สถานีหลักสอง
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
หลักสอง BL38 Lak Song | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
สถานีมองจากเดอะมอลล์ บางแค | |||||||||||
ข้อมูลทั่วไป | |||||||||||
ที่ตั้ง | ถนนเพชรเกษม เขตบางแค กรุงเทพมหานคร | ||||||||||
พิกัด | 13°42′39″N 100°24′34″E / 13.7108°N 100.4095°E | ||||||||||
เจ้าของ | การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย | ||||||||||
ผู้ให้บริการ | ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) | ||||||||||
สาย | |||||||||||
ชานชาลา | 2 ชานชาลาด้านข้าง | ||||||||||
ทางวิ่ง | 2 | ||||||||||
โครงสร้าง | |||||||||||
ประเภทโครงสร้าง | ยกระดับ | ||||||||||
ที่จอดรถ | อาคารจอดแล้วจร | ||||||||||
ข้อมูลอื่น | |||||||||||
รหัสสถานี | BL38 | ||||||||||
ประวัติ | |||||||||||
เริ่มเปิดให้บริการ | 21 กันยายน พ.ศ. 2562 | ||||||||||
ผู้โดยสาร | |||||||||||
2564 | 3,989,684 | ||||||||||
การเชื่อมต่อ | |||||||||||
| |||||||||||
|
สถานีหลักสอง (อังกฤษ: Lak Song Station, รหัส BL38) เป็นสถานีรถไฟฟ้าแบบยกระดับในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ยกระดับเหนือถนนเพชรเกษม บริเวณศูนย์การค้าเอ็ม ไลฟ์สโตร์ บางแค และซอยเพชรเกษม 80[1]
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนรถไฟฟ้าพระที่นั่งจากสถานีสนามไชยมาสิ้นสุดที่สถานีนี้ ในพิธีเปิดโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ส่วนต่อขยาย หัวลำโพง–หลักสอง และบางซื่อ–ท่าพระ เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563[2]
ที่ตั้ง
[แก้]ถนนเพชรเกษม อยู่ระหว่างซอยเพชรเกษม 80 และทางแยกต่างระดับเพชรเกษม ตัดกับถนนกาญจนาภิเษก บริเวณศูนย์การค้าเอ็ม ไลฟ์สโตร์ บางแค และโครงการหลักสอง พลาซ่า ในพื้นที่แขวงบางแคเหนือ เขตบางแค กรุงเทพมหานคร
ปัจจุบัน สถานีหลักสอง เป็นสถานีปลายทางของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ไปจนกว่าจะมีความชัดเจนในการก่อสร้างส่วนต่อขยายระยะที่ 4 ซึ่งถือเป็นช่วงสุดท้ายของโครงการตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง ตั้งแต่สถานีหลักสอง ไปจนถึงสถานีพุทธมณฑลสาย 4 จากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
แผนผังสถานี
[แก้]U3 ชานชาลา |
||
ชานชาลา 2 | สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า ท่าพระ (ผ่าน บางซื่อ) | |
ชานชาลา 1 | สายสีน้ำเงิน (จอดส่งผู้โดยสารเฉพาะขบวนรถที่กลับศูนย์ซ่อมบำรุง) | |
U2 ชั้นขายบัตรโดยสาร |
ชั้นขายบัตรโดยสาร | ทางออก 1-4, ห้องจำหน่ายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า, เอ็ม ไลฟ์สโตร์ บางแค |
G ระดับถนน |
- | ป้ายรถประจำทาง, หลักสอง พลาซ่า, เอ็ม ไลฟ์สโตร์ บางแค |
เนื่องจากเป็นสถานีปลายทาง และเปิดใช้ชานชาลาที่ 2 เพียงชานชาลาเดียว ขบวนรถที่มาจากสถานีบางแคจะสับรางเพื่อเข้าสู่ชานชาลาที่ 2 จากนั้นผู้โดยสารที่มาจากสถานีรายทางจะต้องลงจากขบวนรถทั้งหมด และผู้โดยสารที่จะโดยสารไปยังสถานีท่าพระ (ผ่านบางซื่อ) จะใช้ชานชาลาร่วมกับผู้โดยสารที่เดินทางมาจากสถานีรายทาง โดยผู้โดยสารที่จะโดยสารไปยังสถานีอื่น ๆ จะต้องรอจนกว่าผู้โดยสารที่มาจากสถานีรายทางออกจากขบวนรถทั้งหมด และรอให้เจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบสภาพรถไฟฟ้าให้เรียบร้อยเสียก่อน จากนั้นขบวนรถไฟฟ้าจะออกจากสถานีเข้าสู่สถานีบางแคต่อไป อย่างไรก็ตาม ในบางช่วงจะมีรถไฟฟ้าบางขบวนที่สิ้นสุดการให้บริการที่ชานชาลาหมายเลข 1 โดยเมื่อส่งผู้โดยสารที่ชานชาลาเสร็จแล้ว จะเดินรถไฟฟ้ากลับไปยังศูนย์ซ่อมบำรุงต่อไป
ในวันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ สถานีหลักสองจะใช้ชานชาลาที่ 1 รับส่งผู้โดยสารเป็นหลักแทนชานชาลาที่ 2 ยกเว้นช่วงเทศกาลปีใหม่และสงกรานต์ ใช้ชานชาลาที่ 2 เป็นหลักเหมือนวันอื่น ๆ
-
รถไฟฟ้าจากสถานีบางแค กำลังสับเปลี่ยนรางบริเวณหน้าอาคารจอดแล้วจร เพื่อเข้าสู่ชานชาลาหมายเลข 2
-
เมื่อเข้าสู่ชานชาลาหมายเลข 2 และผู้โดยสารออกจากขบวนรถหมดแล้ว จะทำการตรวจสอบขบวนรถ เพื่อมุ่งหน้าสถานีท่าพระ (ผ่านบางซื่อ) ต่อไป
-
เมื่อส่งผู้โดยสารที่ชานชาลาหมายเลข 1 แล้ว ขบวนรถจะมุ่งหน้ากลับสู่ศูนย์ซ่อมบำรุงเพชรเกษม หรือห้วยขวาง แล้วแต่กรณี
รายละเอียดสถานี
[แก้]สัญลักษณ์ของสถานี
[แก้]ใช้สีน้ำเงินตกแต่งบริเวณเสาสถานี ประตูกั้นชานชาลา ทางขึ้น-ลงสถานี และป้ายบอกทางต่างๆ ในสถานี เพื่อบ่งบอกว่าเป็นสถานีในเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนหลังคาใช้สีเทาเพื่อสื่อว่าเป็นสถานีรายทาง
รูปแบบของสถานี
[แก้]เป็นสถานีลอยฟ้า เป็นชานชาลาแบบข้าง (Station with Side Platform)
ทางเข้า-ออกสถานี
[แก้]- 1 ซอยเพชรเกษม 80, อาคารจอดแล้วจร 1 (ลิฟต์)
- 2 ซอยเพชรเกษม 47/1, อาคารจอดแล้วจร 2 (ลิฟต์)
- 3 ซอยเพชรเกษม 47/2, หลักสอง พลาซ่า, โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ บางแค, ศูนย์บริการสาธารณสุข 40 บางแค (บันไดเลื่อน)
- 4 ซอยเพชรเกษม 84, เอ็ม ไลฟ์สโตร์ บางแค (ทางเดินเชื่อม, บันไดเลื่อน) เปิดเมื่อ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2562
การจัดพื้นที่ในตัวสถานี
[แก้]แบ่งเป็น 2 ชั้น ประกอบด้วย
- 2 ชั้นชานชาลา
- 1 ชั้นออกบัตรโดยสาร
อาคารจอดแล้วจร
[แก้]อาคารจอดแล้วจร อยู่บริเวณสองฝั่งถนนเพชรเกษม ก่อนถึงสถานีประมาณ 100 เมตร มีทางเดินและทางรถยนต์ยกระดับข้ามถนนเชื่อมต่อระหว่างอาคารเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ประกอบด้วย
- อาคารจอดแล้วจร 1 ตั้งอยู่ฝั่งขาเข้าเมือง เป็นอาคาร 10 ชั้น ใกล้กับซอยเพชรเกษม 80
- อาคารจอดแล้วจร 2 ตั้งอยู่ฝั่งขาออกเมือง เป็นอาคาร 8 ชั้น ระหว่างซอยเพชรเกษม 47 และซอยเพชรเกษม 47/1 [3]
เวลาให้บริการ
[แก้]ปลายทาง | วัน | ขบวนแรก | ขบวนสุดท้าย | |
---|---|---|---|---|
สายเฉลิมรัชมงคล[4] | ||||
BL01 | ท่าพระ (ผ่านบางซื่อ) |
จันทร์ – ศุกร์ | 05:30 | 23:08 |
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ | 05:56 | 23:08 | ||
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสีม่วง | – | 22:22 |
รถโดยสารประจำทาง
[แก้]- ถนนเพชรเกษม สาย 7 7ก 80 80ก 81 84 84ก 91 91ก 101 146 147 165 189 509 547
- ถนนกาญจนาภิเษก (มุ่งหน้าถนนพระรามที่ 2) สาย 147
- ถนนกาญจนาภิเษก (มุ่งหน้าถนนบรมราชชนนี) สาย 146
- เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
[แก้]สายที่ | เขตการเดินรถที่ | จุดเริ่มต้น | จุดสิ้นสุด | ประเภทของรถที่ให้บริการ | ผู้ให้บริการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|---|
7ก | 6 (กปด.36) | อู่บรมราชชนนี | พาหุรัด | รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง | ขสมก. | |
80 | 6 (กปด.16) | วัดศรีนวลธรรมวิมล | สนามหลวง | รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) | ||
80 | สน.หนองแขม | รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง | รถบริการตลอดคืน | |||
80ก | หมู่บ้าน วปอ.11 | สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ | รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง | |||
84 | อ้อมใหญ่ | BTS กรุงธนบุรี | รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง | รถบริการตลอดคืน | ||
84 | วัดไร่ขิง | รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) | ||||
84ก | 6 (กปด.26) | บ้านเอื้ออาทรศาลายา | วงเวียนใหญ่ | รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง | ||
91 | 6 (กปด.36) | หมู่บ้านเศรษฐกิจ | สนามหลวง | รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) | ||
91ก | สนามหลวง 2 (ตลาดธนบุรี) | รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง | ||||
101 | 6 (กปด.26) | อู่บรมราชชนนี | วัดยายร่ม | รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง | ||
165 | 6 (กปด.36) | สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ | ||||
189 | 6 (กปด.16) | กระทุ่มแบน (วัดบางยาง) | สนามหลวง | |||
509 | 6 (กปด.26) | อู่บรมราชชนนี | สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) | รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) |
รถเอกชน
[แก้]รถโดยสารอื่น ๆ
[แก้]- รถรับส่ง (BMA Feeder) ระหว่างสถานีหลักสอง - ทวีวัฒนา (รถไฟฟ้า EV รวม 6 คัน)
สถานที่สำคัญใกล้เคียง
[แก้]- หลักสอง พลาซ่า
- เดอะมอลล์ เอ็ม ไลฟ์สโตร์ บางแค
- โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ บางแค
- ศูนย์บริการสาธารณสุข 40 บางแค
ระเบียงภาพ
[แก้]-
สถานีหลักสองขณะก่อสร้างสะพานทางเดินเชื่อมห้างฯ
-
สะพานทางเดินเชื่อมห้างฯ กับสถานีขณะก่อสร้าง
-
ป้ายหยุดรถบริเวณสถานีหลักสอง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (2016-08-01). "โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง - บางแค และช่วงบางซื่อ - ท่าพระ" (PDF) (Press release). กรุงเทพมหานคร. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-12-13. สืบค้นเมื่อ 2019-12-13.
- ↑ "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดโครงการรถไฟฟ้ามหานครสาย "เฉลิมรัชมงคล" (สายสีน้ำเงิน) ส่วนต่อขยาย". www.mrta.co.th.
- ↑ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย. "เอกสารการประชุมชี้แจงข้อมูล และรับฟังความคิดเห็น โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ", 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551.
- ↑ "รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ตารางเดินรถไฟฟ้า". www.mrta.co.th.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Lak Song MRT Station