชาลาสูงจากพื้นดิน 18 เมตร ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสารและชานชาลา มีประตูอัตโนมัติกั้นชานชาลาแบบครึ่งความสูง ในส่วนหลังคาชานชาลามีการออกแบบให้ป้องกันฝนสาดและแดดส่อง โดยใช้กระจกเชื่อมปิดหลังคาทั้งหมด[7]

สัญลักษณ์ของสถานี[แก้]

ใช้สีเขียวเข้มตกแต่งรั้วและเสาบริเวณชานชาลา ป้ายทางเข้าและทางขึ้นสถานี เพื่อบ่งบอกว่าเป็นสถานีฝั่งพหลโยธินเหนือ

ทางเข้า-ออก[แก้]

ประกอบด้วยทางขึ้น-ลงปกติ และทางเดินใต้รางรถไฟฟ้าเชื่อมสะพานลอยเดิม ได้แก่

  • 1 โชว์รูมรถยนต์ฮอนด้า (ลิฟต์)
  • 2 มหาวิทยาลัยศรีปทุม (บันไดเลื่อน)
  • 3 คอนโดมิเนียม เซียล่า ศรีปทุม, โรงเรียนบางบัว (เพ่งตั้งตรงจิตรวิทยาคาร), ซอยพหลโยธิน 49/1, บิวทีค คลินิก (Beautique clinic) (บันไดเลื่อน)
  • 4 ซอยพหลโยธิน 46, วัดบางบัว (ลิฟต์)
  • ทางเดินยกระดับ ถนนผลาสินธุ์, กรมทางหลวงชนบท, สำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาบางเขน

จุดรวมพลอยู่ที่ทางออก 2 บริเวณหน้ามหาวิทยาลัยศรีปทุม และทางออก 3 บริเวณหน้าโรงเรียนบางบัว

อนึ่ง ทางเดินยกระดับช่วงแยกซอยพหลโยธิน 49/1 ลดระดับความสูงจากระดับปกติลงมาประมาณ 3 เมตรเนื่องจากกรุงเทพมหานครมีโครงการจะสร้างสะพานรถข้ามแยกดังกล่าวในอนาคต[8]

เวลาให้บริการ[แก้]

ปลายทาง ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสุขุมวิท[9]
ชานชาลาที่ 1
E23 เคหะฯ 05.32 23.32
E15 สำโรง 23.47
N9 ห้าแยกลาดพร้าว 00.17
ชานชาลาที่ 2
N24 คูคต 05.24 00.29

การเชื่อมต่อรถโดยสารประจำทาง[แก้]

  • Handicapped/disabled access เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ[แก้]

สายที่ เขตการเดินรถที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
26 2 (กปด.12) รถโดยสารประจำทาง อู่มีนบุรี รถโดยสารประจำทาง อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง ขสมก.
26 Handicapped/disabled access รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้ก๊าซธรรมชาติ)
34 1 (กปด.31) รถโดยสารประจำทาง อู่รังสิต การขนส่งระบบราง สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
39 1 (กปด.21) รถโดยสารประจำทาง ตลาดไท รถโดยสารประจำทาง อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
1-8 (59) 1 (กปด.31) รถโดยสารประจำทาง อู่รังสิต สนามหลวง รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
1-8 (59) รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
107 1 (กปด.11) รถโดยสารประจำทาง อู่บางเขน คลองเตย รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง รถบริการทางด่วน (ขึ้นทางด่วนด่านดินแดง ลงด่านท่าเรือคลองเตย)
107 รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีครีม-น้ำเงิน
107 รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
114 แยกลำลูกกา MRT พระนั่งเกล้า รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
114 รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
1-14E (129) รถโดยสารประจำทาง อู่บางเขน สำโรง รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) รถบริการทางด่วน (ขึ้นทางด่วนด่านดินแดง ลงด่านบางนา)
1-14E (129) รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
185 1 (กปด.31) รถโดยสารประจำทาง อู่รังสิต คลองเตย รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
503 สนามหลวง รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
1-22E (522) รถโดยสารประจำทาง อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) รถบริการทางด่วน (ขาไป ขึ้นด่านงามวงศ์วาน ลงด่านพระราม 6 (คลองประปา)
ขากลับ ขึ้นด่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ลงด่านงามวงศ์วาน)
1-22E (522) Handicapped/disabled access รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้ก๊าซธรรมชาติ)
543ก 1 (กปด.11) รถโดยสารประจำทาง อู่บางเขน เรือข้ามฟาก ท่าน้ำนนทบุรี รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีครีม-น้ำเงิน

รถเอกชน[แก้]

สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
34 (1-3) Handicapped/disabled access บางเขน การขนส่งระบบราง สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.ไทยสมายล์บัส
39 (1-5) Handicapped/disabled access รังสิต รถโดยสารประจำทาง อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ บจก.หลีกภัยขนส่ง
(เครือไทยสมายล์บัส)
126 (1-13) คลองตัน ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ รถโดยสารประจำทางสีส้ม (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.สมาร์ทบัส
(เครือไทยสมายล์บัส)
126 (1-13) Handicapped/disabled access รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า)
524 (1-23) Handicapped/disabled access หลักสี่ รถโดยสารประจำทาง สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ตลิ่งชัน) รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.บางกอกยูเนี่ยนเซอร์วิส 524
(เครือไทยสมายล์บัส)
1-32E Handicapped/disabled access บางเขน ตลาดพลู บจก.ไทยสมายล์บัส รถบริการทางด่วน (ขึ้นทางด่วนด่านประชาอุทิศ ลงด่านสุรวงศ์)
มีรถให้บริการน้อย
  • ถนนพหลโยธิน รถขสมก. สาย 26 34 39 59 107 114 129 185 503 522 543(ท่าน้ำนนท์) รถเอกชน สาย 39 51 126 524 มินิบัส สาย 34 39

สถานที่สำคัญใกล้เคียง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "BTS เปิดให้บริการเพิ่ม 4 สถานี จากกรมป่าไม้ -วัดพระศรีมหาธาตุฯ". Manager Online. 5 June 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-05.
  2. "5 มิ.ย.63 BTS เปิดวิ่งฟรี 4 สถานี ส่วนต่อขยาย หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต". Thairath. 4 June 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-04.
  3. "รฟม. แจงเปลี่ยนชื่อสถานีรถไฟฟ้าบางบัว เป็น ศรีปทุม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-01. สืบค้นเมื่อ 2020-04-22.
  4. โวย รฟม. เปลี่ยนชื่อสถานี "บางบัว" เป็น "ศรีปทุม" เอื้อเอกชน
  5. ชื่อสถานีรถไฟฟ้าสำคัญไฉน ชวนให้คิดใช้หลักเกณฑ์ใด
  6. เปิดไม่ถึงเดือนรถไฟฟ้า “ลาดพร้าว-ม.เกษตร” คนนั่งทะลุแสนเที่ยว/วัน-สายสีน้ำเงินเตาปูน-ท่าพระไม่ถึงหมื่น
  7. "รายงานการเปลี่ยนแปลงรายละเอียด โครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครส่วนต่อขยายพหลโยธิน (หมอชิต–สะพานใหม่–ลำลูกกา) ของกรุงเทพมหานคร เฉพาะช่วงสะพานใหม่–ลำลูกกา (ปัจจุบัน รฟม. เป็นผู้ดำเนินการ) กรณียกเลิกการติดตั้งแผงบังสายตาบริเวณพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ". บทที่ 1 บทนำ. โครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครส่วนต่อขยายพหลโยธิน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2019-02-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-06-05. สืบค้นเมื่อ 2020-04-22.
  8. "อยู่ร่วมกัน! สกายวอล์ก BTS "สถานีบางบัว" สร้างลดระดับรับสะพานข้าม กทม". ประชาชาติธุรกิจ. 2020-02-14. สืบค้นเมื่อ 2020-06-07. ทั้งนี้จากการสอบถามไปยังการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ไขข้อข้องใจว่าเป็นการปรับแบบก่อสร้างเพื่อรองรับสะพานข้ามแยกของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ที่จะสร้างในอนาคต
  9. "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้าบีทีเอส" (PDF). 2021-11-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-08-25.