สถานีบางหว้า
สถานีบางหว้า (อังกฤษ: Bang Wa station) เป็นสถานีรถไฟฟ้าในเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ในเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม และรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล
สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม สถานีบางหว้า
[แก้]บางหว้า S12 Bang Wa | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ชานชาลา สายสีลม | |||||||||||
ข้อมูลทั่วไป | |||||||||||
ที่ตั้ง | ถนนราชพฤกษ์ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร | ||||||||||
พิกัด | 13°43′15″N 100°27′29″E / 13.720706°N 100.457991°E | ||||||||||
เจ้าของ | กรุงเทพมหานคร | ||||||||||
ผู้ให้บริการ | ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี) | ||||||||||
สาย | |||||||||||
ชานชาลา | 2 ชานชาลาด้านข้าง | ||||||||||
ทางวิ่ง | 2 | ||||||||||
การเชื่อมต่อ | บางหว้า | ||||||||||
โครงสร้าง | |||||||||||
ประเภทโครงสร้าง | ยกระดับ | ||||||||||
ข้อมูลอื่น | |||||||||||
รหัสสถานี | S12 | ||||||||||
ประวัติ | |||||||||||
เริ่มเปิดให้บริการ | 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556 | ||||||||||
ผู้โดยสาร | |||||||||||
2564 | 2,463,019 | ||||||||||
การเชื่อมต่อ | |||||||||||
| |||||||||||
|
สถานีบางหว้า (รหัส: S12) เป็นสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสแบบยกระดับในเส้นทางสายสีลม โดยยกระดับข้างถนนราชพฤกษ์และคร่อมคลองวัดประดู่ เป็นสถานีปลายทางของเส้นทางช่วงวุฒากาศ–บางหว้า โดยสถานีนี้มีศูนย์ซ่อมบำรุงย่อยและโรงจอดย่อยอยู่บริเวณทิศเหนือของสถานี
ที่ตั้ง
[แก้]สถานีบางหว้าตั้งอยู่เหนือถนนราชพฤกษ์บริเวณด้านข้างสะพานยกระดับข้ามทางแยกต่างระดับเพชรเกษม ในพื้นที่แขวงปากคลองภาษีเจริญ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร อนึ่ง ตัวสถานีอยู่ห่างจากคลองบางหว้าและย่านบางหว้าดั้งเดิมมาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 1.6 กิโลเมตรตามแนวถนนเพชรเกษม
ในปัจจุบัน สถานีบางหว้ายังคงเป็นสถานีปลายทางในเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม ส่วนใต้ จนกว่าจะมีความชัดเจนในการก่อสร้างส่วนต่อขยายบางหว้า–ตลิ่งชัน ขึ้นตามแนวถนนราชพฤกษ์ เพื่อเชื่อมต่อระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลมเข้ากับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อนที่สถานีตลิ่งชัน ในอนาคตสถานีตลิ่งชันยังเป็นจุดกลางสายสีแดงระหว่างช่วงสายสีแดงตลิ่งชัน–ศาลายา และสายสีแดงตลิ่งชัน–บางซื่อ และสายสีแดงศิริราช–ตลิ่งชัน[1] อย่างไรก็ตาม สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรและองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่นหรือไจก้า มีแผนศึกษาเส้นทางทับซ้อนช่วงบางหว้า–ลำสาลี เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับระบบรถไฟฟ้าสายหลักและสายรองถึง 5 สาย ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างความชัดเจนในการจัดทำแผนแม่บทและการร่างเส้นทางต่อไป โดยเส้นบางหว้าในอนาคตจะเชื่อมต่อตลิ่งชัน–นนทบุรี–บางกะปิ แนวเส้นทางจะเป็นลักษณะวงแหวน ระยะทาง 42 กม. ใช้วงเงินลงทุนมากกว่า 50,000 ล้านบาท[2] [3][4] โดยจะมีการก่อสร้างตามแผนการศึกษาในปี 64-65 คาดการณ์เสร็จในวันที่ 5 ธันวาคม 2572[5] ปัจจุบันเส้นทางช่วงบางหว้า–ตลิ่งชัน กรุงเทพ มอบให้สำนักการจราจรและขนส่ง เพื่อเตรียมจัดสรรงบสำหรับว่าจ้างที่ปรึกษา เพื่อศึกษาความเหมาะสมของโครงการดังกล่าว[6][7][8] คาดว่าจะชัดเจนภายในปี 2567[9]
แผนผังของสถานี
[แก้]U3 ชานชาลา |
||
ชานชาลา 3 | สายสีลม สถานีปลายทาง | |
ชานชาลา 4 | สายสีลม มุ่งหน้า สนามกีฬาแห่งชาติ (วุฒากาศ) | |
U2 ชั้นขายบัตรโดยสาร |
ชั้นขายบัตรโดยสาร | ทางออก 1-4, ศูนย์บริการผู้โดยสาร ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, บางหว้า |
G ระดับถนน |
- | ป้ายรถประจำทาง, ถนนเพชรเกษม |
เนื่องจากเป็นสถานีปลายทาง ผู้โดยสารที่มาจากสถานีสนามกีฬาแห่งชาติหรือสถานีหมอชิต เมื่อถึงแล้วจะต้องลงจากขบวนทั้งหมดที่ชานชาลา 3 จากนั้นขบวนรถจะกลับทิศบริเวณสุดราง เพื่อมุ่งหน้ามารับผู้โดยสารที่ชานชาลา 4 ฝั่งตรงข้าม
รูปแบบของสถานี
[แก้]เป็นแบบมีชานชาลาอยู่ 2 ข้าง ขนาดมาตรฐาน กว้างประมาณ 20 เมตร ยาวประมาณ 150 เมตร ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสารและชานชาลา ในส่วนของหลังคาชานชาลามีการออกแบบให้ป้องกันฝนสาดและแดดส่อง โดยเชื่อมปิดหลังคาทั้งหมด
ทางเข้าออกสถานี
[แก้]- 1, 2 ถนนราชพฤกษ์, วัดประดู่บางจาก, โรงเรียนวัดประดู่บางจาก, ป้ายรถประจำทางไปบางแวก (ลิฟต์,บันไดเลื่อน)
- 3 ถนนเพชรเกษม, ซอยเพชรเกษม 34 (บันไดเลื่อน)
- 4 ป้ายรถประจำทางไปบางแค, คอนโดมิเนียม ศุภาลัย ปาร์ค ราชพฤกษ์-เพชรเกษม (ลิฟต์)
- เชื่อมต่อกับ บางหว้า ที่ทางออก 3, 4
จุดรวมพลอยู่ที่ทางออก 3 บริเวณใกล้บันไดเลื่อน และทางออก 1,2 บริเวณด้านหน้าลิฟต์
สิ่งอำนวยความสะดวก
[แก้]-
ประตูทางเข้า สายสีลม
-
ชานชาลา สายสีลม
-
ทางเข้าสถานี
-
ทางออกหมายเลข 4 ของสถานีบางหว้า บริเวณทางเชื่อมต่อรถไฟฟ้ามหานคร
-
บริเวณทางเข้าสถานีบางหว้า ของรถไฟฟ้ามหานคร (มุมมองจากฝั่งสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส)
สถานีรถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน สถานีบางหว้า
[แก้]บางหว้า BL34 Bang Wa | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ชานชาลา สายสีน้ำเงิน | |||||||||||
ข้อมูลทั่วไป | |||||||||||
ที่ตั้ง | ถนนเพชรเกษม เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร | ||||||||||
พิกัด | 13°43′14.25″N 100°27′28.33″E / 13.7206250°N 100.4578694°E | ||||||||||
เจ้าของ | การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย | ||||||||||
ผู้ให้บริการ | ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (บีอีเอ็ม) | ||||||||||
สาย | |||||||||||
ชานชาลา | 2 ชานชาลาด้านข้าง | ||||||||||
ทางวิ่ง | 2 | ||||||||||
การเชื่อมต่อ | บางหว้า | ||||||||||
ข้อมูลอื่น | |||||||||||
รหัสสถานี | BL34 | ||||||||||
ประวัติ | |||||||||||
เริ่มเปิดให้บริการ | 24 สิงหาคม พ.ศ. 2562 | ||||||||||
ผู้โดยสาร | |||||||||||
2564 | 2,481,924 | ||||||||||
การเชื่อมต่อ | |||||||||||
| |||||||||||
|
สถานีบางหว้า (รหัส: BL34) เป็นสถานีรถไฟลอยฟ้าในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล โดยสถานีจะยกระดับเหนือถนนเพชรเกษมบริเวณทางแยกต่างระดับเพชรเกษม สามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลมได้ที่สถานีนี้ เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2562
ที่ตั้ง
[แก้]สถานีบางหว้าตั้งอยู่เหนือถนนเพชรเกษมบริเวณทางแยกต่างระดับเพชรเกษม ในพื้นที่แขวงปากคลองภาษีเจริญ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร อนึ่ง ตัวสถานีอยู่ห่างจากสถานีเพชรเกษม 48 ในย่านบางหว้าดั้งเดิมมาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 1.2 กิโลเมตรตามแนวถนนเพชรเกษม
แผนผังสถานี
[แก้]U4 ชานชาลา |
||
ชานชาลา 2 | สายเฉลิมรัชมงคล มุ่งหน้า ท่าพระ (ผ่าน บางซื่อ) | |
ชานชาลา 1 | สายเฉลิมรัชมงคล มุ่งหน้า หลักสอง | |
U3 ชั้นขายบัตรโดยสาร |
ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า | |
U2 ชั้นเชื่อมต่อรถไฟฟ้าบีทีเอส |
ทางออก 1-4, ร้านค้า, บางหว้า | |
G ระดับถนน |
- | ป้ายรถประจำทาง, ถนนเพชรเกษม |
เนื่องมาจากมีการปรับแผนการเดินรถให้มีประสิทธิภาพด้วยการแยกระหว่างขบวนไปสถานีบางหว้า และสถานีหลักสอง เฉพาะช่วงเวลาเร่งด่วนตอนเช้าของวันจันทร์-ศุกร์ รถไฟฟ้าที่สิ้นสุดที่สถานีบางหว้า จะใช้ชานชาลาที่ 1 เป็นชานชาลาปลายทาง ผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางไปสถานีหลักสอง จะต้องออกจากขบวนรถ แล้วรอรถขบวนถัดไปที่ชานชาลาฝั่งตรงข้าม
รายละเอียดสถานี
[แก้]สัญลักษณ์ของสถานี
[แก้]ใช้สีน้ำเงินตกแต่งบริเวณเสาสถานี ประตูกั้นชานชาลา ทางขึ้น–ลงสถานี และป้ายบอกทางต่าง ๆ ในสถานี เพื่อบ่งบอกว่าเป็นสถานีในเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนหลังคาใช้สีน้ำเงินเพื่อสื่อว่าเป็นสถานีเชื่อมต่อระบบ
รูปแบบของสถานี
[แก้]เป็นสถานีลอยฟ้า มีชานชาลาแบบข้าง ทางวิ่งยกระดับสูง 19 เมตร เพื่อให้วางอยู่เหนือสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส
ทางเข้า-ออกสถานี
[แก้]- 1 ซอยเพชรเกษม 36, มหาวิทยาลัยสยาม, ไปรษณีย์มหาวิทยาลัยสยาม, วัดประดู่บางจาก (ลิฟต์จากระดับถนนสู่ชั้นออกบัตรโดยสารโดยตรง)
- 2 ซอยเพชรเกษม 25/3, คอนโดมิเนียม ศุภาลัย ปาร์ค ราชพฤกษ์-เพชรเกษม (บันไดเลื่อนขึ้น)
- 3 สำนักงานคุมความประพฤติกรุงเทพมหานคร 3, ตลาดเสนีย์ (บันไดเลื่อนขึ้น)
- 4 คอนโดมิเนียม เดอะเพรสซิเดนท์ สาทร-ราชพฤกษ์ (ลิฟต์ของสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส และลิฟต์เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส)
- เชื่อมต่อกับ บางหว้า ที่ทางออก 3, 4
- มีบันไดเลื่อนทั้งขาขึ้นและขาลงให้บริการระหว่างชั้นเชื่อมต่อรถไฟฟ้าบีทีเอสและชั้นออกบัตรโดยสาร
การจัดพื้นที่ในตัวสถานี
[แก้]- 4 ชั้นชานชาลา (Platform level) ชานชาลา 1 มุ่งหน้าสถานีหลักสอง และชานชาลา 2 มุ่งหน้าสถานีเตาปูน
- 3 ชั้นออกบัตรโดยสาร เหรียญโดยสาร และห้องประชาสัมพันธ์ (Concourse level)
- 2 ชั้นเชื่อมต่อรถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS Connection level)
- 1 ชั้นระดับถนน (Ground level)
-
ทางออกหมายเลข 1 (ซอยเพชรเกษม 36) และหมายเลข 2 (ซอยเพชรเกษม 25/3)
-
ทางออกหมายเลข 3 และหมายเลข 4 (สถานีบางหว้า ของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม)
-
บริเวณชั้นเชื่อมต่อรถไฟฟ้าบีทีเอส ของฝั่งสถานีรถไฟฟ้ามหานคร
-
บริเวณทางเข้าสถานีบางหว้า ของรถไฟฟ้าบีทีเอส (มุมมองจากฝั่งสถานีรถไฟฟ้ามหานคร)
ลักษณะพิเศษของสถานี
[แก้]สถานีบางหว้าเป็นสถานีเชื่อมต่อที่สำคัญแห่งหนึ่งของฝั่งธนบุรี เนื่องจากเป็นการเชื่อมต่อระหว่างระบบ และฝั่งสถานีบางหว้าของรถไฟฟ้าบีทีเอสเป็นสถานีปลายทาง การก่อสร้างทั้งสองสถานีจึงต้องคำนึงถึงความสะดวกในการเข้า–ออกระบบมากเป็นพิเศษ ผู้รับเหมาก่อสร้างคือ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) จึงได้เสนอให้มีการปรับแบบของทั้งสถานีบางหว้าฝั่งบีทีเอสซึ่งมีผู้รับเหมาเป็นเจ้าเดียวกัน และออกแบบให้สถานีฝั่งรถไฟฟ้ามหานครให้เป็นสถานีที่ใช้โครงสร้างบางส่วนร่วมกัน
กล่าวคือโครงสร้างชั้นขายบัตรโดยสารของรถไฟฟ้าบีทีเอส จะเป็นการสร้างฐานชั้นลอยของสถานีฝั่งรถไฟฟ้ามหานครไปในตัว ในขณะที่ชั้นชานชาลาจะใช้วิธีการสร้างของฝั่งบีทีเอสและเร่งการวางรางให้ข้ามสถานีของฝั่งบีทีเอสให้แล้วเสร็จก่อนก่อสร้างชั้นขายบัตรโดยสารและชั้นชานชาลาของฝั่งรถไฟฟ้ามหานคร และได้ออกแบบให้ทางออกที่ 3, 4 ของสถานีฝั่งบีทีเอส เป็นทางเข้า–ออกที่ใช้งานร่วมกันด้วย ทำให้เกิดการหมุนเวียนของผู้โดยสารที่ดีและลดความซ้ำซ้อนในการตั้งทางเข้า–ออกโดยไม่จำเป็น
เวลาให้บริการ
[แก้]ปลายทาง | ขบวนรถ | ขบวนแรก | ขบวนสุดท้าย | |||
---|---|---|---|---|---|---|
สายสีลม[10] | ||||||
ชานชาลาที่ 4 | ||||||
W1 | สนามกีฬาแห่งชาติ | เต็มระยะ | 05.30 | 23.50 | ||
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสุขุมวิท | – | 23.35 | ||||
S7 | กรุงธนบุรี | รถเสริมบางหว้า–กรุงธนบุรี | – | 00.00 | ||
สายเฉลิมรัชมงคล[11] | ||||||
BL01 | ท่าพระ (ผ่านบางซื่อ) |
จันทร์–ศุกร์ | 05.39 | 23.16 | ||
เสาร์–อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ |
05.56 | 23.16 | ||||
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสีม่วง | – | 22.30 | ||||
BL38 | หลักสอง | จันทร์–ศุกร์ | 05.42 | 00.21 | ||
เสาร์–อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ |
05.55 | 00.21 |
จุดเชื่อมต่อการเดินทาง
[แก้]ถนนเพชรเกษม
[แก้]องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
[แก้]สายที่ | เขตการเดินรถที่ | จุดเริ่มต้น | จุดสิ้นสุด | ประเภทของรถที่ให้บริการ | ผู้ให้บริการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|---|
7ก | 6 (กปด.36) |
อู่บรมราชชนนี | ปากคลองตลาด | ขสมก. | รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง | |
80 | 6 (กปด.16) |
สน.หนองแขม | แยกคอกวัว | รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง | ให้บริการรถกะสว่าง | |
84ก | บ้านเอื้ออาทรศาลายา | วงเวียนใหญ่ | รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง | |||
91 | 6 (กปด.36) |
หมู่บ้านเศรษฐกิจ | สนามหลวง | รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) | ||
91ก | สนามหลวง 2 | สนามหลวง | รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง | |||
101 | 6 (กปด.26) |
อู่บรมราชชนนี | วัดยายร่ม | รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง | ||
165 | 6 (กปด.36) |
อู่บรมราชชนนี | สํานักงานเขตบางกอกใหญ่ | รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง | ||
189 | 6 (กปด.16) |
กระทุ่มแบน | สนามหลวง | รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง | ||
509 | 6 (กปด.26) |
อู่บรมราชชนนี | สถานีขนส่งผู้โดยสารจตุจักร (หมอชิต 2) | รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) |
ถนนราชพฤกษ์
[แก้]องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
[แก้]สายที่ | จุดเริ่มต้น | จุดสิ้นสุด | ประเภทของรถที่ให้บริการ | ผู้ให้บริการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
198 | สถานีขนส่งผู้โดยสารสายใต้เก่า (ปิ่นเกล้า) | BTS บางหว้า | 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) | ขสมก. | |
2-28 | ตลาดบางบัวทอง | สถานีรถไฟฟ้าสวนลุมพินี | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง | ||
208 | วงกลม: ตลิ่งชัน | อรุณอัมรินทร์ | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง | ||
210 | สะพานพระราม 4 | BTS บางหว้า |
- ถนนเพชรเกษม มุ่งหน้า บางแค รถขสมก. สาย 7ก 80 80ก 81 84 84ก 91 91ก 101 165 189 509 รถเอกชน สาย 7 147 547
- ถนนเพชรเกษม มุ่งหน้า ท่าพระ รถขสมก. สาย 7ก 80 80ก 81 84 84ก 91 91ก 101 165 189 509 รถเอกชน สาย 7 147 547
- ถนนราชพฤกษ์ รถขสมก. สาย 198 2-28 208 210 รถเอกชน สาย 89 สองแถว 1475 (ป้ายม่วง) แม็คโครจรัญสนิทวงศ์ - BTS บางหว้า[12]
สถานที่สำคัญใกล้เคียง
[แก้]- โรงพยาบาลพญาไท 3
- โรงพยาบาลบางไผ่
- วัดอ่างแก้ว
- โรงเรียนวัดประดู่บางจาก
- วัดประดู่บางจาก
- มหาวิทยาลัยสยาม
อ้างอิง
[แก้]- ↑ รถไฟฟ้าสายสีเขียว(บางหว้า-ตลิ่งชัน)ยกระดับคุณภาพชีวิตด้านการเดินทาง
- ↑ เปิดพิมพ์เขียวรถไฟฟ้าฉบับใหม่ ขยายเส้นทางเชื่อมปริมณฑล-อยุธยา-ฉะเชิงเทรา
- ↑ ดันรถไฟสายใหม่ ไจก้า หนุน บางนา-สุวรรณภูมิ 2หมื่นล.
- ↑ ไจก้าแนะลงทุนรถไฟสายใหม่เชื่อมสนามบินหลัก
- ↑ ทบทวนแผนสร้างรถไฟฟ้าใหม่ ขนส่งทางรางชง “ยึด” รถไฟสีเทา-เขียวจาก กทม.
- ↑ ก้อง (2023-11-23). "กทม.เล็งเสนอโอนโครงการรถไฟฟ้าให้ รฟม.เดินหน้าลงทุน".
- ↑ ฐานเศรษฐกิจ (2023-11-23). "คนกรุงฝันค้าง "กทม." จ่อโอนรถไฟฟ้า 3 สาย 1.5 แสนล้าน ดึงรฟม.บริหารต่อ". thansettakij.
- ↑ "กทม.เตรียมถกคมนาคม โอนลงทุนรถไฟฟ้ากว่า 1.5 แสนล้าน". bangkokbiznews. 2023-11-23.
- ↑ "เก็บ 15 บาทรอฟังคมนาคม กทม.คิดทำเองส่วนต่อ BTS บางหว้า-ตลิ่งชัน". www.thairath.co.th. 2023-12-02.
- ↑ "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้าบีทีเอส" (PDF). 2021-11-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-08-25.
- ↑ "รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ตารางเดินรถไฟฟ้า". www.mrta.co.th.
- ↑ สองแถวสาย 1475 ป้ายม่วง
สถานีของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม และส่วนต่อขยาย | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
สายตะวันตก (W) |
| ||||||||||
สายใต้ (S) |
|
- Articles using Infobox station with markup inside name
- Articles using Infobox station with markup inside type
- Articles using Infobox station with images inside type
- สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม
- สถานีรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล
- สิ่งก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2556
- สิ่งก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2561
- สถานีขนส่งผู้โดยสารในเขตภาษีเจริญ