สถานีวัดมังกร
วัดมังกร Wat Mangkon | |
---|---|
![]() | |
![]() ชั้นจำหน่ายบัตรโดยสาร | |
ข้อมูลทั่วไป | |
เจ้าของ | การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย |
ผู้ให้บริการ | บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) |
สาย | สายเฉลิมรัชมงคล |
การเชื่อมต่อ | รถโดยสารประจำทาง |
ถนน | เจริญกรุง |
เขต/อำเภอ | เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย, เขตสัมพันธวงศ์ |
โครงสร้าง | |
ประเภทโครงสร้าง | ใต้ดิน |
รูปแบบชานชาลา | ด้านข้าง (ชานชาลาต่างระดับ) |
จำนวนชานชาลา | 2 |
ข้อมูลอื่น | |
รหัสสถานี | ![]() |
ทางออก | 3 |
บันไดเลื่อน | 18 |
ลิฟต์ | 4 |
เวลาให้บริการ | 6.00 น. - 24.00 น. |
ประวัติ | |
เปิดให้บริการ | 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 |
ที่ตั้ง | |
![]() | |
หมายเหตุ | |
สถานีวัดมังกร (อังกฤษ: Wat Mangkon Station, รหัส BL29) เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลโดยเป็นสถานีที่อยู่ใจกลางย่านธุรกิจของชาวไทยเชื้อสายจีน ในแนวถนนเจริญกรุง กรุงเทพมหานคร บริเวณย่านวัดมังกรกมลาวาส (วัดเล่งเน่ยยี่) ใกล้กับถนนเยาวราช ซึ่งถือเป็นไชน่าทาวน์ของเมืองไทย
ที่ตั้ง[แก้]
ถนนเจริญกรุง บริเวณสี่แยกแปลงนาม (จุดบรรจบถนนเจริญกรุง, ถนนแปลงนาม และถนนพลับพลาไชย) ใกล้กับวัดมังกรกมลาวาส (วัดเล่งเน่ยยี่) ในพื้นที่แขวงป้อมปราบ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และแขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร
สถานีวัดมังกรเป็นหนึ่งในสถานีรถไฟฟ้าที่มีตัวสถานีอยู่ใจกลางพื้นที่เมืองเก่าของกรุงเทพมหานคร ภายในขอบเขตระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยา คลองรอบกรุง และคลองผดุงกรุงเกษม โดยแผนงานก่อนหน้านี้ได้ระบุที่ตั้งสถานีและจุดขึ้น-ลงสถานีอยู่ที่ซอยเจริญกรุง 16 (ตรอกอิสรานุภาพ หรือตรอกเล่งบ๊วยเอี้ย) หรือตลาดใหม่เยาวราช ซึ่งถือเป็นย่านการค้าเก่าแก่ใกล้กับโบราณสถานที่สำคัญคือวัดมังกรฯ เป็นย่านที่มีวิถีชุมชนเป็นเอกลักษณ์และเกี่ยวเนื่องกับประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานของชาวไทยเชื้อสายจีน ดังนั้นแผนการเวนคืนเพื่อก่อสร้างสถานีบริเวณซอยเจริญกรุง 16 จึงได้รับการคัดค้านอย่างหนักจากประชาชนส่วนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งในแผนเดิมของ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ได้ตัดสินใจยกเลิกการก่อสร้างสถานีแห่งนี้ แต่หลังจากเปิดรับฟังความคิดเห็น จึงมีทางออกร่วมกันคือปรับเปลี่ยนทางขึ้น-ลงสถานีมาใช้พื้นที่ว่างที่อยู่ใกล้เคียงแทน ได้แก่พื้นที่รกร้างตรงข้ามวัดมังกรฯ และหน้าโรงภาพยนตร์ศิริรามา (ป้ายรถประจำทางวัดมังกรฯ ระหว่างสี่แยกแปลงนามและห้าแยกหมอมี) เพื่อลดผลกระทบจากการเวนคืน โดยจุดศูนย์กลางสถานีอยู่ที่บริเวณสี่แยกแปลงนาม ซึ่งอยู่ถัดออกไปจากซอยเจริญกรุง 16 ประมาณ 200-300 เมตร[1]
นอกจากนี้ ด้วยที่ตั้งสถานีที่เป็นย่านการค้าหนาแน่นบนถนนเจริญกรุงซึ่งเป็นถนนสายหลักในย่านเมืองเก่า และเป็นถนนที่มีพื้นที่แคบ มีการจราจรคับคั่งตลอดทั้งวัน จึงจำเป็นต้องมีการวางแผนก่อสร้างเส้นทางและตัวสถานีวัดมังกรฯ อย่างระมัดระวัง โดยเลือกวิธีการก่อสร้างแบบไม่เปิดหน้าดิน เพื่อลดผลกระทบจากการปิดการจราจร
การออกแบบ[แก้]
ลักษณะสถานีวัดมังกรเป็นชานชาลาต่างระดับมี 3 ชั้น มีทางเข้าออกบริเวณสี่แยกแปลงนามและบริเวณซอยเจริญกรุง 18 เมื่อเริ่มก่อสร้างสถานีได้รื้อถอนอาคารบางส่วนด้านทิศใต้ของถนนเจริญกรุงออก โดยออกแบบทางเข้าออกสอดคล้องกับอาคารบริเวณใกล้เคียง[2]
การออกแบบตัวสถานีทั้งภายนอกบริเวณระดับดินและภายใน มีรูปแบบสถาปัตยกรรมจีน-โปรตุเกส หรือชิโนโปรตุกีส เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมโดยรอบ และยังสื่อสารถึงวัฒนธรรมแบบไทย-จีนของประชาชนชาวเยาวราชเป็นหลัก รวมถึงได้นำลวดลายของมังกรมาประดับใช้ในบริเวณสถานี ตั้งแต่เพดานบริเวณชั้นจำหน่ายบัตรโดยสาร และบริเวณหัวเสาในสถานีที่ใช้สลับกับประแจจีนและลายดอกบัว และบริเวณทางลงเข้าสู่ตัวสถานี โดยได้รับแรงบันดาลใจในการออกแบบจากวัดมังกรกมลาวาส หรือ วัดเล่งเน่ยยี่ โดย เล่ง ในภาษาจีนแต้จิ๋ว คือ มังกร คำว่า เน่ย คือ ดอกบัว และ คำว่า ยี่ คือวัด[3] และยังได้มีการออกแบบเพดานให้มีความรู้สึกเหมือนกำลังลงไปอยู่ใต้ท้องของมังกร โดยให้ประตูทางเข้าสถานีเป็นส่วนหาง และหัวของมังกรอยู่ภายในบริเวณสถานี [4]
แผนผังสถานี[แก้]
3 ร้านค้า (เฉพาะทางออก 2) |
- | ร้านค้า |
2 ร้านค้า (เฉพาะทางออก 2) |
- | ร้านค้า, ห้องเครื่อง, ปล่องระบายอากาศ |
G ระดับถนน |
- | ป้ายรถประจำทาง, วัดมังกรกมลาวาส, ย่านเยาวราช, ถนนเจริญกรุง |
B1 ชั้นขายบัตรโดยสาร |
ชั้นขายบัตรโดยสาร | ทางออก 1-3, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร |
B2 ชานชาลา |
ชานชาลา 2 | สายเฉลิมรัชมงคล มุ่งหน้า สถานีท่าพระ (ผ่าน สถานีบางซื่อ) |
B3 ห้องเครื่อง |
ชั้น Plant | ชั้นห้องเครื่อง |
B4 ชานชาลา |
ชานชาลา 1 | สายเฉลิมรัชมงคล มุ่งหน้า สถานีหลักสอง |
รายละเอียดสถานี[แก้]
สัญลักษณ์ของสถานี[แก้]
ตราสัญลักษณ์ของสถานีเป็นมังกร เพื่อสื่อถึงย่านไชน่าทาวน์ ถนนเยาวราชและวัดมังกรกมลาวาส และใช้สีแดงกับสีทองตกแต่งภายในเนื่องมาจากเป็นสีมงคลของชาวจีน ส่วนกระเบื้องหัวเสาใช้ ลวดลายของประแจจีนบุพื้นสีทอง สลับกับกระเบื้องลายดอกบัว
รูปแบบของสถานี[แก้]
เป็นชานชาลาต่างระดับ (Station with Stack Platform) เนื่องจากถนนเจริญกรุงมีพื้นที่คับแคบ ทำให้ต้องสร้างอุโมงค์ซ้อนกัน
ทางเข้า-ออกสถานี[แก้]
- 1 บริเวณสี่แยกแปลงนาม, ถนนแปลงนาม, ถนนผดุงด้าว ,ถนนเยาวราช, สถานพยาบาลผู้ป่วยเรื้อรังกว๋องสิวมูลนิธิ ศาลเจ้ากวางตุ้ง, วัดมงคลสมาคม , วงเวียน 22 กรกฎาคม (ลิฟต์, บันไดเลื่อน)
- 2 บริเวณซอยเจริญกรุง 16 (ซอยอิสรานุภาพ หรือตรอกเล่งบ๊วยเอี๊ยะ) (ลิฟต์)
- 3 วัดมังกรกมลาวาส, ถนนเสือป่า, วัดคณิกาผล, โรงพยาบาลกลาง (ลิฟต์, บันไดเลื่อน)
การจัดพื้นที่ในตัวสถานี[แก้]
แบ่งเป็น 7 ชั้น โดยเป็นอาคารเหนือพื้นดิน 3 ชั้น และชั้นใต้ดิน 4 ชั้น ประกอบด้วย
- 3 ร้านค้า (อาคาร 3 ชั้น บริเวณทางออก 2)
- 2 ร้านค้า (อาคาร 3 ชั้น บริเวณทางออก 2) ,ห้องเครื่อง และปล่องระบายอากาศ
- G ชั้นระดับถนน (Ground level) ทางเข้า-ออก ลานกิจกรรมบริเวณสถานี (ฝั่งเขตสัมพันธวงศ์) และร้านค้า (อาคาร 3 ชั้น บริเวณทางออก 2)
- B1 ชั้นออกบัตรโดยสาร เหรียญโดยสาร และห้องประชาสัมพันธ์ (Concourse level)
- B2 ชั้นชานชาลาหมายเลข 2 มุ่งหน้าสถานีท่าพระ (ผ่านสถานีบางซื่อ)
- B3 ชั้นห้องเครื่อง
- B4 ชั้นชานชาลาหมายเลข 1 มุ่งหน้าหลักสอง
เวลาให้บริการ[แก้]
ปลายทาง | วัน | ขบวนแรก | ขบวนสุดท้าย | |||
---|---|---|---|---|---|---|
สายเฉลิมรัชมงคล | ||||||
ชานชาลาที่ 1 | ||||||
BL38 | หลักสอง | จันทร์ - ศุกร์ | 05:53 | 00:10 | ||
เสาร์ - อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ |
05:58 | 00:10 | ||||
ชานชาลาที่ 2 | ||||||
BL01 | ท่าพระ (ผ่านบางซื่อ) |
จันทร์ - ศุกร์ | 05:51 | 23:28 | ||
เสาร์ - อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ |
05:55 | 23:28 | ||||
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสีม่วง | - | 22:41 | ||||
รถโดยสารประจำทาง[แก้]
- ถนนเจริญกรุง สาย 1 4 7 21 25(ขสมก.) 35 40 49 53(วนซ้าย) 73 85 507 529
สถานที่สำคัญใกล้เคียง[แก้]
- วัดมังกรกมลาวาส
- วัดมงคลสมาคม
- วัดคณิกาผล
- ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ ๖ รอบ พระชนมพรรษา (วงเวียนโอเดียน)
- สถานีตำรวจนครบาลพลับพลาไชย 1 และ 2
- วงเวียน 22 กรกฎาคม
- ถนนเยาวราช
- ย่านการค้าคลองถม และสำเพ็ง
- ไอแอม ไชน่าทาวน์
- กูร์เมต์ ไทย สาขาไอแอม ไชน่าทาวน์ (เปิดเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562)
- โรงแรมอาศัย กรุงเทพ ไชน่าทาวน์
อ้างอิง[แก้]
- ↑ หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ 12 กุมภาพันธ์ 2551
- ↑ "เรื่องเล่าสองข้างราง MRT สีน้ำเงิน". p. 36.
- ↑ "BEM Magazine Vol. 9" (PDF). 29 กรกฎาคม 2562. p. 8. สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
และ|date=
(help) - ↑ สถานีวัดมังกร แลนด์มาร์คใหม่! เตรียมเปิดใช้รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน หัวลำโพง – หลักสอง[ลิงก์เสีย]
สถานีใกล้เคียง[แก้]
สถานีก่อนหน้า | ขบวนรถไฟ | สถานีต่อไป | ||
---|---|---|---|---|
สถานีหัวลำโพง มุ่งหน้า สถานีท่าพระ (ผ่านบางซื่อ) |
สายเฉลิมรัชมงคล | สถานีสามยอด มุ่งหน้า สถานีหลักสอง |