สถานีพหลโยธิน (รถไฟฟ้ามหานคร)
พหลโยธิน Phahon Yothin | |
---|---|
![]() | |
![]() ชานชาลาสถานีพหลโยธิน | |
ข้อมูลทั่วไป | |
เจ้าของ | การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย |
ผู้ให้บริการ | บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) |
สาย | สายเฉลิมรัชมงคล สายสุขุมวิท |
การเชื่อมต่อ | รถโดยสารประจำทาง รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท ส่วนต่อขยาย |
ถนน | ลาดพร้าว |
เขต/อำเภอ | เขตจตุจักร |
โครงสร้าง | |
ประเภทโครงสร้าง | ใต้ดิน |
รูปแบบชานชาลา | เกาะกลาง |
จำนวนชานชาลา | 2 |
ข้อมูลอื่น | |
รหัสสถานี | ![]() |
ทางออก | 5 |
บันไดเลื่อน | 20 |
ลิฟต์ | 4 |
เวลาให้บริการ | 06.00 - 24.00 น. |
ประวัติ | |
เปิดให้บริการ | 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 |
ที่ตั้ง | |
![]() |
สถานีพหลโยธิน (อังกฤษ: Phahon Yothin Station, รหัส BL14) เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่ถนนลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร บริเวณห้าแยกลาดพร้าว
ที่ตั้ง[แก้]
บริเวณห้าแยกลาดพร้าว (ปากทางลาดพร้าว) จุดบรรจบถนนลาดพร้าว, ถนนพหลโยธิน และถนนวิภาวดีรังสิต ในพื้นที่แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
ที่ตั้งของสถานีพหลโยธิน เป็นพื้นที่ต่อเนื่องกันกับย่านพหลโยธินของการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งมีพื้นที่กว้างขวางตั้งแต่บริเวณบางซื่อจนถึงจตุจักร มีการประกอบธุรกิจหลากหลายรูปแบบ และเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ เพราะเป็นที่ตั้งของ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) หรือหมอชิต 2 และสถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ ที่อยู่ไม่ไกลจากสถานีพหลโยธิน ดังนั้นสถานีพหลโยธินจึงเป็นสถานีหนึ่งที่มีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทยในอนาคต
สำหรับบริเวณห้าแยกลาดพร้าวซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีพหลโยธิน ก็เป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางที่สำคัญของกรุงเทพมหานครตอนเหนือ ในย่านถนนลาดพร้าว พหลโยธิน วิภาวดีรังสิต และรัชดาภิเษก (บริเวณแยกรัชโยธิน-รัชวิภา) โดยเป็นที่ตั้งอาคารสำนักงาน อาคารที่พักอาศัยอย่างหนาแน่น และมีสถานศึกษาที่สำคัญหลายแห่ง รวมทั้งมีศูนย์การค้าอยู่รายรอบ ประกอบด้วยศูนย์การค้าใหญ่หลายแห่ง เช่นเซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว, ยูเนี่ยน มอลล์, เทสโก้ โลตัส และแหล่งค้าปลีกผู้ค้ารายย่อย เช่นตลาดนัดหลังการบินไทย ซึ่งในย่านดังกล่าวยังไม่มีระบบรถไฟฟ้าเข้าไปถึง แต่ในต้นปี 2559 รฟม. ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าบีทีเอสส่วนต่อขยาย (หมอชิต - สะพานใหม่ - คูคต) ซึ่งการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเป็นผู้รับผิดชอบทั้งโครงการ จึงทำให้สถานีพหลโยธินมีผู้โดยสารใช้บริการเป็นจำนวนมาก และเป็นสถานีที่มีความสำคัญทางธุรกิจในพื้นที่โดยรอบ
แผนผังสถานี[แก้]
2 สะพานลอย |
- | ยูเนี่ยนมอลล์, ป้ายรถประจำทางไปสวนจตุจักร, เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว, สายสุขุมวิท สถานีห้าแยกลาดพร้าว |
G ระดับถนน |
- | ป้ายรถประจำทาง, ที่ทำการไปรษณีย์สามแยกลาดพร้าว, ยูเนี่ยนมอลล์, สวนสมเด็จย่า 84 |
B1 ทางเดินลอดถนน |
ทางเดินลอดถนน | ทางออก 1-5, ศูนย์การค้า เมโทรมอลล์ |
B2 ชั้นขายบัตรโดยสาร |
ชั้นขายบัตรโดยสาร | ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร |
B3 ชานชาลา |
ชานชาลา 2 | สายเฉลิมรัชมงคล มุ่งหน้า สถานีท่าพระ (ผ่าน สถานีบางซื่อ) |
ชานชาลา 1 | สายเฉลิมรัชมงคล มุ่งหน้า สถานีหลักสอง |
รายละเอียดของสถานี[แก้]
สีสัญลักษณ์ของสถานี[แก้]
ใช้สีเหลืองตกแต่งกระเบื้องที่เสา ผนังและขอบด้านบนของแนวประตูกั้นชานชาลา เนื่องจากสถานีตั้งอยู่บริเวณสวนสมเด็จย่า 84 จึงใช้สีที่มีความเกี่ยวข้องกับราชวงศ์ [1]
รูปแบบของสถานี[แก้]
เป็นสถานีใต้ดิน กว้าง 22 เมตร ยาว 226 เมตร ระดับชานชาลาอยู่ลึก 18 เมตรจากผิวดิน เป็นชานชาลาแบบกลาง (Station with Central Platform)
ทางเข้า-ออก[แก้]
- 1 ซอยลาดพร้าว 4, ที่ทำการไปรษณีย์สามแยกลาดพร้าว (ลิฟต์)
- 2 มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น, ถนนวิภาวดีรังสิต
- 3 สายสุขุมวิท สถานีห้าแยกลาดพร้าว, เซ็นทรัล ลาดพร้าว, โรงเรียนหอวัง, ปตท. สำนักงานใหญ่ (สะพานเชื่อมพร้อมบันไดเลื่อน), สวนสมเด็จย่า 84
- 4 สายสุขุมวิท สถานีห้าแยกลาดพร้าว (อาคารเชื่อมพร้อมบันไดเลื่อน), ห้าแยกลาดพร้าว, โลตัส สาขาลาดพร้าว (ลิฟต์)
- 5 ซอยลาดพร้าว 1, ยูเนี่ยน มอลล์, บิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า สาขาลาดพร้าว 2
การจัดพื้นที่ในตัวสถานี[แก้]
แบ่งเป็น 2 ชั้นบนดิน และ 3 ชั้นใต้ดิน ประกอบด้วย
- 2 สะพานลอย
- G ระดับถนน
- B1 ชั้นศูนย์การค้า เมโทรมอลล์, Metro Art
- B2 ชั้นออกบัตรโดยสาร
- B3 ชั้นชานชาลา
สิ่งอำนวยความสะดวก[แก้]
- ลิฟต์ไปยังชั้นขายบัตรโดยสารและชานชาลา ทางเข้า-ออกที่ 1 และ 4
- สะพานลอยและอาคารเชื่อมต่อกับสถานีห้าแยกลาดพร้าว ของรถไฟฟ้าบีทีเอส บริเวณด้านหน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัล ลาดพร้าว มีระยะทาง 450 เมตร สามารถเชื่อมต่อกันได้ด้วยสะพานทางเดินยกระดับจากทางออกที่ 3 และทางออกที่ 4 ของสถานี ไปยังทางออกที่ 6 ของสถานีห้าแยกลาดพร้าว
- สะพานลอยเชื่อมต่อไปยังถนนวิภาวดีรังสิต บริเวณอาคารสำนักงานใหญ่ของบริษัท ปตท.(กำลังก่อสร้าง)[2]
Metro Art[แก้]
Art Destination และ Art Community แห่งใหม่ของคนรักงานศิลปะทุกคน เปิดเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2566
ศูนย์การค้าภายในสถานี[แก้]
ภายในสถานีพหลโยธิน ได้จัดให้มีส่วนร้านค้าหรือ เมโทรมอลล์ ที่ชั้นบนสุดของสถานี เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2548 เป็นสถานีที่สองในระบบรถไฟฟ้ามหานคร ถัดจากสถานีสุขุมวิท
รถโดยสารประจำทาง[แก้]
- ถนนลาดพร้าว สาย 8 27 92 96 122 145 182 502 517
- ถนนพหลโยธิน บริเวณสวนสมเด็จย่า 84 สาย 8 24 26 27 34 38 39 59 63 92 96 104 107 122 129 136 145 182 187 502 503 504 510 517 524 545 555
- ถนนวิภาวดีรังสิต หน้าบริษัท ปตท. สาย 3 29 52 134 510 517 555
เวลาให้บริการ[แก้]
ปลายทาง | วัน | ขบวนแรก | ขบวนสุดท้าย | |||
---|---|---|---|---|---|---|
สายเฉลิมรัชมงคล | ||||||
BL01 | ท่าพระ (ผ่านบางซื่อ) |
จันทร์ - ศุกร์ | 05:58 | 23:56 | ||
เสาร์ - อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ |
05:56 | 23:56 | ||||
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสีม่วง | - | 23:13 | ||||
BL38 | หลักสอง | จันทร์ - ศุกร์ | 05:58 | 23:39 | ||
เสาร์ - อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ |
06:01 | 23:39 |
สถานที่สำคัญใกล้เคียง[แก้]
- มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
- สวนสมเด็จย่า 84
- โรงเรียนหอวัง
- ที่ทำการไปรษณีย์สามแยกลาดพร้าว
- บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
- สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)
- องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ สำนักงานกรุงเทพ
- สวนจตุจักร
- สวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ) และ หอเกียรติภูมิรถไฟ
- การบินไทย สำนักงานใหญ่
- ธนาคารทหารไทย สำนักงานใหญ่
ศูนย์การค้าและโรงแรม[แก้]
- เซ็นทรัล ลาดพร้าว
- ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล สาขาลาดพร้าว
- บางกอก คอนเวนชัน เซ็นเตอร์ แอท เซ็นทรัล ลาดพร้าว
- โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัล ลาดพร้าว กรุงเทพ
- อาคารสำนักงานเซ็นทรัล ลาดพร้าว
- ยูเนี่ยน มอลล์
- อาคารลาดพร้าวฮิลล์
- โรงแรม เดอะ ควอเตอร์ ลาดพร้าว บาย ยูเอชจี
- โลตัส ไฮเปอร์มาร์เก็ต ลาดพร้าว-พหลโยธิน
- ตลาดลุงเพิ่ม และ ชูพลาซ่า (หลังการบินไทย สำนักงานใหญ่)
อาคารสำนักงาน[แก้]
- อาคาร ซัน ทาวเวอร์ส
- อาคาร ทีเอสที ทาวเวอร์
- อาคารลาดพร้าว ฮิลล์
อ้างอิง[แก้]
- ↑ จุดเริ่มต้นของคนเดินทาง: ดำดินเดินทาง. คอลัมน์นายรอบรู้ นิตยสารสารคดี เดือนตุลาคม 2548
- ↑ ปตท. ต่อยอดโครงสร้างพื้นฐาน สร้าง “สกายวอล์ค” เชื่อมการเดินทาง เพื่อคุณภาพชีวิตคนเมือง
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: สถานีพหลโยธิน |
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ สถานีพหลโยธิน (รถไฟฟ้ามหานคร)
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°48′46″N 100°33′41″E / 13.812853°N 100.561507°E
สถานีใกล้เคียง[แก้]
สถานีก่อนหน้า | ขบวนรถไฟ | สถานีต่อไป | ||
---|---|---|---|---|
สถานีสวนจตุจักร มุ่งหน้า สถานีท่าพระ (ผ่านบางซื่อ) |
สายเฉลิมรัชมงคล | สถานีลาดพร้าว มุ่งหน้า สถานีหลักสอง | ||
สถานีพหลโยธิน 24 มุ่งหน้า สถานีคูคต |
สายสุขุมวิท (กรุงเทพมหานคร) เชื่อมต่อที่ สถานีห้าแยกลาดพร้าว |
สถานีหมอชิต มุ่งหน้า สถานีเคหะฯ |