สถานีภาษีเจริญ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษีเจริญ
Phasi Charoen
MRT (Bangkok) logo.svg
MRT Phasi Charoen station - Station view from Seacon Bangkae.jpg
สถานีภาษีเจริญ
ข้อมูลทั่วไป
เจ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ผู้ให้บริการบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
สาย สายเฉลิมรัชมงคล 
การเชื่อมต่อรถโดยสารประจำทาง
ถนนเพชรเกษม
เขต/อำเภอเขตภาษีเจริญ
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
รูปแบบชานชาลาข้าง
จำนวนชานชาลา2
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีMRT BL36.svg
ทางออก4
บันไดเลื่อน4
ลิฟต์4
เวลาให้บริการ06:00 - 24:00 น.
ประวัติ
เปิดให้บริการ21 กันยายน พ.ศ. 2562
ที่ตั้ง
Map
แผนที่จากเว็บไซต์บีอีเอ็ม
หมายเหตุ
MRT BL36 Traditional station sign.svg

สถานีภาษีเจริญ (อังกฤษ: Phasi Charoen Station, รหัส BL36) เป็นโครงการสถานีรถไฟฟ้าแบบยกระดับ ในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล โดยสถานีจะยกระดับเหนือถนนเพชรเกษม บริเวณหน้าศูนย์สรรพสินค้าซีคอนบางแค[1]

ที่ตั้ง[แก้]

ศูนย์สรรพสินค้าซีคอนบางแค มองจากชานชาลาสถานีฝั่งหลักสอง

ถนนเพชรเกษม หน้าศูนย์สรรพสินค้าซีคอนบางแค และใกล้กับถนนเพชรเกษม

สถานีภาษีเจริญเป็นสถานีซึ่งตั้งอยู่ในเขตเศรษฐกิจที่สำคัญของย่านภาษีเจริญ โดยเฉพาะศูนย์สรรพสินค้าซีคอนบางแค และสถานที่อื่นๆ ที่สำคัญ เช่น สำนักงานเขตภาษีเจริญ, ศูนย์การเรียนปัญญาภิวัฒน์ เพชรเกษม, สถานีตำรวจนครบาลภาษีเจริญ ฯลฯ ซึ่งคาดว่าสถานีภาษีเจริญจะมีผู้โดยสารที่มาใช้บริการเป็นจำนวนมาก

แผนผังสถานี[แก้]

ป้ายข้อมูลบริเวณชานชาลาฝั่งหลักสอง
U3
ชานชาลา
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 2  สายเฉลิมรัชมงคล  มุ่งหน้า สถานีท่าพระ
ชานชาลา 1  สายเฉลิมรัชมงคล  มุ่งหน้า สถานีหลักสอง
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1-4, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า, ศูนย์การค้าซีคอนบางแค (ทางเดินเชื่อม)
G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง, ศูนย์การค้าซีคอนบางแค, สน.ภาษีเจริญ
สำนักงานเขตภาษีเจริญ, ศูนย์การศึกษาปัญญาภิวัฒน์

รายละเอียดสถานี[แก้]

สัญลักษณ์ของสถานี[แก้]

ชั้นจำหน่ายบัตรโดยสาร

ใช้สีน้ำเงินตกแต่งบริเวณเสาสถานี, ประตูกั้นชานชาลา, ทางขึ้น-ลงสถานี และป้ายบอกทางต่างๆ ในสถานี เพื่อบ่งบอกว่าเป็นสถานีในเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนหลังคาใช้สีเทาเพื่อสื่อว่าเป็นสถานีรายทาง

รูปแบบของสถานี[แก้]

เป็นสถานีลอยฟ้า เป็นชานชาลาแบบข้าง (Station with Side Platform) มีประตูกั้นชานชาลาแบบครึ่งความสูง (Half Height Platform Screen Doors : HHPSDs)

ทางเข้า-ออกสถานี[แก้]

ทางออกที่ 1
ทางออกที่ 2
สะพานเชื่อมศูนย์การค้าฯ กับสถานีที่ทางออกที่ 2
ทางออกที่ 3
ทางออกที่ 4
  • 1 ซอยเพชรเกษม 33/8, สถานีกาชาดที่ 11(วิเศษนิยม) (ลิฟต์)
  • 2 ซอยเพชรเกษม 35, ท่าเรือเพชรเกษม 35, โรงพยาบาลเพชรเกษม 2, ศูนย์การค้าซีคอนบางแค (ทางเดินเชื่อม,บันไดเลื่อน)
  • 3 ซอยเพชรเกษม 56 (ลิฟต์)
  • 4 ซอยเพชรเกษม 54, สำนักงานเขตภาษีเจริญ, สถานีตำรวจนครบาลภาษีเจริญ, ศูนย์การศึกษาปัญญาภิวัฒน์ เพชรเกษม 54 (บันไดเลื่อน)

การจัดพื้นที่ในตัวสถานี[แก้]

ป้ายข้อมูลสถานีในชั้นจำหน่ายบัตรโดยสาร

แบ่งเป็น 2 ชั้น ประกอบด้วย

  • 2 ชั้นชานชาลา
  • 1 ชั้นออกบัตรโดยสาร

เวลาให้บริการ[แก้]

ปลายทาง วัน ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายเฉลิมรัชมงคล
BL01 ท่าพระ
(ผ่านบางซื่อ)
จันทร์ - ศุกร์ 05:34 23:12
เสาร์ - อาทิตย์
นักขัตฤกษ์
06:01 23:12
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสีม่วง - 22:26
BL38 หลักสอง จันทร์ - ศุกร์ 05:39 00:25
เสาร์ - อาทิตย์
นักขัตฤกษ์
05:59 00:25

รถโดยสารประจำทาง[แก้]

ป้ายรถเมล์ฝั่งขาออกเมืองใกล้ทางออก 2
  • ถนนเพชรเกษม สาย 7 7ก 80 80ก 81 84 84ก 91 91ก 101 147 165 189 509 547

สถานที่สำคัญใกล้เคียง[แก้]

  • สถานีตำรวจนครบาลภาษีเจริญ (ภายในซอยเพชรเกษม 54)
  • สำนักงานเขตภาษีเจริญ (ภายในซอยเพชรเกษม 54)
  • ศูนย์การศึกษาปัญญาภิวัฒน์ เพชรเกษม 54
  • ศูนย์การค้าซีคอนบางแค (ทางเชื่อม)
  • โรงพยาบาลเพชรเกษม 2
  • สถานีกาชาดที่ 11(วิเศษนิยม)

อ้างอิง[แก้]

  1. การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (2016-08-01). "โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง - บางแค และช่วงบางซื่อ - ท่าพระ" (PDF) (Press release). กรุงเทพมหานคร. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-12-13. สืบค้นเมื่อ 2019-12-13.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

สถานีใกล้เคียง[แก้]

สถานีก่อนหน้า ขบวนรถไฟ สถานีต่อไป
สถานีเพชรเกษม 48
มุ่งหน้า สถานีท่าพระ
(ผ่านบางซื่อ)
   สายเฉลิมรัชมงคล    สถานีบางแค
มุ่งหน้า สถานีหลักสอง