สถานีบางยี่ขัน
บางยี่ขัน Bang Yi Khan | |
---|---|
![]() | |
![]() สถานีบางยี่ขัน มองจากถนนจรัญสนิทวงศ์ | |
ข้อมูลทั่วไป | |
ผู้ให้บริการ | บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) |
สาย | สายเฉลิมรัชมงคล |
การเชื่อมต่อ | รถโดยสารประจำทาง |
ถนน | จรัญสนิทวงศ์ |
เขต/อำเภอ | เขตบางพลัด |
โครงสร้าง | |
ประเภทโครงสร้าง | ยกระดับ |
รูปแบบชานชาลา | ข้าง |
จำนวนชานชาลา | 2 |
ข้อมูลอื่น | |
รหัสสถานี | ![]() |
ทางออก | 4 |
บันไดเลื่อน | 5 |
ลิฟต์ | 4 |
เวลาให้บริการ | 06.00 - 24.00 น. |
ประวัติ | |
เปิดให้บริการ | 23 ธันวาคม พ.ศ. 2562 |
ที่ตั้ง | |
![]() | |
หมายเหตุ | |
สถานีบางยี่ขัน (อังกฤษ: Bang Yi Khan Station, รหัส BL05) เป็นสถานีรถไฟฟ้าในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ตั้งอยู่เหนือถนนจรัญสนิทวงศ์บริเวณปากซอยจรัญสนิทวงศ์ 42 ใกล้กับทางแยกบรมราชชนนีซึ่งสามารถต่อรถโดยสารไปยังสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าและสถานที่สำคัญใกล้เคียงได้[1][2]
ที่ตั้ง[แก้]
สถานีบางยี่ขันตั้งอยู่บนถนนจรัญสนิทวงศ์ หน้าปากซอยจรัญสนิทวงศ์ 42 บริเวณหน้าตลาดอินดี้ปิ่นเกล้าในพื้นที่เขตบางพลัด แขวงบางบำหรุ กรุงเทพมหานคร ใกล้กับ แยกบรมราชชนนี โดยบริเวณสถานีบางยี่ขันนับเป็นพื้นที่ชุมชนหนาแน่น ในอดีตเคยมีตลาดพงษ์ทรัพย์บริเวณปากซอยจรัญสนิทวงศ์ 46 และซอยร่วมที่ตั้งอยู่ใกล้ๆกัน
แผนผังสถานี[แก้]
U3 ชานชาลา | ||
ชานชาลา 2 | สายเฉลิมรัชมงคล มุ่งหน้า สถานีท่าพระ | |
ชานชาลา 1 | สายเฉลิมรัชมงคล มุ่งหน้า สถานีหลักสอง (ผ่าน สถานีบางซื่อ) | |
U2 ชั้นขายบัตรโดยสาร |
ชั้นขายบัตรโดยสาร | ทางออก, ศูนย์บริการผู้โดยสารและนักท่องเที่ยว, ศูนย์บริการผู้โดยสาร, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า |
G ระดับถนน |
- | ป้ายรถประจำทาง |
รายละเอียดสถานี[แก้]
สัญลักษณ์ของสถานี[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
รูปแบบของสถานี[แก้]
เป็นสถานีลอยฟ้า เป็นชานชาลาแบบข้าง (Station with Side Platform)
ทางเข้า-ออกสถานี[แก้]
- 1 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 49/1, ซอยจรัญสนิทวงศ์ 51, อาคารคอมมอนเวลธ์ปิ่นเกล้า (ลิฟต์), ตลาดนัดอินดี้ปิ่นเกล้า , แยกสิรินธร
- 2 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 53 (บันไดเลื่อนขึ้นและลง) , วัดรวกบางบำหรุ, สำนักงานเขตที่ดินบางกอกน้อย
- 3 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 42 (ลิฟต์), อาคารชุดเดอะ พาร์คแลนด์ ปิ่นเกล้า, โรงเรียนวัดบวรมงคล, วัดบวรมงคล, ซอยจรัญสนิทวงศ์ 46 (ตลาดพงษ์ทรัพย์), ซอยจรัญสนิทวงศ์ 65
- 4 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 40/1 (บันไดเลื่อนขึ้น), อาคารชุดไลฟ์ ปิ่นเกล้า, บริษัทธนาแลนด์ จำกัด, ซอยจรัญสนิทวงศ์ 43, แยกบรมราชชนนี (ต่อรถไปพาต้าปิ่นเกล้า , เซ็นทรัลปิ่นเกล้า , โรงพยาบาลเจ้าพระยาได้ที่ทางออกนี้)
การจัดพื้นที่ในตัวสถานี[แก้]
แบ่งเป็น 2 ชั้น ประกอบด้วย
- 3 ชั้นชานชาลา (Platform Level)
- 2 ชั้นจำหน่ายบัตรโดยสาร, เหรียญโดยสาร และห้องประชาสัมพันธ์ (Concourse level)
- 1 ชั้นระดับถนน (Ground Level)
เวลาให้บริการ[แก้]
สาเหตุที่การก่อสร้างล่าช้า[แก้]
เนื่องจากว่าสถานีนี้มีอุโมงค์ใต้ดิน, สะพานคู่ขนานลอยฟ้า บรมราชชนนี และบริเวณนั้นเป็นบริเวณการจราจรหนาแน่น ซึ่งขัดขวางต่อการก่อสร้าง ทำให้การก่อสร้างไม่คืบหน้าไปตามที่ต้องการ จึงมีแนวคิดที่จะสร้างเสาตอม่อดังนี้
- 1. ใช้วิธีปักตอม่อบริเวณกลางถนน ซึ่งทะลุไปยังอุโมงค์ ทำให้ช่องทางอุโมงค์ฝั่งหนึ่งจะต้องเหลือเพียง 1 เลน จาก 2 เลน ซึ่งจะมีปัญหาการจราจรภายหลัง [3]
- 2. ใช้วิธีปักตอม่อบริเวณบาทวิถี ซึ่งจะสามารถลดปัญหาการจราจรในระดับหนึ่ง แต่จะทำให้บาทวิถีแคบลง และอาจมีปัญหารื้อถอนท่อระบายน้ำและเวนคืนที่ดินตามมา [4]
ส่วนสะพานคู่ขนานลอยฟ้า บรมราชชนนีนั้น จะทำการก่อสร้างในระดับความสูงที่สูงกว่าปกติ หรือจะลอดข้ามสะพานคู่ขนานลอยฟ้า บรมราชชนนี เพื่อมุ่งหน้า สถานีท่าพระ ทางด้าน รฟม. กำลังตัดสินใจจะทำแบบข้างต้นในการสร้างเสาตอม่อ หรือเวนคืนที่ดินย่านนั้นๆ รวมประมาณ 84 คูหา เพื่อขยายพื้นที่บาทวิถี, ตอม่อ และร้านค้าบริเวณบาทวิถี
อ้างอิง[แก้]
- ↑ pum (2019-12-23). "บูมจัดสีน้ำเงินวิ่งครบ 38 สถานี บางยี่ขัน-ท่าพระแข่งโปรฟรีตั๋ว MRT 1 ปี". ประชาชาติธุรกิจ.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-07. สืบค้นเมื่อ 2021-06-07.
- ↑ รูปแบบการสร้างบริเวณสี่แยกบางพลัด และสามแยกไฟฉาย 01
- ↑ รูปแบบการสร้างบริเวณสี่แยกบางพลัด และสามแยกไฟฉาย 02
สถานีใกล้เคียง[แก้]
สถานีก่อนหน้า | ขบวนรถไฟ | สถานีต่อไป | ||
---|---|---|---|---|
สถานีบางขุนนนท์ มุ่งหน้า สถานีท่าพระ |
สายเฉลิมรัชมงคล | สถานีสิรินธร มุ่งหน้า สถานีหลักสอง (ผ่านบางซื่อ) |
สถานที่สำคัญใกล้เคียง[แก้]
- ตลาดอินดี้ปิ่นเกล้า
- วัดบวรมงคล
- โรงเรียนวัดบวรมงคล
- สถานีตำรวจนครบาลบวรมงคล
- สถานีตำรวจนครบาลบางยี่ขัน
- เซ็นทรัล ปิ่นเกล้า
- พาต้า ปิ่นเกล้า
- เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ปิ่นเกล้า
- สะพานพระราม 8
- สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
- วัดสวนสวรรค์[1][2]
- วัดดาวดึงษาราม
- บ้านบางยี่ขัน [3][4]
- ตลาดพงษ์ทรัพย์
- วัดบางยี่ขัน
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-07. สืบค้นเมื่อ 2021-06-07.
- ↑ "พาชมทำเล รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายบางซื่อ – ท่าพระ (ภาพรวม) | thinkofliving.com". thinkofliving.com.
- ↑ "บ้านบางยี่ขัน : MyCity.tataya.net ป้ายนำทาง สู่ชุมชนท่องเที่ยว ทั่วไทย". www.mycity.tataya.net.
- ↑ "พระยา พาลาซโซ โรงแรมลึกลับริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่ต้องนั่งเรือไปเท่านั้น". The Cloud. 2018-11-16.