สถานีราชปรารภ
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ราชปรารภ A7 OR10 Ratchaprarop | |||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |||||||||||||||||||||
ที่ตั้ง | เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร | ||||||||||||||||||||
พิกัด | 13°45′17″N 100°32′35″E / 13.7548°N 100.5430°E | ||||||||||||||||||||
เจ้าของ | การรถไฟแห่งประเทศไทย | ||||||||||||||||||||
ผู้ให้บริการ | เอเชีย เอรา วัน (AERA1) | ||||||||||||||||||||
สาย | |||||||||||||||||||||
ชานชาลา | 2 ชานชาลาด้านข้าง | ||||||||||||||||||||
ทางวิ่ง | 2 | ||||||||||||||||||||
โครงสร้าง | |||||||||||||||||||||
ประเภทโครงสร้าง | ยกระดับ | ||||||||||||||||||||
ข้อมูลอื่น | |||||||||||||||||||||
รหัสสถานี | A7 | ||||||||||||||||||||
ประวัติ | |||||||||||||||||||||
เริ่มเปิดให้บริการ | 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553 | ||||||||||||||||||||
การเชื่อมต่อ | |||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||
|
สถานีราชปรารภ (อังกฤษ: Ratchaprarop Station) เป็นสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์แบบยกระดับ ในเส้นทางสายซิตี้เชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ยกระดับเหนือเส้นทางรถไฟทางไกลสายตะวันออก บริเวณสามแยกนิคมมักกะสัน ที่จุดตัดถนนราชปรารภ แขวงมักกะสัน และแขวงถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร เป็นสถานีเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ในอนาคต
ที่ตั้ง
[แก้]อยู่บนแนวเส้นทางรถไฟทางไกลสายตะวันออก บริเวณจุดตัดถนนราชปรารภ คร่อมเหนือสามแยกนิคมมักกะสัน (จุดบรรจบถนนราชปรารภและถนนนิคมมักกะสันเลียบทางรถไฟ) ห่างจากสี่แยกมักกะสัน (จุดบรรจบถนนราชปรารภ ถนนศรีอยุธยาและถนนจตุรทิศ) มาทางทิศใต้ประมาณ 100 เมตร และห่างจากสี่แยกประตูน้ำ (จุดบรรจบถนนราชปรารภ ถนนเพชรบุรีและถนนราชดำริ) มาทางทิศเหนือประมาณ 600 เมตร ในพื้นที่แขวงมักกะสัน และแขวงถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร โดยสถานีข้างเคียงตามแนวเส้นทางได้แก่สถานีพญาไท อยู่ห่างประมาณ 800 เมตร และสถานีมักกะสัน (อโศก) ห่างประมาณ 1,700 เมตร
สำหรับที่ตั้งของสถานีราชปรารภ เดิมเป็นป้ายหยุดรถราชปรารภในเส้นทางรถไฟสายตะวันออก แต่ได้หยุดให้บริการชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2550 เพื่อใช้พื้นที่ก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าจนกว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จระหว่างนี้ผู้โดยสารรถไฟชานเมืองยังสามารถใช้บริการได้ที่สถานีรถไฟมักกะสันซึ่งอยู่ห่างออกไปเพียง 400 เมตรเท่านั้น
แผนผังสถานี
[แก้]P ชานชาลา | ||
ชานชาลา 1 | สายซิตี้ มุ่งหน้า สุวรรณภูมิ | |
ชานชาลา 2 | สายซิตี้ มุ่งหน้า พญาไท | |
C ชั้นขายบัตรโดยสาร |
ชั้นขายบัตรโดยสาร | ศูนย์บริการผู้โดยสาร ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า |
U2 |
- | ทางออก, ทางเดินเชื่อมไปยังชั้นขายบัตรโดยสาร |
G ระดับถนน |
- | ป้ายรถประจำทาง, ลานจอดรถยนต์ |
รูปแบบของสถานี
[แก้]เป็นแบบมีชานชาลาอยู่ 2 ข้าง (side platform station) ตัวสถานีมี 3 ชั้น ประกอบด้วยชั้นลอย ที่ปัจจุบันใช้ประโยชน์เป็นสะพานคนข้าม, ชั้นจำหน่ายตั๋ว และชานชาลาที่ชั้นบนสุด
ทางเข้า-ออก
[แก้]- 1 ถนนราชปรารภ ฝั่งมุ่งหน้าแยกสามเหลี่ยมดินแดง
- 2 ถนนราชปรารภ ฝั่งมุ่งหน้าแยกประตูน้ำ, ถนนนิคมมักกะสัน, โรงงานรถไฟมักกะสัน, ไอดีโอ เวิร์ฟ ราชปรารภ, กรมกิจการเด็กและเยาวชน, การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
เวลาให้บริการ
[แก้]ปลายทาง | วัน | ขบวนแรก | ขบวนสุดท้าย | |||
---|---|---|---|---|---|---|
สายซิตี้ | ||||||
ชานชาลาที่ 1 | ||||||
A1 | สุวรรณภูมิ | จันทร์ - ศุกร์ | 05:31 | 00:01 | ||
เสาร์ - อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ |
05:30 | 00:09 | ||||
ชานชาลาที่ 2 | ||||||
A8 | พญาไท | จันทร์ - ศุกร์ | 05:54 | 00:26 | ||
เสาร์ - อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ |
05:55 | 00:33 |
เหตุการณ์สำคัญ
[แก้]เกิดเหตุการณ์ที่ผู้ชุมนุมได้ทำการยิงระเบิด M79 จำนวนสองนัดใส่ตัวสถานีราชปรารภ ทำให้เกิดการระเบิดขึ้น ตัวสถานีได้รับความเสียหายตรงบริเวณโดมหลังคาของสถานีเป็นรู จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดข่าวลือว่ามีผู้ชุมนุมได้ขึ้นไปยิงระเบิด M79 อีก 1 นัดใส่ตัวรางรถไฟฟ้า ซึ่งการรถไฟฯ ได้ทำการตรวจสอบแล้วพบว่าไม่มีความเสียหายต่อตัวรางรถไฟฟ้า มีเพียงหลังคาที่เสียหายเท่านั้น
กลางดึกวันที่ 14 ล่วงเข้าเช้าวันที่ 15 พฤษภาคม 2553 เกิดเหตุรถตู้พยายามวิ่งฝ่าด่านตรวจค้นของทหารที่ใต้สถานีแอร์พอร์ตเรลลิงก์ก่อนข้ามทางรถไฟ ทำให้ทหารที่ประจำการบริเวณนั้นระดมยิงด้วยทั้งกระสุนยางและกระสุนจริงจนรถเสียหายและคนขับได้รับบาดเจ็บสาหัส และมีผู้ถูกลูกหลงเสียชีวิต 2 คน คือ นายพัน คำกองและเด็กชายคุณากร ศรีสุวรรณ ซึ่งทั้งคู่มีคำสั่งศาลชี้มูลการเสียชีวิตว่าเกิดจากการกระทำของทหาร[1]
รถโดยสารประจำทาง
[แก้]ถนนราชปรารภ มุ่งหน้า แยก สามเหลี่ยมดินแดง รถขสมก. สาย 13 24 54 62 63ทางด่วน 72 73(2-45) 73ก(2-46) 204 536 A3 รถเอกชน สาย 14 17 38 69 74 77 139 504 2-34 3-44 3-54
ถนนราชปรารภ มุ่งหน้า แยกประตูน้ำ รถขสมก. สาย 13 24 54 62 72 73(2-45) 73ก(2-46) 204 536 A3 รถเอกชน สาย 14 17 69 74 77 504 2-34 3-44 มินิบัส 11
สถานที่สำคัญใกล้เคียง
[แก้]ศูนย์การค้าและอาคารสำนักงาน
[แก้]- ตึกใบหยก 2 และใบหยก 1
- อาคารมหานครยิปซัม
- อินทราสแควร์
- ตลาดประตูน้ำ
- เดอะ พัลลาเดียม เวิลด์ ช็อปปิ้ง
- ประตูน้ำ ซิตี้ คอมเพล็กซ์
- แพลทินั่ม แฟชั่น มอลล์
- แม็คโคร โลตัสมอลล์ ถนนศรีอยุธยา
โรงแรม
[แก้]- โรงแรมอินทรา รีเจนท์
- โรงแรมออล ซีซันส์ กรุงเทพ สยาม
- โรงแรมอครา กรุงเทพ
- โรงแรมใบหยกสกาย กรุงเทพฯ, โรงแรมใบหยก สวีท กรุงเทพฯ และโรงแรมใบหยก บูติค
- โรงแรมอมารี วอเตอร์เกต
- โรงแรมอิสติน กรุงเทพ
- โรงแรมบางกอกพาเลซ
- โรงแรมรามาดาเดมา กรุงเทพ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ รวมรายชื่อผู้เสียชีวิตเมษา-พฤษภา 53 และความคืบหน้าทางคดี ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม กรณี เม.ย.-พ.ค.53 (ศปช.). สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2563.