สถานีเพชรเกษม 48

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เพชรเกษม 48
BL35

Phetkasem 48
สถานีเพชรเกษม 48 ไปทางหลักสอง
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนเพชรเกษม เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°42′55.9″N 100°26′43.7″E / 13.715528°N 100.445472°E / 13.715528; 100.445472พิกัดภูมิศาสตร์: 13°42′55.9″N 100°26′43.7″E / 13.715528°N 100.445472°E / 13.715528; 100.445472
เจ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ผู้ให้บริการทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (บีอีเอ็ม)
สาย
ชานชาลา2 ชานชาลาด้านข้าง
ราง2
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีBL35
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ21 กันยายน พ.ศ. 2562; 4 ปีก่อน (2562-09-21)
ผู้โดยสาร
2564724,353
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้ามหานคร สถานีต่อไป
ภาษีเจริญ
มุ่งหน้า หลักสอง
สายสีน้ำเงิน บางหว้า
มุ่งหน้า ท่าพระ ผ่าน บางซื่อ
ที่ตั้ง
แผนที่

สถานีเพชรเกษม 48 (อังกฤษ: Phetkasem 48 station; รหัส: BL35) เป็นสถานีรถไฟฟ้าแบบยกระดับในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล โดยยกระดับเหนือถนนเพชรเกษมในย่านบางหว้าดั้งเดิมของเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร และมีศูนย์ซ่อมบำรุงย่อยตั้งอยู่บริเวณทิศตะวันออกเฉียงใต้ของสถานี[1]

ที่ตั้ง[แก้]

สถานีเพชรเกษม 48 ตั้งอยู่เหนือถนนเพชรเกษม บริเวณระหว่างซอยเพชรเกษม 31/1 กับซอยเพชรเกษม 46/2 ใกล้กับคลองบางหว้า ในพื้นที่แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร

รายละเอียด[แก้]

สัญลักษณ์[แก้]

ใช้สีน้ำเงินตกแต่งบริเวณเสาสถานี ประตูกั้นชานชาลา ทางขึ้น–ลงสถานี และป้ายบอกทางต่าง ๆ ในสถานี เพื่อบ่งบอกว่าเป็นสถานีในเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนหลังคาใช้สีเทาเพื่อสื่อว่าเป็นสถานีรายทาง

รูปแบบ[แก้]

เป็นสถานีลอยฟ้า มีชานชาลาแบบข้าง มีประตูกั้นชานชาลาแบบครึ่งความสูง

ทางเข้า–ออก[แก้]

  • 1 ซอยเพชรเกษม 46/2 (ลิฟต์)
  • 2 ถนนเพชรเกษม, โรงงานน้ำตาล นิวกว้างสุ้นหลี จำกัด (บันไดเลื่อน)
  • 3 ซอยเพชรเกษม 46/3, วัดจันทร์ประดิษฐาราม (ลิฟต์)
  • 4 ซอยเพชรเกษม 31/1 (บันไดเลื่อน)

การจัดพื้นที่[แก้]

แบ่งเป็น 2 ชั้น ประกอบด้วย

  • 2 ชั้นชานชาลา
  • 1 ชั้นออกบัตรโดยสาร

แผนผัง[แก้]

U3
ชานชาลา
ศูนย์ซ่อมบำรุงย่อยเพชรเกษม
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 2 สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า ท่าพระ (ผ่าน บางซื่อ)
ชานชาลา 1 สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า หลักสอง
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1–4, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า
G
ระดับถนน
ป้ายรถประจำทาง, วัดจันทร์ประดิษฐาราม

เวลาให้บริการ[แก้]

ปลายทาง วัน ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสีน้ำเงิน[2]
ชานชาลาที่ 1
BL38 หลักสอง จันทร์–ศุกร์ 05:44 00:23
เสาร์–อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ 05:57 00:23
ชานชาลาที่ 2
BL01 ท่าพระ
(ผ่านบางซื่อ)
จันทร์–ศุกร์ 05:36 23:14
เสาร์–อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ 06:02 23:14
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสีม่วง 22:28

ศูนย์ซ่อมบำรุง[แก้]

ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้ามีพื้นที่ประมาณ 79 ไร่ มีโครงสร้างทางวิ่งยกระดับสำหรับรถไฟฟ้าเข้า–ออกศูนย์ฯ บริเวณปลายสถานีทั้งด้านตะวันตก และด้านตะวันออกของสถานีนี้ ประกอบด้วยศูนย์ควบคุมการเดินรถ, กลุ่มอาคารซ่อมบำรุง, อาคารสำหรับพนักงานขับ และรางทดสอบ อยู่บริเวณรอยต่อพื้นที่แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ และแขวงบางขุนเทียน เขตจอมทอง [3]

สถานที่ใกล้เคียง[แก้]

รถโดยสารประจำทาง[แก้]

ป้ายรถเมล์ฝั่งขาออกเมือง
  • ถนนเพชรเกษม สาย 7 7ก 80 80ก 81 84 84ก 91 91ก 101 147 165 189 509 547
  • Handicapped/disabled access เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ[แก้]

สายที่ เขตการเดินรถที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
7ก 6 (กปด.36) รถโดยสารประจำทาง อู่บรมราชชนนี พาหุรัด รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง ขสมก.
80 6 (กปด.16) วัดศรีนวลธรรมวิมล สนามหลวง รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
80 สน.หนองแขม รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง รถบริการตลอดคืน
80ก หมู่บ้าน วปอ.11 สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง
84 อ้อมใหญ่ บีทีเอสกรุงธนบุรี รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง รถบริการตลอดคืน
84 วัดไร่ขิง รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
84ก 6 (กปด.26) บ้านเอื้ออาทรศาลายา วงเวียนใหญ่ รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง
91 6 (กปด.36) หมู่บ้านเศรษฐกิจ สนามหลวง รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
91ก สนามหลวง 2 (ตลาดธนบุรี) รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง
101 6 (กปด.26) รถโดยสารประจำทาง อู่บรมราชชนนี วัดยายร่ม รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง
165 6 (กปด.36) สำนักงานเขตบางกอกใหญ่
189 6 (กปด.16) กระทุ่มแบน (วัดบางยาง) สนามหลวง
509 6 (กปด.26) รถโดยสารประจำทาง อู่บรมราชชนนี รถโดยสารประจำทาง สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

รถเอกชน[แก้]

สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
7 (4-36) Handicapped/disabled access รถโดยสารประจำทาง อู่เอกชัย การขนส่งระบบราง สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.ต.มานิตย์ การเดินรถ
(เครือไทยสมายล์บัส)
81 (4-45) Handicapped/disabled access พุทธมณฑล สาย 5 สนามหลวง บจก.ไทยสมายล์บัส
84 (4-46) Handicapped/disabled access วัดไร่ขิง บีทีเอสกรุงธนบุรี
89 (4-47) Handicapped/disabled access รถโดยสารประจำทาง สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ตลิ่งชัน) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ บจก.สมาร์ทบัส
(เครือไทยสมายล์บัส)
146 (4-52) Handicapped/disabled access รถโดยสารประจำทาง สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ตลิ่งชัน) บางแค บจก.ไทยสมายล์บัส เส้นทางรถวิ่งเป็นวงกลม
147 (4-25) Handicapped/disabled access เคหะธนบุรี บจก.สมาร์ทบัส
(เครือไทยสมายล์บัส)
เส้นทางรถวิ่งเป็นวงกลม
165 (4-56) Handicapped/disabled access ศาลาธรรมสพน์ บีทีเอสกรุงธนบุรี บจก.ไทยสมายล์บัส
547 (4-63) Handicapped/disabled access บ้านเอื้ออาทรศาลายา ถนนตก รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.สมาร์ทบัส
(เครือไทยสมายล์บัส)
547 (4-63) รถโดยสารประจำทางสีส้ม (ใช้พลังงานไฟฟ้า)

อ้างอิง[แก้]

  1. "ใครสนใจทำการค้าฝั่งธนฯมาทางนี้!ราชพฤกษ์-จรัญฯ13" [Anyone interested in trading the Thonburi side, come here!Ratchaphruek-Charan 13]. REALIST. 2015-06-30. สืบค้นเมื่อ 2021-01-25.
  2. "รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ตารางเดินรถไฟฟ้า". www.mrta.co.th.
  3. การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย. "เอกสารการประชุมชี้แจงข้อมูล และรับฟังความคิดเห็น โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ", 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]