สถานีพระราม 9

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระราม 9
BL20

Phra Ram 9
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนรัชดาภิเษก เขตดินแดงและเขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°45′26″N 100°33′55″E / 13.75722°N 100.56528°E / 13.75722; 100.56528พิกัดภูมิศาสตร์: 13°45′26″N 100°33′55″E / 13.75722°N 100.56528°E / 13.75722; 100.56528
เจ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ผู้ให้บริการทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM)
สาย
ชานชาลา1 ชานชาลาเกาะกลาง
ราง2
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างใต้ดิน
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีBL20
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ3 กรกฎาคม พ.ศ. 2547; 19 ปีก่อน (2547-07-03)
ผู้โดยสาร
25646,855,613
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้ามหานคร สถานีต่อไป
เพชรบุรี
มุ่งหน้า หลักสอง
สายสีน้ำเงิน ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
มุ่งหน้า ท่าพระ ผ่าน บางซื่อ
ที่ตั้ง
แผนที่

สถานีพระราม 9 (อังกฤษ: Phra Ram 9 Station, รหัส BL20) เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่ถนนรัชดาภิเษก-ห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร บริเวณแยกพระราม 9 มีทำเลอยู่ในย่านธุรกิจ, อาคารสำนักงาน, ศูนย์การค้าด้านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และสถานบันเทิงย่านรัชดาภิเษก

ที่ตั้ง[แก้]

ถนนรัชดาภิเษก บริเวณทิศเหนือของสี่แยกพระราม 9 จุดบรรจบถนนรัชดาภิเษก, ถนนอโศก-ดินแดง และถนนพระราม 9 ในพื้นที่แขวงดินแดง เขตดินแดง และแขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร

แผนผังสถานี[แก้]

G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง, ฟอร์จูนทาวน์
สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย
B1
ชั้นร้านค้า
ทางออก 1-3, เซ็นทรัล พระราม 9, อาคารสำนักงาน จีทาวเวอร์, เมโทรมอลล์
B2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร
B3
ชานชาลา
ชานชาลา 2 สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า ท่าพระ (ผ่าน บางซื่อ)
ชานชาลาเกาะกลาง, ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา
ชานชาลา 1 สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า หลักสอง

รายละเอียดสถานี[แก้]

สัญลักษณ์ของสถานี[แก้]

เลข "๙" เป็นสัญลักษณ์ของสถานี

ใช้สัญลักษณ์เป็นรูปเลข 9 ไทย (๙) เนื่องจากสถานีตั้งอยู่บริเวณสี่แยกพระราม 9 จุดตัดถนนพระราม 9 โดยใช้สีแดงเพื่อบ่งบอกถึงความเป็นย่านธุรกิจ หรือตลาด[1]

รูปแบบของสถานี[แก้]

เป็นสถานีใต้ดิน กว้าง 23 เมตร ยาว 199 เมตร ระดับชานชาลาอยู่ลึก 18 เมตรจากผิวดิน เป็นชานชาลาแบบเกาะกลาง (Station with Central Platform)

ทางเข้า-ออกสถานี[แก้]

ทางเข้า-ออกที่ 2 ด้านหน้าเซ็นทรัล พระราม 9
  • 1 ศูนย์การค้าฟอร์จูนทาวน์,, โลตัส รัชดาภิเษก, อาคารซี.พี.ทาวเวอร์ 2, โรงแรมแกรนด์เมอร์เครียว ฟอร์จูน, ตลาดอยู่เจริญ, สถานทูตจีน, ป้ายรถประจำทางไปห้วยขวาง-ดินแดง
  • 2 ทรู ทาวเวอร์, เซ็นทรัลแกรนด์ (ทางเชื่อม)
  • 3 ป้ายรถประจำทางไปอโศก-รามคำแหง, เดอะ ชอปเปส แกรนด์ พระราม 9 และอาคารสำนักงาน จีทาวเวอร์ (ทางเชื่อม)

การจัดพื้นที่ในตัวสถานี[แก้]

แบ่งเป็น 3 ชั้น ประกอบด้วย

  • 1 ชั้นศูนย์การค้า เมโทรไนน์ และทางเดินเชื่อมศูนย์การค้าเซ็นทรัล พระราม 9 (เซ็นทรัลแกรนด์) และอาคารสำนักงาน จีทาวเวอร์
  • 2 ชั้นออกบัตรโดยสาร
  • 3 ชั้นชานชาลา

สิ่งอำนวยความสะดวก[แก้]

  • ลิฟท์สำหรับผู้พิการ ที่ทางเข้า-ออกที่ 1 และ 2

ศูนย์การค้าภายในสถานี[แก้]

ทางเชื่อมใต้ดินไปยังเซ็นทรัล พระราม 9 ชั้น B

ภายในสถานีพระราม 9 ได้จัดให้มีส่วนร้านค้า หรือเมโทรไนน์ ที่ชั้นบนสุดของสถานี เปิดให้บริการวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 และยังมีทางเข้าสู่ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พระราม 9 ที่ชั้น B ของศูนย์การค้า เพื่อเชื่อมทางเดินเข้าตัวสถานีที่ชั้นบนสุดของสถานี นับเป็นอาคารอสังหาริมทรัพย์หลังที่สองที่สามารถเจาะตัวสถานีเพื่อทำทางเดินเข้าสู่สถานีได้

เวลาให้บริการ[แก้]

ปลายทาง วัน ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสีน้ำเงิน[2]
ชานชาลาที่ 1
BL38 หลักสอง จันทร์ – ศุกร์ 05:56 23:52
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ 05:58 23:52
ชานชาลาที่ 2
BL01 ท่าพระ
(ผ่านบางซื่อ)
จันทร์ – ศุกร์ 05:55 23:45
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ 06:01 23:45
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสีม่วง 22:59

จุดเชื่อมต่อการเดินทาง[แก้]

รถโดยสารประจำทาง[แก้]

  • ถนนรัชดาภิเษก หน้าฟอร์จูนทาวน์ สาย 73 136 137 179 185 206 514 517 (1-56) (รถไปหมอชิต2) 529E(4-29E)
  • ถนนพระราม 9 หน้าอาคารชำนาญเพ็ญชาติ สาย 137 168 179 517(1-56) 3-26E *34E(1-2E)(TSB)(เฉพาะขากลับรังสิต) 1-63 555(S6)(TSB)
  • ถนนอโศก-ดินแดง หน้าตลาดอยู่เจริญ สาย 73 168 514 3-26E *34E(1-2E)(TSB)

(เฉพาะขากลับรังสิต) 517(1-56)(รถไปอนุสาวรีย์) 1-63 555(S6)(TSB) 3-55

สถานที่สำคัญใกล้เคียง[แก้]

แผนผังบริเวณสถานี

อ้างอิง[แก้]

  1. จุดเริ่มต้นของคนเดินทาง: ดำดินเดินทาง. คอลัมน์นายรอบรู้ นิตยสารสารคดี เดือนตุลาคม 2548
  2. "รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ตารางเดินรถไฟฟ้า". www.mrta.co.th.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]