สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดพระศรีมหาธาตุ
N17 PK16

Wat Phra Sri Mahathat
อาคารสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสด้านทิศเหนือ มองจากสะพานลอยไปสถานีตำรวจนครบาลบางเขน
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งวงเวียนอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°52′31″N 100°35′48″E / 13.8752°N 100.5967°E / 13.8752; 100.5967พิกัดภูมิศาสตร์: 13°52′31″N 100°35′48″E / 13.8752°N 100.5967°E / 13.8752; 100.5967
เจ้าของกรุงเทพมหานคร (สายสุขุมวิท)
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (สายสีชมพู)
ผู้ให้บริการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี; สายสุขุมวิท)
นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล (เอ็นบีเอ็ม; สายสีชมพู)
สาย     สายสุขุมวิท
     สายสีชมพู
ชานชาลาสายสุขุมวิท: 1 ชานชาลาเกาะกลาง
สายสีชมพู: 2 ชานชาลาด้านข้าง
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีสายสุขุมวิท: N17
สายสีชมพู: PK16
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ5 มิถุนายน พ.ศ. 2563; 3 ปีก่อน (2563-06-05)[1]
ชื่อเดิมอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ
วงเวียนหลักสี่
ผู้โดยสาร
25641,320,765
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีต่อไป
พหลโยธิน 59
มุ่งหน้า คูคต
สายสุขุมวิท กรมทหารราบที่ 11
มุ่งหน้า เคหะฯ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้ามหานคร สถานีต่อไป
ราชภัฏพระนคร สายสีชมพู รามอินทรา 3
มุ่งหน้า มีนบุรี

สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ (อังกฤษ: Wat Phra Sri Mahathat station; รหัส: N17 (สายสุขุมวิท), PK16 (สายสีชมพู)) เป็นสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟฟ้ามหานครแบบยกระดับในเส้นทางสายสุขุมวิทและสายสีชมพูในพื้นที่เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร สถานีของรถไฟฟ้าบีทีเอสวางตัวขนานกับอุโมงค์ลอดใต้วงเวียนอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญหรือวงเวียนหลักสี่ ขณะที่สถานีของรถไฟฟ้ามหานครวางตัวขนาบข้างสะพานข้ามทางแยกแนวถนนแจ้งวัฒนะ–ถนนรามอินทรา นับเป็นสถานีเปลี่ยนสายที่สำคัญในย่านกรุงเทพมหานครตอนเหนือ

สถานีแห่งนี้อยู่ใกล้กับสถานที่สำคัญหลายแห่ง ได้แก่ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร และสถานีตำรวจนครบาลบางเขน สถานีของส่วนสายสุขุมวิทเปิดใช้งานเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2563 โดยเคยเป็นสถานีสุดท้ายของการเปิดให้บริการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ ช่วงหมอชิต–คูคต ระยะที่ 3 จำนวน 4 สถานี[1] ขณะที่สถานีของสายสีชมพู เปิดใช้งานเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

ที่ตั้ง[แก้]

สถานีวัดพระศรีมหาธาตุตั้งอยู่บริเวณกลางวงเวียนอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ (จุดตัดระหว่างถนนพหลโยธิน ถนนแจ้งวัฒนะ และถนนรามอินทรา) ในพื้นที่แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร

ในแผนงานเดิมของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สถานะก่อนกรมการขนส่งทางราง) สถานีแห่งนี้ในสายสีชมพูใช้ชื่อว่า สถานีวงเวียนหลักสี่ ตามชื่อทางแยก และ สถานีอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ตามชื่ออนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญอันเป็นสัญลักษณ์ใหญ่ในพื้นที่ตั้ง แต่ในแผนการดำเนินการจริงของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยได้มีการขยับตำแหน่งของทั้งสถานีวัดพระศรีมหาธาตุแห่งนี้ จากตำแหน่งเดิมคือด้านหน้าวัดพระศรีมหาธาตุ และสถานีวงเวียนหลักสี่ของสายสีชมพูที่อยู่ด้านหน้ามหาวิทยาลัยเกริก ให้มาอยู่บริเวณกลางวงเวียนอนุสาวรีย์หลักสี่ และขยับตำแหน่งสถานีวงเวียนหลักสี่ของสายสุขุมวิท ให้ไปอยู่บริเวณด้านหน้าหมู่บ้านราชตฤณมัย เขตบางเขนแทน ทำให้ที่สุดแล้ว สถานีวงเวียนหลักสี่ในสายสีชมพู ใช้ชื่อสุดท้ายว่าสถานีวัดพระศรีมหาธาตุเหมือนกับสายสุขุมวิท ทั้งนี้สถานีวงเวียนหลักสี่ของสายสุขุมวิทในปัจจุบันคือสถานีพหลโยธิน 59

การสูญหายของอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ[แก้]

ในคราวก่อสร้างสถานีวัดพระศรีมหาธาตุได้มีการปรับตำแหน่งสถานีอยู่บ่อยครั้ง จนในที่สุดได้ข้อสรุปให้สถานีมาตั้งอยู่กลางวงเวียนหลักสี่ ซึ่งการย้ายตำแหน่งที่ตั้งสถานีทำให้ต้องมีการรื้อย้ายอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญจากตำแหน่งเดิมออกไป 45 องศาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เพื่อไม่ให้บดบังทัศนียภาพของฌาปณสถานกองทัพอากาศ แต่หลังจากที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยได้รื้อย้ายสำเร็จแล้วครั้งหนึ่ง ได้มี กลุ่มคนไม่ระบุหน่วยงาน เข้ามารื้อย้ายอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญออกไปจากพื้นที่ เพื่อเป็นการเตรียมพื้นที่ให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยและกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ดำเนินการเข้าพื้นที่เพื่อก่อสร้างสถานี การบังคับสูญหายของอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญทำให้กลุ่มการเมืองฝ่ายซ้ายมองว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการลบสัญลักษณ์ทางการเมือง และได้มีการเรียกร้องให้นำอนุสาวรีย์ฯ กลับมาตั้งที่เดิม[2] อนึ่งทั้งกรุงเทพมหานคร และรฟม. ได้ปฏิเสธว่าไม่ทราบเรื่องการย้ายอนุสาวรีย์ออกไปจากพื้นที่และหลักฐานการรื้อย้ายก็ไม่สามารถหาได้พบ ภายหลังได้มีการทุบฐานอนุสาวรีย์ทิ้งทั้งหมด[3]และปรับปรุงใหม่เป็นสวนหย่อมเพื่อเพิ่มทัศนียภาพ และอีกส่วนหนึ่งได้ปรับปรุงเป็นห้องเครื่องของสถานีรถไฟฟ้าซึ่งเป็นพื้นที่หวงห้ามของ รฟม. และบีทีเอสซี

รายละเอียด[แก้]

สีสัญลักษณ์[แก้]

สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท จะใช้สีเขียวเข้มตกแต่งรั้วและเสาชานชาลา ป้ายทางเข้าและทางขึ้นสถานี เพื่อบ่งบอกว่าเป็นสถานีฝั่งพหลโยธินเหนือ สถานีรถไฟฟ้าสายสีชมพู จะใช้สีชมพูตกแต่งสถานีเพื่อสื่อให้เห็นว่าเป็นสถานีของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู

รูปแบบ[แก้]

เป็นสถานียกระดับ วางคร่อมอยู่เหนือวงเวียนอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ และสะพานข้ามแยกอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ การก่อสร้างสถานีจึงต้องเว้นพื้นที่ชั้นขายบัตรโดยสารตรงกลางสถานีในลักษณะเดียวกันกับสถานีแยกนนทบุรี 1 ของรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม ตามความกว้างของสะพานข้ามแยกโดยรวมพื้นที่ของรางรถไฟฟ้าสายสีชมพูเข้าไปด้วย[4][5]

พื้นที่ชั้นขายบัตรโดยสารแบ่งออกเป็นสองส่วน และยังทำหน้าที่เป็นชั้นชานชาลาของรถไฟฟ้าสายสีชมพูซึ่งเป็นชานชาลาด้านข้างตามแนวของถนนรามอินทรา ส่วนชานชาลาของรถไฟฟ้าบีทีเอสจะอยู่ชั้นบนสุดที่ความสูง 17–18 เมตร เป็นชานชาลาแบบกลางตามแนวถนนพหลโยธิน

การจัดพื้นที่ในตัวสถานี[แก้]

แบ่งเป็น 3 ชั้น ประกอบด้วย

  • G ชั้นพื้นถนน และยังเป็นชั้นจำหน่ายบัตรโดยสารของรถไฟฟ้าสายสีชมพู
  • 2 ชั้นจำหน่ายบัตรโดยสารของทั้งรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท และรถไฟฟ้าสายสีชมพู รวมถึงยังเป็นชานชาลา สำหรับรถไฟฟ้าสายสีชมพู ในทิศทางตั้งฉากกันกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท ตามแนวของถนนรามอินทรา
  • 3 ชั้นชานชาลา สำหรับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท

ทางเข้า–ออก[แก้]

ประกอบด้วยทางขึ้น–ลงปกติและทางเดินใต้รางรถไฟฟ้า (สกายวอล์ก) โดยสถานีทั้งสองส่วนจะนับทางเข้า–ออกแยกจากกัน ดังนี้

สายสีเขียว[แก้]

  • 1 วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร, มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร, สำนักงานประปาสาขาบางเขน การประปานครหลวง, บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) สาขาหลักสี่ (ลิฟต์, บันไดเลื่อน)
  • 2 สำนักงานเขตบางเขน, สถาบันพัฒนาสุขภาวะเมือง, ห้องสมุดประชาชน เขตบางเขน, โรงเรียนประชาภิบาล (ลิฟต์, บันไดเลื่อน)
  • 3 ซอยแจ้งวัฒนะ 2, สถานธนานุเคราะห์ สาขา 15, ซิลค์เพลส พหลโยธิน–หลักสี่ (ลิฟต์, บันไดเลื่อน)
  • 4 สถานีตำรวจนครบาลบางเขน, สวนรักษ์ธรรมชาติ, ที่ทำการไปรษณีย์รามอินทรา (ลิฟต์, บันไดเลื่อน)
  • สกายวอล์กทิศเหนือ โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์, โลตัส สาขาหลักสี่, ซอยพหลโยธิน 57
  • สกายวอล์กทิศใต้ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร, ฌาปณสถานกองทัพอากาศ, ซอยพหลโยธิน 55, สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง, สถานีดับเพลิงบางเขน, การไฟฟ้านครหลวง เขตบางเขน (ลิฟต์, บันไดเลื่อน)

จุดรวมพลอยู่ที่ทางออก 2 บริเวณด้านหน้าสำนักงานเขตบางเขน และทางออก 4 บริเวณสวนรักษ์ธรรมชาติ

สายสีชมพู[แก้]

  • 1 สถานีตำรวจนครบาลบางเขน, สวนรักษ์ธรรมชาติ
  • 2 ที่ทำการไปรษณีย์รามอินทรา, มหาวิทยาลัยเกริก (ลิฟต์, บันไดเลื่อน)
  • 3 สำนักงานเขตบางเขน, สถาบันพัฒนาสุขภาวะเมือง, ห้องสมุดประชาชน เขตบางเขน, โรงเรียนประชาภิบาล (ลิฟต์, บันไดเลื่อน)

แผนผัง[แก้]

U3
ชานชาลา (สายสุขุมวิท)
ชานชาลา 1 สายสุขุมวิท มุ่งหน้า เคหะฯ (กรมทหารราบที่ 11)
ชานชาลา 1–2 ชานชาลาเกาะกลาง, สายสุขุมวิท ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา
ชานชาลา 2 สายสุขุมวิท มุ่งหน้า คูคต (พหลโยธิน 59)
U2
ชานชาลา (สายสีชมพู)
พื้นที่ขายบัตรโดยสาร
อาคารฝั่งเหนือ ทางออก 3–4 (สายสีเขียว), ทางออก 1–2 (สายสีชมพู), สกายวอล์กไปโลตัส สาขาหลักสี่, ศูนย์บริการผู้โดยสาร, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า
ชานชาลา 1 ชานชาลาด้านข้าง, สายสีชมพู ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 1 สายสีชมพู มุ่งหน้า มีนบุรี
สะพานข้ามแยกวงเวียนอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ
ชานชาลา 2 สายสีชมพู มุ่งหน้า ศูนย์ราชการนนทบุรี
ชานชาลา 2 ชานชาลาด้านข้าง, สายสีชมพู ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
อาคารฝั่งใต้ ทางออก 1–2 (สายสีเขียว), ทางออก 3 (สายสีชมพู), สกายวอลก์ไปฌาปณสถานกองทัพอากาศ, ศูนย์บริการผู้โดยสาร, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า
G
ระดับถนน
พื้นที่ขายบัตรโดยสาร ทางออก, ศูนย์บริการผู้โดยสาร, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า
ป้ายรถประจำทาง, วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร, สถานีตำรวจนครบาลบางเขน, ถนนแจ้งวัฒนะ, ถนนรามอินทรา, ถนนพหลโยธิน
จุดสังเกต
  • ชั้น U3 จะเป็นพื้นที่ของสายสุขุมวิททั้งหมด
  • ชั้น U2 จะเป็นพื้นที่ร่วมของทั้งสายสุขุมวิทและสายสีชมพู โดยที่
    • พื้นที่สถานีสายสุขุมวิท ฝั่งสถานีตำรวจนครบาลบางเขน (มุ่งหน้าไปสถานีพหลโยธิน 59) จะเป็นทั้งสถานีและชานชาลาสายสีชมพู มุ่งหน้าไปสถานีรามอินทรา 3
    • พื้นที่สถานีสายสุขุมวิท ฝั่งสำนักงานเขตบางเขน (มุ่งหน้าไปสถานีกรมทหารราบที่ 11) จะเป็นทั้งสถานีและชานชาลาสายสีชมพู มุ่งหน้าไปสถานีราชภัฏพระนคร

เวลาให้บริการ[แก้]

ปลายทาง เชื่อมต่อ ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสุขุมวิท[6]
ชานชาลาที่ 1
E23 เคหะฯ เต็มระยะ 05.28 23.28
E15 สำโรง 23.43
N9 ห้าแยกลาดพร้าว 00.13
ชานชาลาที่ 2
N24 คูคต เต็มระยะ 05.28 00.33
สายสีชมพู[7][8]
ชานชาลาที่ 1
PK30 มีนบุรี เต็มระยะ 05.35 00.36
ชานชาลาที่ 2
PK01 ศูนย์ราชการนนทบุรี เต็มระยะ 05.42 00.32
PK01 สายสีม่วง (คลองบางไผ่) 23.02
PK01 สายสีม่วง (เตาปูน) 22.32
PK14 สายสีแดงเข้ม 23.52

สถานที่ใกล้เคียง[แก้]

รถโดยสารประจำทาง[แก้]

ป้ายฝั่งสถานีตำรวจนครบาลบางเขน[แก้]

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ[แก้]

  • Handicapped/disabled access เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
26 (1-36) (1) รถโดยสารประจำทาง อู่มีนบุรี อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)

ขสมก.
95 (1) รถโดยสารประจำทาง อู่บางเขน รถโดยสารประจำทาง บางกะปิ 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง
รถโดยสารประจำทาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง
95ก. (3) รถโดยสารประจำทาง อู่รังสิต บางกะปิ 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม–แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

520 (1) รถโดยสารประจำทาง อู่มีนบุรี ตลาดไท 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) มีรถให้บริการน้อย

ถนนพหลโยธิน[แก้]

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ[แก้]

  • Handicapped/disabled access เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์
สายที่ เขตการเดินรถที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
26 (1-36) (1) รถโดยสารประจำทาง อู่มีนบุรี อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)

ขสมก.
34 (3) รถโดยสารประจำทาง อู่รังสิต สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
39 (2) รถโดยสารประจำทาง อู่ธรรมศาสตร์รังสิต อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
59 (1-8) (3) รถโดยสารประจำทาง อู่รังสิต สนามหลวง 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

สวนหลวงพระราม 8
107 (1) รถโดยสารประจำทาง อู่บางเขน รถโดยสารประจำทาง อู่คลองเตย 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) 2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีครีม–น้ำเงิน

114 (1) รถโดยสารประจำทาง อู่บางเขน/แยกลำลูกกา ท่านํ้านนทบุรี 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

แยกลำลูกกา เอ็มอาร์ทีสะพานพระนั่งเกล้า
129 (1-14E) (1) รถโดยสารประจำทาง อู่บางเขน สำโรง 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

185 (3) รถโดยสารประจำทาง อู่รังสิต รถโดยสารประจำทาง อู่คลองเตย 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
503 (3) รถโดยสารประจำทาง อู่รังสิต สนามหลวง 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
522 (1-22E) (3) รถโดยสารประจำทาง อู่รังสิต อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)

543 (1) รถโดยสารประจำทาง อู่บางเขน ตลาดใหญ่ลำลูกกา คลอง 7 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีครีม-น้ำเงิน

กรมการปกครอง คลอง 9 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีครีม-น้ำเงิน

รถเอกชน[แก้]

สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
29 (1-1) Handicapped/disabled access บางเขน สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.สมาร์ทบัส
34 (1-3) Handicapped/disabled access รังสิต บางเขน บจก.ไทยสมายล์บัส
39 (1-4) Handicapped/disabled access มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต บางเขน
39 (1-5) Handicapped/disabled access รังสิต อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
51 (2-8) Handicapped/disabled access วัดปรางค์หลวง บางเขน บจก.สมารท์บัส
51 (2-8) 1.รถโดยสารประจำทางสีส้ม (ใช้พลังงานไฟฟ้า)

126 Handicapped/disabled access

ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 คลองตัน 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า)
524 (1-23) Handicapped/disabled access หลักสี่ สถานีขนส่งผู้โดยสารสายใต้ใหม่ (ตลิ่งชัน)
1-32E Handicapped/disabled access บางเขน ตลาดพลู บจก.ไทยสมายล์บัส
1-33 Handicapped/disabled access สถานีบางซื่อ บางเขน

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "บีทีเอส" เตรียมเปิดให้บริการถึง "สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ" มิ.ย.นี้
  2. "สัญลักษณ์ประชาธิปไตยล่องหน จากหมุดคณะราษฎรสู่อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ". บีบีซีไทย. 2018-12-31. สืบค้นเมื่อ 2020-05-17.
  3. "ฐานอนุสาวรีย์ปราบกบฏบวรเดช ถูกทุบแล้ว หลังตัวอนุสาวรีย์หายไปปีกว่า". ประชาไท. 2020-02-23. สืบค้นเมื่อ 2020-05-17.
  4. "รายงานการเปลี่ยนแปลงรายละเอียด โครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครส่วนต่อขยายพหลโยธิน (หมอชิต–สะพานใหม่–ลำลูกกา) ของกรุงเทพมหานคร เฉพาะช่วงสะพานใหม่–ลำลูกกา (ปัจจุบัน รฟม. เป็นผู้ดำเนินการ) กรณียกเลิกการติดตั้งแผงบังสายตาบริเวณพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ". บทที่ 1 บทนำ. โครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครส่วนต่อขยายพหลโยธิน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2019-02-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-06-05. สืบค้นเมื่อ 2020-04-22.
  5. "โครงการระบบขนส่งมวลชนสายสีชมพู". รายงานฉบับหลัก. โครงการระบบขนส่งมวลชนสายสีชมพู. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2011-08-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-06-05. สืบค้นเมื่อ 2020-04-22.
  6. "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้าบีทีเอส" (PDF). 2021-11-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-08-25.
  7. "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู". 2023-12-28.
  8. "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพูขบวนสุดท้าย - ข่าวรถไฟ". 2023-12-28.