สถานีเพชรบุรี (รถไฟฟ้ามหานคร)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เพชรบุรี
Phetchaburi
MRT (Bangkok) logo.svg ARLbangkok.svg
Phetchaburi MRT Station platform level.jpg
ชานชาลาสถานีเพชรบุรี
ข้อมูลทั่วไป
เจ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ผู้ให้บริการบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
สาย สายเฉลิมรัชมงคล 
 สายซิตี้ 
การเชื่อมต่อรถโดยสารประจำทาง
รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
เรือโดยสารคลองแสนแสบ
รถไฟฟ้าสายสีฟ้า (โครงการ)
ถนนรัชดาภิเษก (อโศก-ดินแดง)
เขต/อำเภอเขตราชเทวี
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างใต้ดิน
รูปแบบชานชาลาเกาะกลาง
จำนวนชานชาลา2
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีMRT BL21.svg
ทางออก4
บันไดเลื่อน16
ลิฟต์6
เวลาให้บริการ06.00 - 24.00น.
ประวัติ
เปิดให้บริการ3 กรกฎาคม 2547
ที่ตั้ง
Map
แผนที่จากเว็บไซต์บีอีเอ็ม

สถานีเพชรบุรี (อังกฤษ: Phetchaburi Station, รหัส BL21) เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่ถนนอโศก-ดินแดง กรุงเทพมหานคร บริเวณสี่แยกอโศก-เพชรบุรี เป็นสถานีเชื่อมต่อรถไฟฟ้าเชื่อมต่อท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ที่ สถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง หรือสถานีมักกะสัน (อโศก)

ที่ตั้ง[แก้]

ถนนรัชดาภิเษก (อโศก-ดินแดง) บริเวณทิศเหนือของสี่แยกอโศก-เพชรบุรี จุดบรรจบถนนรัชดาภิเษก (อโศก-ดินแดง), ถนนอโศกมนตรี และ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ด้านทิศใต้ของจุดตัดทางรถไฟสายตะวันออกและรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในพื้นที่แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี และแขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร

แผนผังสถานี[แก้]

2
ทางเชื่อมยกระดับ
- Skywalk เชื่อมต่อ  สายซิตี้  สถานีมักกะสัน
G
ระดับถนน
- มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,ป้ายรถประจำทาง, โรงเรียนดอนบอสโก
โรงเรียนเซนต์ดอมินิก, ท่าอโศก, ที่หยุดรถอโศก, สิงห์คอมเพล็กซ์
B1
ทางเดินลอดถนน
ทางเดินลอดถนน ทางออก 1-4, เมโทรมอลล์, กูร์เมต์ มาร์เก็ต สาขา MRT เพชรบุรี
B2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร
B3
ชานชาลา
ชานชาลา 2  สายเฉลิมรัชมงคล  มุ่งหน้า สถานีท่าพระ (ผ่าน สถานีบางซื่อ)
ชานชาลาเกาะกลาง, ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา
ชานชาลา 1  สายเฉลิมรัชมงคล  มุ่งหน้า สถานีหลักสอง

รายละเอียดสถานี[แก้]

สัญลักษณ์ของสถานี[แก้]

"คลื่นน้ำ" สัญลักษณ์ของสถานี

ใช้สัญลักษณ์รูปคลื่นน้ำ สื่อถึงคลองแสนแสบ โดยใช้สีฟ้าที่หมายถึงแม่น้ำ, น้ำ, คลอง[1]

รูปแบบของสถานี[แก้]

เป็นสถานีใต้ดิน กว้าง 23 เมตร ยาว 200 เมตร ระดับชานชาลาอยู่ลึก 20 เมตรจากผิวดิน เป็นชานชาลาแบบเกาะกลาง (Station with Central Platform)

ทางเข้า-ออกสถานี[แก้]

ทางเข้า-ออกที่ 1 เชื่อมต่อกับสถานีมักกะสัน

การจัดพื้นที่ในตัวสถานี[แก้]

ชั้นออกบัตรโดยสาร

แบ่งเป็น 2 ชั้นบนดิน และ 3 ชั้นใต้ดิน ประกอบด้วย

สิ่งอำนวยความสะดวก[แก้]

  • ลิฟท์สำหรับผู้พิการ ที่ทางเข้า-ออกทั้ง 3 จุด
  • พื้นที่จอดรถบริเวณทางเข้า-ออกที่ 1 ใกล้ทางรถไฟสายตะวันออก สามารถจอดรถได้ 58 คัน

ศูนย์การค้าภายในสถานี[แก้]

ภายในสถานีเพชรบุรี ได้จัดให้มีส่วนร้านค้าหรือ เมโทรมอลล์ โดยกลุ่มเดอะมอลล์ได้ดำเนินการเช่าพื้นที่ทั้งชั้นจาก บริษัท บางกอกเมโทรเน็ตเวิร์ค จำกัด เพื่อเปิดสาขาของกูร์เมต์ มาร์เก็ต ที่สถานีแห่งนี้ โดยเปิดในรูปแบบของซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดเล็ก เน้นสินค้าบริโภคประเภท Grab and Go เป็นหลัก โดยเปิดส่วนแรกเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ประกอบด้วยร้านสตาร์บัค สาขาแรกในระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน และร้านลอว์สัน 108 และจะเปิด กรูเมต์ ทู โก ซึ่งเป็นซุปเปอร์มาร์เก็ตของ Gourmet market เป็นสาขาแรก ในวันพฤหัสบดีที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

เวลาให้บริการ[แก้]

ปลายทาง วัน ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายเฉลิมรัชมงคล
ชานชาลาที่ 1
BL38 หลักสอง จันทร์ - ศุกร์ 05:58 23:54
เสาร์ - อาทิตย์
นักขัตฤกษ์
05:57 23:54
ชานชาลาที่ 2
BL01 ท่าพระ
(ผ่านบางซื่อ)
จันทร์ - ศุกร์ 05:53 23:44
เสาร์ - อาทิตย์
นักขัตฤกษ์
06:04 23:44
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสีม่วง - 22:58

จุดเชื่อมต่อการเดินทาง[แก้]

รถโดยสารประจำทาง[แก้]

  • ถนนอโศก-ดินแดง สาย 98 136 185 206
  • ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ด้านคลองตัน สาย 11 23 60 72 93 113 206
  • ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ด้านประตูน้ำ สาย 11 23 38 60 72 93 113
  • ถนนอโศกมนตรี หน้า มศว ประสานมิตร สาย 38 98 136 185

สถานที่สำคัญใกล้เคียง[แก้]

แผนผังบริเวณสถานี

ศูนย์การค้าและโรงแรม[แก้]

อาคารสำนักงาน[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. จุดเริ่มต้นของคนเดินทาง: ดำดินเดินทาง. คอลัมน์นายรอบรู้ นิตยสารสารคดี เดือนตุลาคม 2548

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°44′57″N 100°33′48″E / 13.749139°N 100.563389°E / 13.749139; 100.563389

สถานีใกล้เคียง[แก้]

สถานีก่อนหน้า ขบวนรถไฟ สถานีต่อไป
สถานีพระราม 9
มุ่งหน้า สถานีท่าพระ
(ผ่านบางซื่อ)
   สายเฉลิมรัชมงคล    สถานีสุขุมวิท
มุ่งหน้า สถานีหลักสอง
สถานีราชปรารภ
มุ่งหน้า สถานีพญาไท
   สายซิตี้ 
(การรถไฟแห่งประเทศไทย)
เชื่อมต่อที่ สถานีมักกะสัน
  สถานีรามคำแหง
มุ่งหน้า สถานีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ท่าก่อนหน้า เส้นทางเดินเรือ ท่าต่อไป
ท่า มศว ประสานมิตร
ปลายทาง ท่าวัดศรีบุญเรือง
  เรือโดยสารคลองแสนแสบ
ท่าอโศก
  ท่านานาชาติ
ปลายทาง ท่าผ่านฟ้าลีลาศ