ข้ามไปเนื้อหา

สถานีโชคชัย 4

พิกัด: 13°47′40″N 100°35′39″E / 13.79444°N 100.59417°E / 13.79444; 100.59417
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โชคชัย 4
YL03

Chok Chai 4
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนลาดพร้าว เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°47′40″N 100°35′39″E / 13.79444°N 100.59417°E / 13.79444; 100.59417
เจ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ผู้ให้บริการอีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล (อีบีเอ็ม)
สาย
ชานชาลา2 ชานชาลาด้านข้าง
ทางวิ่ง2
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีYL03
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ03 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 (1 ปี)[1]
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้ามหานคร สถานีต่อไป
ภาวนา
มุ่งหน้า ลาดพร้าว
สายนัคราพิพัฒน์ ลาดพร้าว 71
มุ่งหน้า สำโรง

สถานีโชคชัย 4 (อังกฤษ: Chok Chai 4 station; รหัส: YL03) เป็นสถานีรถไฟฟ้ามหานครแบบยกระดับในเส้นทางสายสีเหลือง โดยยกระดับเหนือถนนลาดพร้าวในพื้นที่เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร[2]

ที่ตั้ง

[แก้]

สถานีโชคชัย 4 ตั้งอยู่เหนือถนนลาดพร้าว บริเวณทางแยกโชคชัย 4 (จุดตัดกับถนนโชคชัย 4) ในพื้นที่แขวงสะพานสองและแขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร[3][4]

รายละเอียด

[แก้]

สีสัญลักษณ์

[แก้]

ใช้สีเหลืองตกแต่งสถานีเพื่อสื่อให้เห็นว่าเป็นสถานีของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง

รูปแบบ

[แก้]

เป็นสถานียกระดับ มีชานชาลาด้านข้าง ขนาดมาตรฐาน ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสารและชานชาลา มีประตูอัตโนมัติกั้นชานชาลาแบบครึ่งความสูง ในส่วนหลังคาชานชาลามีการออกแบบให้ป้องกันฝนสาดและแดดส่อง

ทางเข้า–ออก

[แก้]

ประกอบด้วยทางขึ้น–ลงปกติ ได้แก่[5]

  • 1 ทางแยกโชคชัย 4, ตลาดโชคชัย 4
  • 2 ซอยลาดพร้าว 55 (พุดกรอง)
  • 3 ซอยลาดพร้าว 58 (สุขสันต์ 1)
  • 4 ซอยลาดพร้าว 56 (ประสพสุข), สภาวิศวกร
  • 5 ถนนโชคชัย 4, สถานีตำรวจนครบาลโชคชัย, ตลาดสะพานสอง

แผนผัง

[แก้]
U3
ชานชาลา
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 1 สายสีเหลือง มุ่งหน้า สำโรง (ลาดพร้าว 71)
ชานชาลา 2 สายสีเหลือง มุ่งหน้า ลาดพร้าว (ภาวนา)
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1–5, ศูนย์บริการผู้โดยสาร
ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร
G
ระดับถนน
ป้ายรถประจำทาง, ถนนลาดพร้าว, โรงเรียนแสงทองเทคโนโลยี ลาดพร้าว, สถานีตำรวจนครบาลโชคชัย

สถานที่ใกล้เคียง

[แก้]

รถโดยสารประจำทาง

[แก้]
  • Handicapped/disabled access เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

[แก้]
สายที่ เขตการเดินรถที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
73 8 (กปด.38) รถโดยสารประจำทาง อู่สวนสยาม เรือข้ามฟาก สะพานพุทธ รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) ขสมก.
96 2 (กปด.12) รถโดยสารประจำทาง อู่มีนบุรี รถโดยสารประจำทาง สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง
137 8 (กปด.28) รัชดาภิเษก รามคำแหง รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) เส้นทางรถวิ่งเป็นวงกลม
137 รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง
145 Handicapped/disabled access 3 (กปด.33) รถโดยสารประจำทาง อู่แพรกษาบ่อดิน รถโดยสารประจำทาง สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)
145 รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง รถบริการตลอดคืน
145 รถโดยสารประจำทาง เมกาบางนา รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง
178 8 (กปด.38) สวนสยาม นวลจันทร์ รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง เส้นทางรถวิ่งเป็นวงกลม
191 เคหะคลองจั่น กระทรวงพาณิชย์
502 2 (กปด.12) รถโดยสารประจำทาง อู่มีนบุรี รถโดยสารประจำทาง อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีครีม–น้ำเงิน
514 Handicapped/disabled access สีลม รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)
514 รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

รถเอกชน

[แก้]
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
8 (2-38) Handicapped/disabled access แฮปปี้แลนด์ เรือข้ามฟาก สะพานพุทธ รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.ไทยสมายล์บัส
27 (1-37) Handicapped/disabled access มีนบุรี รถโดยสารประจำทาง อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
44 (2-42) Handicapped/disabled access เคหะคลองจั่น ท่าเตียน
126 (1-13) คลองตัน ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ รถโดยสารประจำทางสีส้ม (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.สมาร์ทบัส
(เครือไทยสมายล์บัส)
126 (1-13) Handicapped/disabled access รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า)
545 (2-26) Handicapped/disabled access เรือข้ามฟาก ท่าน้ำนนทบุรี พัฒนาการ รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า)
8 แฮปปี้แลนด์ เรือข้ามฟาก สะพานพุทธ 1. รถโดยสารประจำทางสีขาว–น้ำเงิน บจก.ทรัพย์ 888
บจก.กลุ่ม 39 เดินรถ
8 2. รถโดยสารประจำทางสีชมพู
27 มีนบุรี รถโดยสารประจำทาง อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ 1. รถโดยสารประจำทางสีขาว–น้ำเงิน บจก.สามัคคีบัส ส่วนใหญ่หมดระยะ
ที่เซ็นทรัล ลาดพร้าว
27 2. รถโดยสารประจำทางสีชมพู
92 คลองตัน รถโดยสารประจำทาง อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ รถโดยสารประจำทางสีขาว–น้ำเงิน บจก.ซัคเซสบัสเซอร์วิส
182 รามคำแหง รถโดยสารประจำทาง สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) 1. รถโดยสารประจำทางสีขาว–น้ำเงิน บจก.กระแสร์เงินยานยนต์ ส่วนใหญ่หมดระยะ
ที่เซ็นทรัล ลาดพร้าว
182 2. รถโดยสารประจำทางสีชมพู
  • รถสองแถวขนาดเล็ก (กระป๊อ) โชคชัย 4 – โลตัสวังหิน (ท่ารถอยู่ในศูนย์การค้าโชคชัย 4)
  • รถสองแถวขนาดเล็ก (กระป๊อ) โชคชัย 4 – เสนานิคม
  • รถสองแถวขนาดเล็ก (กระป๊อ) โชคชัย 4 – รวมโชค[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Limited, Bangkok Post Public Company. "Prayut tries out Bangkok's new monorail". Bangkok Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-06-19.
  2. "โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง". MRTA Official Website. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-16.
  3. "รฟม. ขยายเส้นทางเปิดทดสอบการเดินรถเสมือนจริง (Trial Run) รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง ตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน นี้ เป็นต้นไป จากสถานีภาวนา ถึง สถานีสำโรง ระหว่างเวลา 06.00 น. – 20.00 น." www.mrta.co.th. สืบค้นเมื่อ 2023-06-09.
  4. "รถไฟฟ้าสายสีเหลือง เตรียมขยายสถานีให้บริการ ตั้งแต่ภาวนา-สำโรง เริ่ม 12 มิ.ย.นี้".
  5. "อัพเดตความคืบหน้า รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ! 2566". The List.
  6. "โชคชัย 4 ทำเลดีๆ ที่มากกว่าแค่กิน". condotiddoi.com.