สถานีอโศก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อโศก
Asok
BTS-Logo.svg
BTS Asok Station.jpg
ชานชาลาสถานีอโศก
ข้อมูลทั่วไป
เจ้าของบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร
ผู้ให้บริการบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
สาย สายสุขุมวิท 
การเชื่อมต่อรถโดยสารประจำทาง
รถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน
ถนนสุขุมวิท
เขต/อำเภอเขตวัฒนา, เขตคลองเตย
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
รูปแบบชานชาลาด้านข้าง
จำนวนชานชาลา2
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีBTS E4.svg
ทางออก6
บันไดเลื่อน6
ลิฟต์2
เวลาให้บริการ06.00 - 24.00 น.
ประวัติ
เปิดให้บริการ5 ธันวาคม พ.ศ. 2542
ผู้โดยสาร
ผู้โดยสาร ()85,100[1]
ที่ตั้ง
Map
แผนที่จากเว็บไซต์รถไฟฟ้าบีทีเอส
หมายเหตุ
BTS E4 Traditional station sign (Interchange MRT).svg

สถานีอโศก (อังกฤษ: Asok Station, รหัส E4) เป็นสถานีรถไฟลอยฟ้า ในเส้นทางรถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา (รถไฟฟ้าบีทีเอส) สายสุขุมวิท ยกระดับเหนือถนนสุขุมวิท กรุงเทพมหานคร บริเวณทางแยกอโศกมนตรี เป็นจุดเชื่อมต่อกับสถานีสุขุมวิทของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล

ที่ตั้ง[แก้]

สถานีอโศก

ถนนสุขุมวิท ปากซอยสุขุมวิท 14 และซอยสุขุมวิท 19 ด้านทิศตะวันตกของทางแยกอโศกมนตรี จุดบรรจบถนนรัชดาภิเษกและถนนอโศกมนตรี (สุขุมวิท 21) ในพื้นที่แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา และแขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร

แผนผังสถานี[แก้]

U3
ชานชาลา
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 1  สายสุขุมวิท  มุ่งหน้า สถานีเคหะฯ
ชานชาลา 2  สายสุขุมวิท  มุ่งหน้า สถานีคูคต
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1-4, ศูนย์บริการผู้โดยสาร
ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า
ทางเชื่อมไปยัง  สายเฉลิมรัชมงคล  สถานีสุขุมวิท, ทางเชื่อมกับศูนย์การค้าเทอร์มินัล 21 อโศก
G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย, โรงแรมเชอราตัน แกรนด์ สุขุมวิท

รูปแบบของสถานี[แก้]

เป็นแบบมีชานชาลาอยู่ 2 ข้าง (side platform station) ขนาดมาตรฐาน กว้างประมาณ 20 เมตร ยาวประมาณ 150 เมตร ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสาร และชานชาลา

ปัจจุบัน สถานีอโศกมีโครงการทำพื้นที่ในการติดตั้งประตูกั้นชานชาลาแบบ Half Height Platform Screen Door เหมือนสถานีสยาม ซึ่งปัจจุบันได้ก่อสร้างเสร็จแล้ว

สัญลักษณ์ของสถานี[แก้]

ใช้สีเขียวตกแต่งเสาและรั้วบนชั้นชานชาลา ชั้นจำหน่ายตั๋ว ป้ายทางเข้าและบริเวณทางขึ้นสถานี เพื่อบ่งบอกว่า เป็นสถานีด้านตะวันออก

ทางเข้า-ออก[แก้]

  • 1 ซอยสุขุมวิท 19, ป้ายรถประจำทางไปพร้อมพงษ์ (บันไดเลื่อน), เทอร์มินัล 21 อโศก
  • 2 ป้ายรถประจำทางไปนานา, โรงแรมเชอราตัน แกรนด์ สุขุมวิท, ซอยสุขุมวิท 12
  • 3  สายเฉลิมรัชมงคล  สถานีสุขุมวิท (อาคารเชื่อมพร้อมบันไดเลื่อน), ถนนอโศกมนตรี, สยามสมาคม ในพระบรมราชูปถัมภ์ , มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, เทอร์มินัล 21 อโศก (ลิฟต์)
  • 4 โรงแรมโซลาเรีย นิชิเท็ตสึ กรุงเทพ (สะพานเชื่อม), ซอยสุขุมวิท 14, ซอยสุขุมวิท 16, ถนนรัชดาภิเษก, สวนเบญจกิตติ (ลิฟต์)
  • 5 โรงแรมเชอราตัน แกรนด์ สุขุมวิท, อาคารไทม์ สแควร์, ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สาขาสุขุมวิท และโรงแรมเดอะเวสทิน แกรนด์ สุขุมวิท, โรงแรมเอส 15, โรงแรมโซฟิเทล กรุงเทพ สุขุมวิท, ซอยสุขุมวิท 10, ซอยสุขุมวิท 12, ซอยสุขุมวิท 15, ดิอาร์ตบ็อกซ์ แอท สวนชูวิทย์ (ทางเดินเชื่อม)
  • 6 อาคารอินเตอร์เชนจ์ 21, อาคารเอ็กซ์เชนจ์

จุดรวมพลอยู่ที่ทางออก 2 หน้าทางเข้าโรงแรมเชอราตัน แกรนด์ สุขุมวิท และบริเวณทางออก 4

เวลาให้บริการ[แก้]

ปลายทาง ขบวนรถ ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสุขุมวิท
ชานชาลาที่ 1
BTS E23.svg เคหะฯ เต็มระยะ 05.36 00.14
ปลายทางสำโรง - 00.36
ชานชาลาที่ 2
BTS N24.svg คูคต เต็มระยะ 05.36 00.00
ปลายทางห้าแยกลาดพร้าว - 00.22

สิ่งอำนวยความสะดวก[แก้]

  • ลิฟต์ สำหรับผู้พิการ จากทางเท้าถนนสุขุมวิททั้ง 2 ฝั่ง บริเวณทางออกที่ 3 และ 4 และบริเวณทางเชื่อมระหว่างสถานีรถไฟฟ้า และอาคารเทอร์มินัล 21
  • โครงการก่อสร้างทางเดินใต้รางรถไฟฟ้า (Skywalk) ข้ามสี่แยกอโศกมนตรี ตามแนวถนนสุขุมวิท

จุดเชื่อมต่อการเดินทาง[แก้]

รถโดยสารประจำทาง[แก้]

  • ถนนสุขุมวิท รถขสมก. สาย รถขสมก. สาย 2 25 501 508 511 รถเอกชน สาย 40 48
  • ถนนอโศกมนตรี สาย 136 185 รถเอกชน สาย 38
  • ถนน รัชดาภิเษก รถขสมก. 136 185

สถานที่สำคัญใกล้เคียง[แก้]

ศูนย์การค้า[แก้]

อาคารสำนักงาน[แก้]

โรงแรม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°44′13″N 100°33′38″E / 13.737033°N 100.560419°E / 13.737033; 100.560419

สถานีใกล้เคียง[แก้]

สถานีก่อนหน้า ขบวนรถไฟ สถานีต่อไป
สถานีนานา
มุ่งหน้า สถานีคูคต
   สายสุขุมวิท    สถานีพร้อมพงษ์
มุ่งหน้า สถานีเคหะฯ
สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
มุ่งหน้า สถานีหลักสอง
   สายเฉลิมรัชมงคล 
(การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย)
เชื่อมต่อที่ สถานีสุขุมวิท
  สถานีเพชรบุรี
มุ่งหน้า สถานีท่าพระ
(ผ่านสถานีบางซื่อ)