แขวงมหาพฤฒาราม
แขวงมหาพฤฒาราม | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Khwaeng Maha Phruettharam |
![]() พระอุโบสถวัดมหาพฤฒารามวรวิหาร | |
![]() แผนที่เขตบางรัก เน้นแขวงมหาพฤฒาราม | |
ประเทศ | ![]() |
เขตปกครองพิเศษ | กรุงเทพมหานคร |
เขต | บางรัก |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 0.889 ตร.กม. (0.343 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564)[2] | |
• ทั้งหมด | 10,244 คน |
• ความหนาแน่น | 11,523.06 คน/ตร.กม. (29,844.6 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10500 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 100401 |
![]() |
มหาพฤฒาราม เป็นหนึ่งในห้าแขวงของเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร
ประวัติ[แก้]
ชื่อแขวงนี้มาจากชื่อวัดมหาพฤฒารามวรวิหาร เป็นอารามเก่าที่ไม่ทราบต้นกำเนิดอย่างแน่ชัด เดิมมีชื่อว่า "วัดท่าเกวียน" ชื่อของวัดมาจากตำนานของพระเจ้าอู่ทอง พระมหากษัตริย์ในตำนานของสมัยอยุธยาซึ่งได้อพยพหนีจากโรคห่าซึ่งเป็นโรคระบาดในขณะนั้น พระองค์เสด็จด้วยเกวียนและจอดในบริเวณนี้ แต่มีผู้กล่าวว่าบริเวณนี้เป็นที่พักของผู้เดินทางมากับเกวียน
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามวัดว่า "วัดตะเคียน" และร่วมสร้างวัดใหม่กับเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ พระราชโอรสของพระองค์ (ต่อมาเป็นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) วัดนี้ได้รับการบูรณะและยกระดับเป็นพระอารามหลวง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปลี่ยนนามวัดเป็นวัดมหาพฤฒารามวรวิหาร
วัดนี้ถือเป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดและโดดเด่นที่สุดในพื้นที่นี้ จุดเด่นของวัดนี้คือผนังอุโบสถที่มีจิตรกรรมเกี่ยวกับหลักธุดงควัตร 13 ของพระพุทธศาสนา ในวิหารมีพระพุทธรูปปิดทอง มีความยาวจากพระบาทถึงพระเกตุมาลา 19.25 เมตร เป็นพระพุทธรูปที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 2 รองจากพระพุทธรูปที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารบนเกาะรัตนโกสินทร์[3]
อาณาเขตติดต่อ[แก้]
มหาพฤฒารามถือเป็นแขวงที่อยู่เหนือสุดของเขตบางรัก ล้อมรอบด้วยแขวง (ตามเข็มนาฬิกาจากบน) ดังนี้
- ทิศเหนือและทิศตะวันออก ติตต่อกับแขวงรองเมืองและแขวงวังใหม่ (เขตปทุมวัน) มีถนนพระรามที่ 4 เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติตต่อกับแขวงสี่พระยาและแขวงบางรัก (เขตบางรัก) มีถนนสี่พระยาและถนนเจริญกรุงเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติตต่อกับแขวงตลาดน้อย (เขตสัมพันธวงศ์) มีคลองผดุงกรุงเกษมเป็นเส้นแบ่งเขต[4]
ประชากร[แก้]
ใน พ.ศ. 2563 แขวงมหาพฤฒารามมีประชากร 10,527 คน (ชาย 4,805 คน หญิง 5,722 คน) และมีครัวเรือน 6,477 หลัง[5]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ กองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ. สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล. กรุงเทพมหานคร. "จำนวนประชากร พื้นที่ ความหนาแน่น จำนวนบ้าน จำแนกตามแขวง ในเขตกรุงเทพมหานคร 2563." สถิติกรุงเทพมหานครประจำปี 2563.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statyear/#/TableTemplate4/Area/statpop?yymm=64&ccDesc=กรุงเทพมหานคร&topic=statpop&ccNo=10&rcodeNo=1004&rcodeDesc=เขตบางรัก 2564. สืบค้น 18 เมษายน 2565.
- ↑ "รักษ์วัดรักษ์ไทย : ชมจิตรกรรมฝาผนังแปลกตา ณ วัดมหาพฤฒาราม" [Rak Wat Rak Thai : Admire unusual mural paintings at Wat Maha Phruettharam]. ASTV Manager. 2015-07-03. สืบค้นเมื่อ 2019-10-14.
- ↑ "เขตบางรัก" [Bang Rak District]. Bsa.or.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 2021-06-14.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อสถิติจำนวนประชากร
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°44′07.8″N 100°31′18.1″E / 13.735500°N 100.521694°E