ข้ามไปเนื้อหา

สถานีคลองเตย

พิกัด: 13°43′21″N 100°33′14″E / 13.7224°N 100.5540°E / 13.7224; 100.5540
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คลองเตย
BL24

Khlong Toei
ชานชาลาที่ 1 สถานีคลองเตย
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนพระรามที่ 4 เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°43′21″N 100°33′14″E / 13.7224°N 100.5540°E / 13.7224; 100.5540
เจ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ผู้ให้บริการทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM)
สาย
ชานชาลา2 ชานชาลาด้านข้าง
ทางวิ่ง2
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างใต้ดิน
ทางเข้าออกสำหรับผู้พิการมีบริการ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีBL24
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ3 กรกฎาคม พ.ศ. 2547; 20 ปีก่อน (2547-07-03)
ชื่อเดิมบ่อนไก่
ผู้โดยสาร
2564764,958
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้ามหานคร สถานีต่อไป
ลุมพินี
มุ่งหน้า หลักสอง
สายสีน้ำเงิน ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
มุ่งหน้า ท่าพระ ผ่าน บางซื่อ
ที่ตั้ง
แผนที่

สถานีคลองเตย (อังกฤษ: Khlong Toei Station, รหัส BL24) เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่ถนนพระรามที่ 4 กรุงเทพมหานคร บริเวณทางขึ้น-ลงทางพิเศษเฉลิมมหานคร ใกล้ซอยโรงงานยาสูบ

ที่ตั้ง

[แก้]

ถนนพระรามที่ 4 ด้านหน้าสำนักงานการไฟฟ้านครหลวงเขตคลองเตย บริเวณทิศตะวันออกของจุดตัดทางรถไฟสายแม่น้ำ และทางขึ้น-ลงทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ทางด่วนขั้นที่ 1) ซึ่งเป็นจุดบรรจบกันระหว่างถนนพระรามที่ 4, ถนนเชื้อเพลิง และถนนดวงพิทักษ์ ในพื้นที่แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร

ก่อนหน้านี้ ในโครงการรถไฟฟ้ามหานครได้ใช้ชื่อสถานีนี้ว่า สถานีบ่อนไก่ เนื่องจากมีที่ตั้งอยู่ใกล้กับย่านบ่อนไก่ ด้านทิศตะวันตกของทางรถไฟสายแม่น้ำ แต่ทางการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยได้ประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นสถานีคลองเตย เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2545 โดยให้เหตุผลว่าที่ตั้งสถานีอยู่ในเขตคลองเตย ไม่ใช่แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน ที่ตั้งของย่านบ่อนไก่

ทั้งนี้ ย่านที่เรียกกันว่า "คลองเตย" มีพื้นที่กว้างขวาง และอาจทำให้เกิดความสับสนได้ แต่โดยทั่วไปมักหมายถึงพื้นที่ตลาดคลองเตย ซึ่งเป็นตลาดสดขนาดใหญ่ใจกลางกรุงเทพมหานคร สำหรับที่ตั้งของสถานีคลองเตยนั้นอยู่ห่างจากย่านตลาดคลองเตยมากกว่า 600 เมตร ดังนั้นผู้โดยสารที่เดินทางมาตลาดคลองเตยควรใช้บริการที่สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ซึ่งอยู่ใกล้เพียง 300 เมตรจะสะดวกกว่า

แผนผังสถานี

[แก้]
G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง, การไฟฟ้านครหลวงเขตคลองเตย, โรงงานยาสูบ
B1
ทางเดินลอดถนน
- ทางออก 1-2, เมโทรมอลล์,
สำนักงานชั่วคราวหนังสือเดินทางไทย MRT คลองเตย, สำนักงานสัญชาติและนิติกรณ์ MRT คลองเตย
B2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร
B3
ชานชาลา
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 2 สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า ท่าพระ (ผ่าน บางซื่อ)
ชานชาลา 1 สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า หลักสอง
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย

รายละเอียดสถานี

[แก้]

สัญลักษณ์ของสถานี

[แก้]
"หลังคาเรือนไทย" สัญลักษณ์ของสถานี

ใช้สัญลักษณ์หลังคาเรือนไทย สื่อถึงตำหนักปลายเนิน ซึ่งเป็นบ้านเรือนไทย 2 ชั้น ตั้งอยู่บริเวณด้านทิศใต้ของสถานี โดยใช้สีส้มเพื่อบ่งบอกถึงพื้นที่ในย่านการค้าหนาแน่น[1]

รูปแบบของสถานี

[แก้]

เป็นสถานีใต้ดิน กว้าง 28 เมตร ยาว 202 เมตร ระดับชานชาลาอยู่ลึก 18 เมตรจากผิวดิน เป็น 1 ใน 2 สถานีใต้ดินที่ใช้ชานชาลาด้านข้างชั้นเดียว (Station with Side Platform) โดยอีกสถานีหนึ่งคือ สถานีบางซื่อ

ทางเข้า-ออกสถานี

[แก้]
ทางเข้า-ออกที่ 2
  • 1 ป้ายรถประจำทางไปสี่แยกวิทยุ, การไฟฟ้านครหลวงเขตคลองเตย
  • 2 ป้ายรถประจำทางไปสามแยกคลองเตย, โรงงานยาสูบ

การจัดพื้นที่ในตัวสถานี

[แก้]
ชั้นออกบัตรโดยสาร

แบ่งเป็น 3 ชั้น ประกอบด้วย

สิ่งอำนวยความสะดวก

[แก้]
  • ลิฟท์สำหรับผู้พิการ ที่ทางเข้า-ออกที่ 1 และ 2

ศูนย์การค้าภายในสถานี

[แก้]

ภายในสถานีคลองเตย ได้จัดให้มีส่วนร้านค้าหรือ เมโทรมอลล์ ที่ชั้นบนสุดของสถานี เปิดเมื่อ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2559

สถานที่ราชการภายในสถานี

[แก้]

ภายในสถานีคลองเตย ได้จัดให้มีส่วนสถานที่ราชการสำหรับให้บริการประชาชนที่ชั้นบนสุดของสถานี โดยสถานีดังกล่าวเป็นที่ตั้งของ สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว MRT คลองเตย กรมการกงศุล กระทรวงการต่างประเทศ เปิดเมื่อ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2559 และภายในสถานียังมีสำนักงานสัญชาติและนิติกรณ์ กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงศุล เปิดให้บริการประชาชนภายในเมโทรมอลล์ เปิดเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2561

เวลาให้บริการ

[แก้]
ปลายทาง วัน ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสีน้ำเงิน[2]
ชานชาลาที่ 1
BL38 หลักสอง จันทร์ – ศุกร์ 05:54 00:00
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ 05:58 00:00
ชานชาลาที่ 2
BL01 ท่าพระ
(ผ่านบางซื่อ)
จันทร์ – ศุกร์ 05:55 23:37
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ 06:01 23:37
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสีม่วง 23:51

รถโดยสารประจำทาง

[แก้]

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

[แก้]
  • Handicapped/disabled access เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
4 (1) รถโดยสารประจำทาง ท่าเรือคลองเตย ท่านํ้าภาษีเจริญ 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีครีม-นํ้าเงิน

ขสมก.
13 (1) รถโดยสารประจำทาง อู่คลองเตย ตลาดห้วยขวาง 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
22 (2) รถโดยสารประจำทาง อู่สาธุประดิษฐ์ แฮปปี้แลนด์ 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีครีม-นํ้าเงิน
45 (1) รถโดยสารประจำทาง อู่ปู่เจ้าสมิงพราย ท่านํ้าสี่พระยา 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
47 (1) รถโดยสารประจำทาง ท่าเรือคลองเตย กรมที่ดินฯ 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
141 (2) รถโดยสารประจำทาง อู่แสมดำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)

ถนนพระรามที่ 4
สายที่ ต้นทาง ปลายทาง หมายเหตุ
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)
4 ท่าเรือคลองเตย ท่านํ้าภาษีเจริญ
4 ท่าเรือคลองเตย ท่านํ้าภาษีเจริญ
13 คลองเตย ห้วยขวาง
22 สาธุประดิษฐ์ แฮปปี้แลนด์
45 สําโรง สี่พระยา
47 ท่าเรือคลองเตย สํานักงานที่ดินกรุงเทพ
141 แสมดำ จุฬาฯ
รถเอกชน
3-36 (4) ท่าเรือคลองเตย ท่านํ้าภาษีเจริญ
3-39 (14) ถนนตก ศรีย่าน
3-10 (46) ม.รามคําแหง 2 สี่พระยา
74 คลองเตย ห้วยขวาง
1-45 (115) สวนสยาม บางรัก
4-53 (149) พุทธมณฑลสาย 2 เอกมัย
507 สําโรง สถานีขนส่งผู้โดยสารสายใต้ใหม่ (ตลิ่งชัน)
  • ถนนพระรามที่ 4 สาย 4 13 22 45 46 47 74 115 141 180 507

สถานที่สำคัญใกล้เคียง

[แก้]
แผนผังบริเวณสถานี

อ้างอิง

[แก้]
  1. จุดเริ่มต้นของคนเดินทาง: ดำดินเดินทาง. คอลัมน์นายรอบรู้ นิตยสารสารคดี เดือนตุลาคม 2548
  2. "รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ตารางเดินรถไฟฟ้า". www.mrta.co.th.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]