สถานีกลันตัน
กลันตัน YL12 Kalantan | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |||||||||||
ที่ตั้ง | ถนนศรีนครินทร์ เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร | ||||||||||
พิกัด | 13°43′31″N 100°38′30″E / 13.7253°N 100.6418°E | ||||||||||
เจ้าของ | การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย | ||||||||||
ผู้ให้บริการ | อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล (อีบีเอ็ม) | ||||||||||
สาย | |||||||||||
ชานชาลา | 2 ชานชาลาด้านข้าง | ||||||||||
ทางวิ่ง | 2 | ||||||||||
โครงสร้าง | |||||||||||
ประเภทโครงสร้าง | ยกระดับ | ||||||||||
ข้อมูลอื่น | |||||||||||
รหัสสถานี | YL12 | ||||||||||
ประวัติ | |||||||||||
เริ่มเปิดให้บริการ | 03 กรกฎาคม พ.ศ. 2566[1] | ||||||||||
การเชื่อมต่อ | |||||||||||
| |||||||||||
|
สถานีกลันตัน (อังกฤษ: Kalantan station; รหัส: YL12) เป็นสถานีรถไฟฟ้ามหานครแบบยกระดับในเส้นทางสายสีเหลือง โดยยกระดับเหนือถนนศรีนครินทร์บริเวณเชิงสะพานข้ามคลองโคกวัด ในพื้นที่เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร[2]
ชื่อสถานี
[แก้]ชื่อสถานีกลันตันเป็นที่ถกเถียงในโลกออนไลน์ช่วงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 เนื่องจากชื่อสถานีพ้องกันกับชื่อรัฐกลันตันในประเทศมาเลเซีย ทำให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตบางส่วนออกความเห็นว่าไม่เหมาะสม[3] อย่างไรก็ตาม ชื่อ "กลันตัน" เป็นชื่อที่เกี่ยวข้องกับชุมชนท้องถิ่นเนื่องจากในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการขุดคลองเชื่อมจากคลองแสนแสบไปยังคลองพระโขนงเพื่อไปรบกับญวน โดยใช้แรงงานจากมลายูและกลันตัน คลองเชื่อมดังกล่าวจึงได้ชื่อว่า "คลองกลันตัน" ซึ่งต่อมาชื่อเรียกคลองดังกล่าวสั้นลงเหลือเพียง "คลองตัน" ซึ่งเป็นย่านที่รู้จักกันในปัจจุบัน[4] ชื่อคลองกลันตันยังคงปรากฏในพื้นที่ใกล้เคียง เช่น โรงเรียนคลองกลันตัน (มีสุวรรณอนุสรณ์) ซึ่งเป็นโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตสวนหลวง[5] เป็นต้น
ที่ตั้ง
[แก้]สถานีกลันตันตั้งอยู่เหนือถนนศรีนครินทร์ บริเวณเชิงสะพานข้ามคลองโคกวัด ในพื้นที่แขวงพัฒนาการ เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร[6]
รายละเอียด
[แก้]รูปแบบ
[แก้]ชานชาลาด้านข้าง กว้าง 20 เมตร ยาว 110 เมตร ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสารและชานชาลา มีประตูอัตโนมัติกั้นชานชาลาแบบครึ่งความสูง[7]
ทางเข้า–ออก
[แก้]ประกอบด้วยทางขึ้น–ลงปกติ ได้แก่[8][9]
- 1 ศูนย์การค้าธัญญาพาร์ค (บันไดเลื่อน, ลิฟต์)
- 2 สะพานข้ามคลองโคกวัด (ฝั่งขาออก) (ลิฟต์)
- 3 สะพานข้ามคลองโคกวัด (ฝั่งขาเข้า) (ลิฟต์)
- 4 ศูนย์บริการรถยนต์ออโต้วิลล่า (บันไดเลื่อน)
จุดรวมพลอยู่ที่ทางออก 2 บริเวณสะพานข้ามคลองโคกวัด (ฝั่งขาออก) และทางออก 4 ศูนย์บริการรถยนต์ออโต้วิลล่า
แผนผัง
[แก้]U3 ชานชาลา | ||
ชานชาลา 1 | สายสีเหลือง มุ่งหน้า สำโรง (ศรีนุช) | |
ชานชาลา 2 | สายสีเหลือง มุ่งหน้า ลาดพร้าว (หัวหมาก) | |
U2 ชั้นขายบัตรโดยสาร |
ชั้นขายบัตรโดยสาร | ทางออก, ศูนย์บริการผู้โดยสาร, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า |
G ระดับถนน |
– | ป้ายรถประจำทาง, เชิงสะพานข้ามคลองโคกวัด, ศูนย์การค้าธัญญาพาร์ค ศรีนครินทร์, หมู่บ้านกลางเมือง |
สิ่งอำนวยความสะดวก
[แก้]ลิฟต์สำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการไปยังชั้นขายบัตรโดยสารและชานชาลา จากทางเท้าทั้ง 2 ฝั่ง
เวลาให้บริการ
[แก้]ปลายทาง | ขบวนรถ | ขบวนแรก | ขบวนสุดท้าย | |||
---|---|---|---|---|---|---|
สายสีเหลือง | ||||||
ชานชาลาที่ 1 | ||||||
YL23 | สำโรง | เต็มระยะ | 05:38 | 00:23 | ||
ชานชาลาที่ 2 | ||||||
YL01 | ลาดพร้าว | เต็มระยะ | 05:38 | 00:23 |
สถานที่ใกล้เคียง
[แก้]- ศูนย์การค้าธัญญาพาร์ค ศรีนครินทร์
- อาคารโมเดิร์นฟอร์ม
รถโดยสารประจำทาง
[แก้]องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
[แก้]สายที่ | จุดเริ่มต้น | จุดสิ้นสุด | ประเภทของรถที่ให้บริการ | ผู้ให้บริการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
145 (3-18) (3) | อู่แพรกษาบ่อดิน | สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง 2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) 3.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ) |
ขสมก. | |
206 (3-30) (3) | เมกาบางนา | อู่บางเขน | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง 2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) |
||
519 (1-57) (3) | มีนบุรี | ท่าเรือคลองเตย | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง 2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีครีม–น้ำเงิน |
||
3-19E (145E) (3) | อู่แพรกษาบ่อดิน | สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) | รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง | รถบริการทางด่วน (ขึ้นทางด่วนด่านบางนา ลงด่านพระรามที่ 4) | |
3-21 (207) (3) | มหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตบางนา | มหาวิทยาลัยรามคำแหง | รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง |
รถเอกชน
[แก้]ถนนศรีนครินทร์ | ||||
---|---|---|---|---|
สายที่ | ต้นทาง | ปลายทาง | หมายเหตุ | |
รถสองแถว | ||||
1013 (11) | เมกาบางนา | เออาร์แอลหัวหมาก |
- รถ ขสมก. สาย 11, 11 ปอ., 145, 145 เสริม, 206, 519
- รถเอกชนร่วมบริการ สาย 133, 3-21 (207), R26E
- รถสองแถว สาย 1013 (11)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Limited, Bangkok Post Public Company. "Prayut tries out Bangkok's new monorail". Bangkok Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-06-19.
- ↑ "3 มิ.ย.นี้ เปิดทดลองรถไฟฟ้า "สีเหลือง" 13 สถานี "สำโรง-หัวหมาก"".
- ↑ "สรุปดราม่า สถานีรถไฟฟ้า "กลันตัน" ชื่อเหมือนรัฐในมาเลเซีย เพจดังชี้ไม่ได้บังเอิญ". ไทยรัฐ. June 21, 2022. สืบค้นเมื่อ October 27, 2022.
- ↑ รุจนัมพร เกษเกษมสุข. "การพัฒนาพื้นที่รกร้างว่างเปล่าเพื่อประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมชุมชน : กรณีศึกษาย่านคลองตัน กรุงเทพมหานคร" (PDF). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์.
- ↑ "ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 121)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา (139): 7. May 11, 2022. สืบค้นเมื่อ October 27, 2022.
- ↑ "รฟม. ขยายเส้นทางเปิดทดสอบการเดินรถเสมือนจริง (Trial Run) รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง ตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน นี้ เป็นต้นไป จากสถานีภาวนา ถึง สถานีสำโรง ระหว่างเวลา 06.00 น. – 20.00 น." www.mrta.co.th. สืบค้นเมื่อ 2023-06-09.
- ↑ "โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง". MRTA Official Website. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-16.
- ↑ "อัพเดตความคืบหน้า รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ! 2566". The List.
- ↑ ทางขึ้น - ลง (Entrance) ที่ 1 - 4 สถานีศรีนครินทร์ กลันตัน (YL.12), สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2564
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ