ข้ามไปเนื้อหา

สถานีเมืองทองธานี

พิกัด: 13°53′50″N 100°32′54″E / 13.89722°N 100.54833°E / 13.89722; 100.54833
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เมืองทองธานี
PK10

Muang Thong Thani
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนแจ้งวัฒนะ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
พิกัด13°53′50″N 100°32′54″E / 13.89722°N 100.54833°E / 13.89722; 100.54833
เจ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ผู้ให้บริการนอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล (เอ็นบีเอ็ม)
สาย
ชานชาลา3 ชานชาลาด้านข้างผสมเกาะกลาง
ทางวิ่ง3
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีPK10
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ7 มกราคม พ.ศ. 2567; 10 เดือนก่อน (2567-01-07)
ชื่อเดิมศรีรัช
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้ามหานคร สถานีต่อไป
ศรีรัช สายสีชมพู แจ้งวัฒนะ 14
มุ่งหน้า มีนบุรี
อิมแพ็ค เมืองทองธานี สายสีชมพู
สายแยก
สถานีปลายทาง
ที่ตั้ง
แผนที่

สถานีเมืองทองธานี (อังกฤษ: Muang Thong Thani station; รหัส: PK10) เป็นสถานีรถไฟฟ้ามหานครแบบยกระดับในเส้นทางสายสีชมพู โดยยกระดับเหนือถนนแจ้งวัฒนะในพื้นที่อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เป็นสถานีสุดท้ายของสายสีชมพูที่อยู่ในเขตการปกครองของจังหวัดนนทบุรี และเป็นสถานีแรกของประเทศไทยที่เป็นสถานีรถไฟฟ้าชุมทางที่ให้บริการร่วมกันระหว่างสายหลักกับสายสาขา

ที่ตั้ง

[แก้]

สถานีเมืองทองธานีตั้งอยู่เหนือถนนแจ้งวัฒนะ ทางทิศตะวันออกของทางแยกต่างระดับแจ้งวัฒนะ (จุดตัดระหว่างถนนแจ้งวัฒนะ ทางพิเศษศรีรัช และทางพิเศษอุดรรัถยา) ทางทิศตะวันออกของคลองเกลือ และด้านหน้าสำนักเครื่องกลและสื่อสาร กรมทางหลวง ในพื้นที่หมู่ที่ 1 บ้านคลองเกลือ ตำบลคลองเกลือ และหมู่ที่ 8 บ้านคลองเกลือ ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

เดิมสถานีแห่งนี้ใช้ชื่อว่า "สถานีศรีรัช" เพื่อสื่อถึงที่ตั้ง (กล่าวคือ ใกล้กับทางพิเศษศรีรัช) แต่เนื่องจากเอ็นบีเอ็มได้เสนอให้มีการก่อสร้างสายแยกศรีรัช–เมืองทองธานี เพื่อนำรถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู เข้าสู่พื้นที่ใจกลางเมืองทองธานีอันเป็นที่ตั้งของอิมแพ็ค เมืองทองธานี จึงทำให้สถานีแห่งนี้กลายเป็นสถานีชุมทางระหว่างสายหลักกับสายแยก แต่การใช้ชื่อสถานีศรีรัชอาจทำให้เกิดความสับสนกับสถานี PK09 ซึ่งในขณะนั้นใช้ชื่อว่า "สถานีเมืองทองธานี" เอ็นบีเอ็มจึงเสนอให้มีการสลับชื่อสถานีระหว่างสถานีแห่งนี้กับสถานี PK09 เพื่อป้องกันความสับสนของผู้โดยสารที่จะมาใช้บริการสายแยกที่สถานีแห่งนี้

รายละเอียด

[แก้]

สีสัญลักษณ์

[แก้]

ใช้สีชมพูตกแต่งสถานีเพื่อสื่อให้เห็นว่าเป็นสถานีของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู

รูปแบบ

[แก้]

เป็นสถานียกระดับ มีชานชาลาด้านข้าง ขนาดมาตรฐาน ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสารและชั้นชานชาลา มีประตูอัตโนมัติกั้นชานชาลาแบบครึ่งความสูง ในส่วนหลังคาชานชาลามีการออกแบบให้ป้องกันฝนสาดและแดดส่อง

ทางเข้า–ออก

[แก้]

ประกอบด้วยทางขึ้น–ลงปกติ ได้แก่

  • 1 สำนักเครื่องกลและสื่อสาร กรมทางหลวง
  • 2 ซอยแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 43 (เข้าหมู่บ้านสหกรณ์การบินไทย)
  • 3 แม็คโคร แจ้งวัฒนะ
  • 4 ถนนแจ้งวัฒนะขาเข้า (มุ่งหน้าทางแยกปากเกร็ด)

แผนผัง

[แก้]
U3
ชานชาลา
ชานชาลา 3
(ยังไม่เปิดใช้งาน)
(ป้ายหน้ารถ: ทะเลสาบเมืองทองธานี) สายสีชมพู มุ่งหน้า ทะเลสาบเมืองทองธานี (อิมแพ็ค เมืองทองธานี)
(ป้ายหน้ารถ: มีนบุรี) สายสีชมพู มุ่งหน้า มีนบุรี (แจ้งวัฒนะ 14)
ชานชาลาเกาะกลาง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย/ขวา
ชานชาลา 1 สายสีชมพู มุ่งหน้า มีนบุรี
ชานชาลา 2 สายสีชมพู มุ่งหน้า ศูนย์ราชการนนทบุรี
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1–4, ศูนย์บริการผู้โดยสาร, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า
G
ระดับถนน
ป้ายรถประจำทาง, ถนนแจ้งวัฒนะ, สำนักเครื่องกลและสื่อสาร กรมทางหลวง, แม็คโคร แจ้งวัฒนะ, นิว โนเบิล แจ้งวัฒนะ

เนื่องจากเป็นสถานีปลายทางสำหรับสายแยกเมืองทองธานี ขบวนรถที่มาจากสถานีอิมแพ็ค เมืองทองธานี จะสิ้นสุดการให้บริการที่ชานชาลาที่ 3 จากนั้นผู้โดยสารที่มาจากสถานีรายทางจะต้องลงจากขบวนรถทั้งหมด และผู้โดยสารที่ต้องการไปยังสถานีทะเลสาบเมืองทองธานีจะใช้ชานชาลาร่วมกับผู้โดยสารที่เดินทางมาจากสถานีรายทาง โดยผู้โดยสารที่ต้องการไปยังสถานีอื่น ๆ จะต้องรอจนกว่าผู้โดยสารที่มาจากสถานีรายทางออกจากขบวนรถทั้งหมด และรอให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบสภาพรถไฟฟ้าให้เรียบร้อยเสียก่อน จากนั้นขบวนรถไฟฟ้าจึงจะออกจากสถานีเข้าสู่สถานีอิมแพ็ค เมืองทองธานี ต่อไป

กรณีผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางกลับสู่สายหลักไปยังสถานีมีนบุรี สามารถรอขบวนรถที่ชานชาลา 1 ฝั่งตรงข้ามได้ทันที หรือไปยังสถานีศูนย์ราชการนนทบุรี สามารถเดินข้ามชานชาลาได้โดยการกลับลงมาที่ชั้นจำหน่ายบัตรโดยสาร และขึ้นบันไดไปยังชานชาลาที่ 2 ฝั่งตรงข้ามได้เช่นกัน

ในบางครั้ง เอ็นบีเอ็มอาจมีการจัดการเดินรถต่อเนื่องจากสถานีทะเลสาบเมืองทองธานีไปยังสถานีปลายทางมีนบุรี หากผู้โดยสารที่มากับขบวนรถนี้ต้องการเดินทางต่อไปยังสถานีมีนบุรี ก็สามารถโดยสารต่อได้ทันทีโดยไม่ต้องเปลี่ยนขบวนรถ แต่ผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางไปยังสถานีปลายทางศูนย์ราชการนนทบุรี จำเป็นต้องลงจากขบวนรถเพื่อเปลี่ยนไปยังชานชาลาที่ 2 ฝั่งตรงข้าม

เวลาให้บริการ

[แก้]
ปลายทาง เชื่อมต่อ ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสีชมพู[1][2]
ชานชาลาที่ 1
PK30 มีนบุรี เต็มระยะ 05.41 00.24
PK14 สายสีแดงเข้ม 23.54
PK16 สายสุขุมวิท (คูคต) 00.14
PK16 สายสุขุมวิท (เคหะฯ) 23.04
ชานชาลาที่ 2
PK01 ศูนย์ราชการนนทบุรี เต็มระยะ 05.35 00.44
PK01 สายสีม่วง (คลองบางไผ่) 23.14
PK01 สายสีม่วง (เตาปูน) 22.44


สถานที่ใกล้เคียง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู". 2023-12-28.
  2. "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพูขบวนสุดท้าย - ข่าวรถไฟ". 2023-12-28.