สถานีไฟฉาย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไฟฉาย
BL03

Fai Chai
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนจรัญสนิทวงศ์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°45′21″N 100°28′09″E / 13.7557°N 100.4693°E / 13.7557; 100.4693พิกัดภูมิศาสตร์: 13°45′21″N 100°28′09″E / 13.7557°N 100.4693°E / 13.7557; 100.4693
เจ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ผู้ให้บริการทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM)
สาย     สายสีน้ำเงิน
ชานชาลา2 ชานชาลาด้านข้าง
ราง2
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีBL03
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ23 ธันวาคม พ.ศ. 2562; 4 ปีก่อน (2562-12-23)[1]
ผู้โดยสาร
2564736,059
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้ามหานคร สถานีต่อไป
บางขุนนนท์
มุ่งหน้า หลักสอง ผ่าน บางซื่อ
สายสีน้ำเงิน จรัญฯ 13
มุ่งหน้า ท่าพระ
ที่ตั้ง
แผนที่

สถานีไฟฉาย (อังกฤษ: Fai Chai Station, รหัส BL03) เป็นสถานีรถไฟฟ้าแบบยกระดับ ในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ตั้งอยู่บนถนนจรัญสนิทวงศ์ บริเวณแยกไฟฉาย ในพื้นที่เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร

ที่ตั้ง[แก้]

แยกไฟฉาย
ถนนพรานนก-พุทธมณฑลสาย 4

ถนนจรัญสนิทวงศ์ บริเวณด้านเหนือของแยกไฟฉาย ซึ่งเป็นจุดตัดระหว่างถนนจรัญสนิทวงศ์, ถนนพรานนก และถนนพรานนก-พุทธมณฑล สาย 4 ในพื้นที่แขวงบางขุนศรี เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร โดยตัวสถานีจะยกระดับคร่อมอุโมงค์ลอดแยกไฟฉาย

แผนผังสถานี[แก้]

U3
ชานชาลา
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 2 สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า ท่าพระ
ชานชาลา 1 สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า หลักสอง (ผ่าน บางซื่อ)
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1-4, ศูนย์บริการผู้โดยสารและนักท่องเที่ยว, ศูนย์บริการผู้โดยสาร, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า
G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง, ถนนจรัญสนิทวงศ์, แยกไฟฉาย, ตลาดบางขุนศรี

รายละเอียดสถานี[แก้]

สัญลักษณ์ของสถานี[แก้]

ใช้สีน้ำเงินตกแต่งบริเวณเสาสถานี ประตูกั้นชานชาลา ทางขึ้น-ลงสถานี และป้ายบอกทางต่าง ๆ ในสถานี เพื่อบ่งบอกว่าเป็นสถานีในเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนหลังคาใช้สีเทาเพื่อสื่อว่าเป็นสถานีรายทาง

รูปแบบของสถานี[แก้]

ชานชาลาสถานี มองออกไปยังสะพาน bowstring

เป็นสถานีแบบยกระดับ เป็นชานชาลาแบบข้าง (Station with Side Platform) มีประตูกั้นชานชาลาแบบครึ่งความสูง (Half Height Platform Screen Doors : HHPSDs)

สะาพน bowstring เหนือแยกไฟฉายก่อนเข้าสถานี
ขณะรถไฟฟ้าเคลื่อนผ่านสะพาน

สถานีไฟฉายเป็นหนึ่งใน 2 สถานี (อีกสถานีคือสถานีสิรินธร) ที่ใช้สะพานเหล็กแบบโค้งคันธนู (Bowstring bridge) ยาว 60 เมตรเพื่อข้ามแยกไฟฉาย เนื่องจากจะมีการก่อสร้างทางยกระดับและอุโมงค์ข้ามแยกไฟฉาย ทำให้ไม่สามารถวางโครงสร้างคอนกรีตเหนือแยกได้[2]


ทางเข้า-ออกสถานี[แก้]

ทางออก 1
ทางออก 3
  • 1 ถนนพรานนก, ซอยพรานนก 1 (บันไดเลื่อน)
  • 2 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 31/1 (ลิฟต์, บันไดเลื่อน)
  • 3 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 31/2, วัดรวกสุทธาราม, ตลาดบางขุนศรี (บันไดเลื่อน)
  • 4 โรงพยาบาลวิชัยเวช (ลิฟต์)

การจัดพื้นที่ในตัวสถานี[แก้]

ชั้นจำหน่ายบัตรโดยสาร
  • 3 ชั้นชานชาลา (Platform level)
  • 2 ชั้นจำหน่ายบัตรโดยสาร, เหรียญโดยสาร และห้องประชาสัมพันธ์ (Concourse level)
  • 1 ชั้นระดับถนน (Ground Level)

เวลาให้บริการ[แก้]

ปลายทาง วัน ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสีน้ำเงิน[3]
ชานชาลาที่ 1
BL38 หลักสอง
(ผ่านบางซื่อ)
จันทร์ - ศุกร์ 05:41 23:16
เสาร์ - อาทิตย์
นักขัตฤกษ์
06:00 23:16
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสีม่วง - 23:06
ชานชาลาที่ 2
BL01 ท่าพระ จันทร์ - ศุกร์ 05:42 00:22
เสาร์ - อาทิตย์
นักขัตฤกษ์
05:58 00:22

รถโดยสารประจำทาง[แก้]

ถนนจรัญสนิทวงศ์[แก้]

  • Handicapped/disabled access เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ[แก้]

สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
68 (3) รถโดยสารประจำทาง อู่แสมดำ บางลำพู 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง ขสมก.
สมุทรสาคร 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

80 (1) วัดศรีนวลธรรมวิมล สนามหลวง 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
สน.หนองแขม 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง รถบริการตลอดคืน
189 (1) กระทุ่มแบน (วัดบางยาง)
198 (3) รถโดยสารประจำทาง สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ปิ่นเกล้า) BTS บางหว้า รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) ผ่านสถานีเฉพาะขาไปบางขุนนท์ฝั่งเดียว
มีรถให้บริการน้อย
509 (2) รถโดยสารประจำทาง อู่บรมราชชนนี รถโดยสารประจำทาง สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร)


  • ถนนจรัญสนิทวงศ์ : สาย 40 42 56 57 68 80 108 175 189 509 รถสองแถวสายตลาดบางขุนศรี - สวนผัก สองแถวใหญ่ 1419 ตลาดบางขุนศรี - วัดศิริวัฒนาราม(ในซอยจรัญ 35)[4]

สถานที่สำคัญใกล้เคียง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "MRT สีน้ำเงิน เปิดครบทุกสถานี นั่งฟรีถึงปีหน้า". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-23.
  2. "VDO Presentation งานก่อสร้างโครงสร้างทางวิ่งเหล็กข้ามแยก (BOWSTRING) แยกบางพลัด และแยกไฟฉาย" (Press release). กรุงเทพมหานคร: การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย. 2017-05-27. สืบค้นเมื่อ 2020-01-05.
  3. "รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ตารางเดินรถไฟฟ้า". www.mrta.co.th.
  4. สองแถวจรัญ 35

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]