สถานีแบริ่ง
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
แบริ่ง E14 Bearing | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() | |||||||||||
![]() | |||||||||||
ข้อมูลทั่วไป | |||||||||||
ที่ตั้ง | ถนนสุขุมวิท เขตบางนา กรุงเทพมหานคร | ||||||||||
พิกัด | 13°39′33.61″N 100°36′3.78″E / 13.6593361°N 100.6010500°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 13°39′33.61″N 100°36′3.78″E / 13.6593361°N 100.6010500°E | ||||||||||
เจ้าของ | กรุงเทพมหานคร | ||||||||||
ผู้ให้บริการ | ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) | ||||||||||
สาย | |||||||||||
ชานชาลา | 2 ชานชาลาด้านข้าง | ||||||||||
ราง | 2 | ||||||||||
โครงสร้าง | |||||||||||
ประเภทโครงสร้าง | ยกระดับ | ||||||||||
ข้อมูลอื่น | |||||||||||
รหัสสถานี | E14 | ||||||||||
ประวัติ | |||||||||||
เริ่มเปิดให้บริการ | 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | ||||||||||
ชื่อเดิม | สุขุมวิท 107 | ||||||||||
ผู้โดยสาร | |||||||||||
2564 | 2,662,421 | ||||||||||
การเชื่อมต่อ | |||||||||||
| |||||||||||
ที่ตั้ง | |||||||||||
![]() |
สถานีแบริ่ง (อังกฤษ: Bearing Station, รหัส E14) เป็นสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสแบบยกระดับ ในเส้นทางสายสุขุมวิท ส่วนต่อขยายอ่อนนุช-แบริ่ง[1] ยกระดับเหนือถนนสุขุมวิท กรุงเทพมหานคร บริเวณทางแยกแบริ่ง ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดเขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร ก่อนเข้าสู่พื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นพื้นที่ในความรับผิดชอบของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ที่ดำเนินการก่อสร้างส่วนต่อขยายต่อไปจนถึงย่านบางปู
ที่ตั้ง[แก้]
ถนนสุขุมวิท ระหว่างปากทางถนนลาซาล (สุขุมวิท 105) กับซอยสุขุมวิท 107 (แบริ่ง) ในพื้นที่แขวงบางนาใต้ เขตบางนา กรุงเทพมหานคร
ระหว่างการก่อสร้าง สถานีแบริ่งใช้ชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่าสถานีสุขุมวิท 107 แต่ตัวสถานีจริง ๆ ตั้งอยู่หน้าปากถนนลาซาล (สุขุมวิท 105)[2]
โดยหลังจากเปิดให้ใช้บริการส่วนต่อขยายฟรีใน พ.ศ. 2554 สถานีแบริ่ง เป็นสถานีที่มีผู้โดยสารเข้ามาใช้บริการมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง (อันดับสองคือสถานีอุดมสุข และอันดับสามคือสถานีบางจาก) เนื่องจากเป็นเขตที่สิ้นสุดกับเขตจังหวัดสมุทรปราการ จึงทำให้ผู้ที่พำนักอยู่ในเขตจังหวัดสมุทรปราการมาใช้งานมากเป็นพิเศษโดยเฉพาะในช่วงเวลาเร่งด่วนทั้งเช้าและเย็น
ในช่วง พ.ศ. 2554 - พ.ศ. 2560 สถานีแบริ่งเคยทำหน้าที่เป็นสถานีปลายทางของระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพแทนสถานีอ่อนนุช แต่ปัจจุบันไม่ได้ทำหน้าที่เป็นสถานีปลายทางอีกต่อไป เนื่องจากกรุงเทพมหานคร และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ได้เปิดใช้งานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2561[3]
อนึ่ง เสาตอม่อรถไฟฟ้าต้นสุดท้ายที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่หน้าปากซอยสุขุมวิท 107 ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดเขตกรุงเทพมหานครอีกด้วย
ภายหลังที่โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง เปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2566 อาจทำให้เกิดความสับสนเกี่ยวกับชื่อของสถานีที่มีความใกล้เคียงกันระหว่างสถานีแบริ่งของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท กับสถานีศรีแบริ่งของรถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง ที่ตั้งอยู่คนละด้านของซอยแบริ่ง (สถานีตั้งอยู่บริเวณใกล้กับต้นซอยแบริ่งและด้านท้ายซอยแบริ่ง) ซึ่งทั้งสองสถานีนั้นมีระยะห่างกันมากกว่า 4.5 กิโลเมตร
แผนผังของสถานี[แก้]

U3 ชานชาลา | ||
ชานชาลา 1 | สายสุขุมวิท มุ่งหน้า เคหะฯ (สำโรง) | |
ชานชาลา 2 | สายสุขุมวิท มุ่งหน้า คูคต (บางนา) | |
U2 ชั้นขายบัตรโดยสาร |
ชั้นขายบัตรโดยสาร | ทางออก 1-4, ศูนย์บริการผู้โดยสาร ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร |
G ระดับถนน |
- | ป้ายรถประจำทาง, ซอยลาซาล, ซอยแบริ่ง |
เนื่องมาจากมีการปรับแผนการเดินรถให้มีประสิทธิภาพด้วยการแยกระหว่างขบวนไปสถานีสำโรงและสถานีเคหะฯ ผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางไปสถานีเคหะฯ แต่มากับขบวนรถที่มุ่งหน้าไปสถานีสำโรง จะต้องเปลี่ยนขบวนรถที่สถานีนี้ หรือเปลี่ยนชานชาลาที่สถานีสำโรง
รูปแบบของสถานี[แก้]
เป็นแบบมีชานชาลาอยู่ 2 ข้าง (side platform station) ขนาดมาตรฐาน กว้างประมาณ 20 เมตร ยาวประมาณ 150 เมตร ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสาร และชานชาลา ในส่วนหลังคาชานชาลามีการออกแบบให้ป้องกันฝนสาดและแดดส่อง โดยเชื่อมปิดหลังคาทั้งหมด
สัญลักษณ์ของสถานี[แก้]
ใช้สีเขียวตกแต่งเสาและรั้วบนชั้นชานชาลา ชั้นจำหน่ายตั๋ว ป้ายทางเข้าและบริเวณทางขึ้นสถานี เพื่อบ่งบอกว่า เป็นสถานีด้านตะวันออก
สิ่งอำนวยความสะดวก[แก้]
ลิฟต์ สำหรับผู้พิการ ไปยังชั้นขายบัตรโดยสารและชานชาลา จากทางเท้าทั้ง 2 ฝั่ง
ทางเข้า-ออก[แก้]
- 1 ซอยสุขุมวิท 105 (ลาซาล), เซ็นเตอร์พ้อยท์ สตูดิโอ ไทยแลนด์ (บันไดเลื่อน,ลิฟต์)
- 2 ซอยสุขุมวิท 70/4 (ลิฟต์)
- 3 ซอยสุขุมวิท 107 (แบริ่ง), โรงเรียนนานาชาติ เซ็นต์แอนดรูวส์ สุขุมวิท 107
- 4 ซอยสุขุมวิท 70/5, ปั๊มน้ำมันเอสโซ่, เบ็นซ์ บีเคเค กรุ๊ป, บีเคเค แกรนด์ เอสเตท, สยามนิสสันบีเคเค (บันไดเลื่อน)
- 5 เอพีที แบริ่ง มอลล์
จุดรวมพลอยู่ที่ทางออก 2 บริเวณหน้าปากซอยสุขุมวิท 70/4 และ ทางออก 4 หน้าเบ็นซ์ บีเคเค กรุ๊ป
เวลาให้บริการ[แก้]
ปลายทาง | ขบวนแรก | ขบวนสุดท้าย | |
---|---|---|---|
สายสุขุมวิท[4] | |||
ชานชาลาที่ 1 | |||
E23 | เคหะฯ | 05.55 | 00.27 |
E15 | สำโรง | – | 00.40 |
ชานชาลาที่ 2 | |||
N24 | คูคต | 05.17 | 23.35 |
N9 | ห้าแยกลาดพร้าว | – | 23.48 |
รถโดยสารประจำทาง[แก้]
ถนนสุขุมวิท 105 (ซ.ลาซาล) | ||||
---|---|---|---|---|
สายที่ | ต้นทาง | ปลายทาง | หมายเหตุ | |
รถหมวด 3 สมุทรปราการ | ||||
1236 | แบริ่ง (สุขุมวิท) | ศรีนครินทร์ |
- ถนนสุขุมวิท รถขสมก. สาย 2 23 25 45 102 129 142 508 511 536 รถเอกชน สาย 365 1141
- ซอยลาซาล สองแถว 1236 สุขุมวิท-แบริ่ง-ศรีนครินทร์
สถานที่สำคัญใกล้เคียง[แก้]
- โรงเรียนเพี้ยนพินอนุสรณ์
- โรงเรียนบางกอกพัฒนา
- โรงเรียนนานาชาติ เซนต์ แอนดรูวส์ สุขุมวิท 107
- โรงเรียนเซนต์โยเซฟ บางนา
- โรงเรียนลาซาล บางนา
- ซัมเมอร์ ลาซาล
- ซันนี่ แอท ซัมเมอร์ ลาซาล
- ดาดฟ้า ลาซาล
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "Bangkok Mass Rapid Transit-Green Line Extension". Railway Technology. สืบค้นเมื่อ 10 April 2017.
- ↑ PCL, Post Publishing. "St. Andrews International School, Sukhumvit 107". bangkokpost.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-10-02.
- ↑ "Free BTS Bearing-Samrong rides until 2018". bangkokpost.com. Post Publishing. สืบค้นเมื่อ 11 April 2017.
- ↑ "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้าบีทีเอส" (PDF). 2021-11-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-08-25.
![]() | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
สายเหนือ (N) |
| ||||||||
สายตะวันออก (E) |
|