สถานีพญาไท
สถานีพญาไท (อังกฤษ: Phaya Thai station) เป็นสถานีรถไฟฟ้าในเขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ในเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท, รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงอ่อน
สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท สถานีพญาไท
[แก้]พญาไท N2 Phaya Thai | |||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
สถานีพญาไท | |||||||||||||||||||||
ข้อมูลทั่วไป | |||||||||||||||||||||
ที่ตั้ง | ถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร | ||||||||||||||||||||
พิกัด | 13°45′24.99″N 100°32′1.84″E / 13.7569417°N 100.5338444°E | ||||||||||||||||||||
เจ้าของ | กรุงเทพมหานคร ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี) | ||||||||||||||||||||
ผู้ให้บริการ | ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี) | ||||||||||||||||||||
สาย | |||||||||||||||||||||
ชานชาลา | 2 ชานชาลาด้านข้าง | ||||||||||||||||||||
ทางวิ่ง | 2 | ||||||||||||||||||||
การเชื่อมต่อ | พญาไท ป้ายหยุดรถไฟพญาไท | ||||||||||||||||||||
โครงสร้าง | |||||||||||||||||||||
ประเภทโครงสร้าง | ยกระดับ | ||||||||||||||||||||
ข้อมูลอื่น | |||||||||||||||||||||
รหัสสถานี | N2 | ||||||||||||||||||||
ประวัติ | |||||||||||||||||||||
เริ่มเปิดให้บริการ | 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 | ||||||||||||||||||||
ผู้โดยสาร | |||||||||||||||||||||
2564 | 2,475,681 | ||||||||||||||||||||
การเชื่อมต่อ | |||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||
|
สถานีพญาไท (รหัส: N2) เป็นสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสแบบยกระดับในเส้นทางสายสุขุมวิท ยกระดับเหนือถนนพญาไทในพื้นที่เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร สามารถเชื่อมต่อการเดินทางกับรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ที่สถานีพญาไทได้โดยตรง และในอนาคตจะเป็นจุดเชื่อมต่อกับระบบรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อนที่สถานีรถไฟพญาไท
ที่ตั้ง
[แก้]ด้านทิศใต้ของทางแยกพญาไท (จุดตัดระหว่างถนนพญาไทกับถนนศรีอยุธยา) ในพื้นที่แขวงทุ่งพญาไทและแขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ตัวสถานีอยู่คร่อมจุดตัดทางรถไฟสายตะวันออกและอยู่ใต้เส้นทางรถไฟฟ้าเชื่อมต่อท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
แผนผังสถานี
[แก้]U3 ชานชาลา | ||
ชานชาลา 1 | สายสุขุมวิท มุ่งหน้า เคหะฯ (ราชเทวี) | |
ชานชาลา 2 | สายสุขุมวิท มุ่งหน้า คูคต (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ) | |
U2 ชั้นขายบัตรโดยสาร |
ชั้นขายบัตรโดยสาร | ทางออก 1-5, ศูนย์บริการผู้โดยสาร ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า พญาไท |
G ระดับถนน |
- | ป้ายรถประจำทาง, สำนักงานเขตราชเทวี, กรมปศุสัตว์, จุดหยุดรถไฟพญาไท โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย, ศูนย์การศึกษาครบวงจร อาคารวรรณสรณ์ |
รูปแบบของสถานี
[แก้]เป็นแบบมีชานชาลาอยู่ 2 ข้าง ขนาดมาตรฐาน กว้างประมาณ 20 เมตร ยาวประมาณ 170 เมตรเพื่อให้ตัวสถานีสามารถข้ามทางรถไฟสายตะวันออกที่อยู่ด้านล่างได้ ตัวสถานีมีความสูงสองชั้นประกอบด้วยชั้นชานชาลาและชั้นขายบัตรโดยสาร ซึ่งได้มีการแบ่งพื้นที่ตรวจบัตรโดยสารออกเป็นสองส่วน เพื่อเปิดทางออกที่ 5 สำหรับเชื่อมต่อกับสถานีพญาไทอีกแห่งของรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และเชื่อมเข้ากับทางออกที่ 1 (อาคารพญาไท พลาซ่า) เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้โดยสารของรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ สามารถเดินข้ามไปถนนพญาไทฝั่งขาออกเมือง (ฝั่งมุ่งหน้าไปอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ) และอำนวยความสะดวกให้ผู้โดยสารจากถนนพญาไทฝั่งขาออกเมืองสามารถเดินข้ามไปยังตัวสถานีพญาไทได้ รวมทั้งมีประตูกั้นชานชาลาแบบครึ่งความสูง
ทางเข้า-ออก
[แก้]- 1 อาคารพญาไทพลาซ่า, อาคารเดอะ ยูนิคอร์น พญาไท (สะพานเชื่อม), จุดหยุดรถไฟพญาไทฝั่งใต้,คอนโดบ้านปทุมวัน,ร้าน HEAP (บันไดเลื่อน)
- 2 ที่ทำการไปรษณีย์ราชเทวี, กรมปศุสัตว์, จุดหยุดรถไฟพญาไทฝั่งเหนือ, ป้ายรถประจำทางไปราชเทวี
- 3 อาคารซี.พี.ทาวเวอร์ 3 (พญาไท), โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย, สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม อาคารถนนศรีอยุธยา, ป้ายรถประจำทางไปสะพานเสาวนี-นางเลิ้ง
- 4 โรงแรมฟลอริดา, อาคารวรรณสรณ์, โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ, วังสวนผักกาด (ลิฟต์)
- 5 พญาไท
จุดรวมพลอยู่ที่ทางออก 3 หน้าธนาคารทหารไทยธนชาต สาขาพญาไท
สถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ สถานีพญาไท
[แก้]พญาไท A8 Phaya Thai | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ขบวนซิตี้ไลน์ หมายเลข 1 ณ ชานชาลาแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ | |||||||||||
ข้อมูลทั่วไป | |||||||||||
ที่ตั้ง | เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร | ||||||||||
พิกัด | 13°45′24″N 100°32′06″E / 13.7567329°N 100.5349124°E | ||||||||||
เจ้าของ | การรถไฟแห่งประเทศไทย | ||||||||||
ผู้ให้บริการ | เอเชีย เอรา วัน (AERA1) | ||||||||||
สาย | |||||||||||
ชานชาลา | 2 ชานชาลาด้านข้าง | ||||||||||
ทางวิ่ง | 2 | ||||||||||
การเชื่อมต่อ | สถานีพญาไท | ||||||||||
โครงสร้าง | |||||||||||
ประเภทโครงสร้าง | ยกระดับ | ||||||||||
ข้อมูลอื่น | |||||||||||
รหัสสถานี | A8 | ||||||||||
ประวัติ | |||||||||||
เริ่มเปิดให้บริการ | 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553 | ||||||||||
การเชื่อมต่อ | |||||||||||
| |||||||||||
|
สถานีพญาไท เป็นสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์แบบยกระดับในเส้นทางสายซิตี้เชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ยกระดับเหนือทางรถไฟสายตะวันออกที่จุดตัดถนนพญาไท กรุงเทพมหานคร ใกล้กับทางแยกพญาไท สามารถเชื่อมต่อการเดินทางกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท ได้โดยตรงที่สถานีพญาไท และในอนาคตจะเป็นจุดเชื่อมต่อกับระบบรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงอ่อน
ที่ตั้ง
[แก้]อยู่บนแนวเส้นทางรถไฟทางไกลสายตะวันออก ที่ป้ายหยุดรถไฟพญาไท บริเวณจุดตัดถนนพญาไทด้านทิศตะวันออก ติดกับสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส พญาไท ห่างจากทางแยกพญาไทมาทางทิศใต้ประมาณ 100 เมตร ในพื้นที่แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร สถานีข้างเคียงตามแนวเส้นทางคือสถานีราชปรารภ อยู่ห่างเพียงประมาณ 800 เมตร ซึ่งนับว่าเป็นช่วงระหว่างสถานีที่สั้นที่สุดในเส้นทางรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
สถานีพญาไทยังคงเป็นสถานีปลายทางรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ จนกว่าจะมีการเริ่มก่อสร้างส่วนต่อขยายพญาไท-ดอนเมือง ในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินขึ้น โดยรถไฟฟ้าจะลดระดับลงไปอยู่ในระดับใต้ดินแบบคลองแห้ง แล้ววิ่งเลียบถนนสวรรคโลก แล้วยกระดับกลับไปอยู่ในระดับที่ 4 ที่เป็นความสูงปัจจุบันของโครงการ เพื่อเข้าสู่ชานชาลาที่ 14 ในสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
แผนผังสถานี
[แก้]P ชานชาลา | ||
ชานชาลา 1 | สายซิตี้ มุ่งหน้า สุวรรณภูมิ | |
ชานชาลา 2 | สายซิตี้ มุ่งหน้า สุวรรณภูมิ | |
C ชั้นขายบัตรโดยสาร |
ชั้นขายบัตรโดยสาร | ศูนย์บริการผู้โดยสาร ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า |
I |
- | ทางออก, พญาไท |
G ระดับถนน |
- | ป้ายรถประจำทาง, ลานจอดรถยนต์ |
รูปแบบของสถานี
[แก้]เป็นแบบมีชานชาลาอยู่ 2 ข้าง ตัวสถานีมี 3 ชั้น ประกอบด้วยชั้นลอยซึ่งเชื่อมต่อสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส, ชั้นจำหน่ายตั๋ว และชานชาลาที่ชั้นบนสุด
ทางเข้า-ออก
[แก้]เวลาให้บริการ
[แก้]ปลายทาง | วัน | ขบวนแรก | ขบวนสุดท้าย | |||
---|---|---|---|---|---|---|
สายสุขุมวิท[1] | ||||||
ชานชาลาที่ 1 | ||||||
E23 | เคหะฯ | ทุกวัน | 05.15 | 23.46 | ||
E15 | สำโรง | ทุกวัน | – | 00.00 | ||
ชานชาลาที่ 2 | ||||||
N24 | คูคต | ทุกวัน | 05.57 | 00.16 | ||
N9 | ห้าแยกลาดพร้าว | ทุกวัน | – | 00.29 | ||
สายซิตี้[2] | ||||||
ชานชาลาที่ 1 และ 2 | ||||||
A1 | สุวรรณภูมิ | จันทร์ – ศุกร์ | 05.30 | 00.00 | ||
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ | 05.29 | 00.08 |
รถโดยสารประจำทาง
[แก้]ถนนพญาไท มุ่งหน้า อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ รถขสมก. 29 34 36 54 59 สาย รถเอกชน สาย 29ปอ 529
ถนนพญาไท มุ่งหน้า แยกราชเทวี รถขสมก. สาย 29 34 36 54 62 140 รถเอกชน สาย 29ปอ 38 139 529
ถนนพญาไท
[แก้]องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
[แก้]สายที่ | จุดเริ่มต้น | จุดสิ้นสุด | ประเภทของรถที่ให้บริการ | ผู้ให้บริการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
36 (2-40) (3) | อู่พระราม 9 | ท่านํ้าสี่พระยา | 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) | ขสมก. | |
54 (3) | วงกลม: อู่พระราม 9 | ดินแดง | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง | ||
59 (1-8) (3) | อู่รังสิต | สนามหลวง | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) |
||
62 (2) | ท่าน้ำสาธุประดิษฐ์ | อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีครีม–น้ำเงิน |
ถนนพญาไท | ||||
---|---|---|---|---|
สายที่ | ต้นทาง | ปลายทาง | หมายเหตุ | |
รถเอกชนสังกัดกรมการขนส่งทางบก | ||||
1-1 (29) | บางเขน | หัวลำโพง | เส้นทางผ่านถนนวิภาวดีรังสิต | |
1-2E (34E) | รังสิต | หัวลำโพง | ทางด่วน | |
1-3 (34) | บางเขน | หัวลำโพง | ||
3-8 (38) | อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ | มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2 | เดินรถฝั่งขาเข้า (กรมปศุสัตว์) เท่านั้น | |
4-19 (108) | วงกลม: เดอะมอลล์ท่าพระ | อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ | ||
3-16E (139) | อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ | มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2 | ทางด่วน - เดินรถฝั่งขาเข้า (กรมปศุสัตว์) เท่านั้น | |
4-23E (140) | เคหะธนบุรี/แสมดำ | อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ | ทางด่วน - เดินรถฝั่งขาเข้า (กรมปศุสัตว์) เท่านั้น | |
4-28 (529) | แสมดำ | สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (หมอชิต) | ||
1-68 | ปัฐวิกรณ์ | สวนหลวงพระราม 8 | ||
3-54 | อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ | ตลาดพลู |
สถานที่สำคัญใกล้เคียง
[แก้]- สำนักงานเขตราชเทวี
- สถานีตำรวจนครบาลพญาไท
- กรมปศุสัตว์
- กรมแพทย์ทหารบก
- ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา
- สถานีวิทยุศึกษา
- สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
- ที่ทำการไปรษณีย์ ราชเทวี
- สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 4 (อาคารพญาไทพลาซ่า ชั้น 28-29)
- สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (อาคารพญาไทพลาซ่า ชั้น 35-36)
- วังสวนผักกาด
- ศูนย์รวมนักศึกษาแบ๊บติสต์ (ในอดีตคือ พระตำหนักลักษมีวิลาศ)
- มูลนิธิสายใจไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สำนักงานถนนศรีอยุธยา
- ศูนย์การแพทย์รามาธิบดีศรีอยุธยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล (กำลังก่อสร้าง)
- โรงพยาบาลพญาไท 1
- โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย
- โรงเรียนพญาไท
- โรงเรียนอำนวยศิลป์
- โรงเรียนศรีอยุธยา ในพระอุปถัมภ์ฯ
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ศูนย์การค้าและอาคารสำนักงาน
[แก้]- อาคารสิริภิญโญ
- อาคารวรรณสรณ์
- อาคารพญาไทพลาซ่า
- อาคารซี.พี.ทาวเวอร์ 3 (พญาไท) เก็บถาวร 2017-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- อาคารศรีอยุธยา
- อาคารบุญวิสุทธิ์
- อาคารเลิศปัญญา
- อาคาร เค เอส แอล ทาวเวอร์
- อาคารเจ้าพระยาจิวเวอรี่
- อาคารเดอะ ยูนิคอร์น พญาไท
โรงแรม
[แก้]- โรงแรมสุคนธ์
- โรงแรมฟลอริดา
- โรงแรมเดอะ สุโกศล[3]
- โรงแรมอีสติน แกรนด์ พญาไท
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้าบีทีเอส" (PDF). 2021-11-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-08-25.
- ↑ Airport Rail Link (2023-04-22). "เนื่องจากมีผู้โดยสารสอบถามเวลาการเดินรถเข้ามาเป็นจำนวนมาก วันนี้แอดมินขอแชร์ข้อมูลเวลาการเดินรถไฟฟ้า แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ (ซิตี้ไลน์) ขบวนแรกและขบวนสุดท้าย มาฝากกันนะครับ". เฟสบุ๊ก.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-23. สืบค้นเมื่อ 2014-02-14.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ สถานีพญาไท
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
- Articles using Infobox station with markup inside name
- Articles using Infobox station with markup inside type
- Articles using Infobox station with images inside type
- สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท
- สถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์
- สถานีขนส่งผู้โดยสารในเขตราชเทวี
- สิ่งก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2542
- สิ่งก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2553