ข้ามไปเนื้อหา

สถานีศรีรัช

พิกัด: 13°54′2″N 100°32′23″E / 13.90056°N 100.53972°E / 13.90056; 100.53972
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศรีรัช
PK09

Si Rat
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนแจ้งวัฒนะ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
พิกัด13°54′2″N 100°32′23″E / 13.90056°N 100.53972°E / 13.90056; 100.53972
เจ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ผู้ให้บริการนอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล (เอ็นบีเอ็ม)
สาย
ชานชาลา1 ชานชาลาเกาะกลาง
ทางวิ่ง2
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีPK09
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ7 มกราคม พ.ศ. 2567; 10 เดือนก่อน (2567-01-07)
ชื่อเดิมเมืองทองธานี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้ามหานคร สถานีต่อไป
แจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 28 สายสีชมพู เมืองทองธานี
มุ่งหน้า มีนบุรี
ที่ตั้ง
แผนที่

สถานีศรีรัช (อังกฤษ: Si Rat station; รหัส: PK09) เป็นสถานีรถไฟฟ้ามหานครแบบยกระดับในเส้นทางสายสีชมพู โดยยกระดับริมถนนแจ้งวัฒนะฟากเหนือในพื้นที่อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

ที่ตั้ง

[แก้]

สถานีศรีรัชตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของทางแยกต่างระดับแจ้งวัฒนะ (จุดตัดระหว่างถนนแจ้งวัฒนะ ทางพิเศษศรีรัช และทางพิเศษอุดรรัถยา) บริเวณระหว่างถนนแจ้งวัฒนะ ซอยแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 35 (เข้าหมู่บ้านจรรยานิเวศน์) และซอยแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 37 ในพื้นที่หมู่ที่ 2 บ้านคลองเกลือ ตำบลคลองเกลือ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

ก่อนหน้านี้สถานีแห่งนี้ใช้ชื่อโครงการและชื่อในระหว่างการก่อสร้างว่า "สถานีเมืองทองธานี" แต่เนื่องจากข้อเสนอการก่อสร้างส่วนต่อขยายศรีรัช–เมืองทองธานีของเอ็นบีเอ็มทำให้อาจเกิดความสับสนถึงสถานีเชื่อมต่อไปยังสายแยก เอ็นบีเอ็มจึงเสนอให้มีการเปลี่ยนชื่อสถานีถึงสองครั้ง โดยครั้งแรกใช้ชื่อสถานีว่า "สถานีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช" แต่เนื่องจากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชมีที่ตั้งอยู่ลึกเข้าไปในซอยถึง 1.2 กิโลเมตร ทำให้การตั้งชื่อสถานีอาจไม่เข้าข่ายสถานที่ใกล้เคียงตามข้อกำหนดของกรมการขนส่งทางราง เอ็นบีเอ็มจึงเสนอให้มีการสลับชื่อสถานีระหว่างสถานีแห่งนี้กับสถานี PK10 เพื่อให้สอดคล้องถึงที่ตั้งสถานีให้ได้มากที่สุด นั่นคือทางพิเศษศรีรัชซึ่งอยู่ใกล้เคียง

รายละเอียด

[แก้]

สีสัญลักษณ์

[แก้]

ใช้สีชมพูตกแต่งสถานีเพื่อสื่อให้เห็นว่าเป็นสถานีของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู

รูปแบบ

[แก้]

เป็นสถานียกระดับ มีชานชาลาเกาะกลางขนาดมาตรฐาน เป็นหนึ่งในสามสถานีของสายสีชมพูที่ใช้ชานชาลาแบบนี้ (อีกสองสถานีคือ ชานชาลา 1/2 สถานีเมืองทองธานีและสถานีอิมแพ็ค เมืองทองธานี) ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสารซึ่งอยู่ที่ชั้นพื้นถนน (ซึ่งเป็นหนึ่งใน 4 สถานีที่มีพื้นที่จำหน่ายบัตรโดยสารอยู่ที่ชั้นพื้นถนน) และชั้นชานชาลา มีประตูอัตโนมัติกั้นชานชาลาแบบครึ่งความสูง ในส่วนหลังคาชานชาลามีการออกแบบให้ป้องกันฝนสาดและแดดส่อง

ทางเข้า–ออก

[แก้]

ประกอบด้วยทางขึ้น–ลงปกติ ได้แก่

  • 1 ซอยแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 35 (เข้าหมู่บ้านจรรยานิเวศน์), ซอยแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 33, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • 2 ซอยแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 37

แผนผัง

[แก้]
U2
ชานชาลา
ชานชาลา 1 สายสีชมพู มุ่งหน้า มีนบุรี
ชานชาลาเกาะกลาง, ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา
ชานชาลา 2 สายสีชมพู มุ่งหน้า ศูนย์ราชการนนทบุรี
G
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1–2, ศูนย์บริการผู้โดยสาร
ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร,
ป้ายรถประจำทาง, ถนนแจ้งวัฒนะ

เวลาให้บริการ

[แก้]

เวลาให้บริการ

[แก้]
ปลายทาง เชื่อมต่อ ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสีชมพู[1][2]
ชานชาลาที่ 1
PK30 มีนบุรี เต็มระยะ 05.38 00.21
PK14 สายสีแดงเข้ม 23.51
PK16 สายสุขุมวิท (คูคต) 00.11
PK16 สายสุขุมวิท (เคหะฯ) 23.01
ชานชาลาที่ 2
PK01 ศูนย์ราชการนนทบุรี เต็มระยะ 05.38 00.47
PK01 สายสีม่วง (คลองบางไผ่) 23.17
PK01 สายสีม่วง (เตาปูน) 22.47

สถานที่ใกล้เคียง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู". 2023-12-28.
  2. "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพูขบวนสุดท้าย - ข่าวรถไฟ". 2023-12-28.