ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Railway1234 (คุย | ส่วนร่วม)
Railway1234 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 13: บรรทัด 13:
| known_for =
| known_for =
| employer =
| employer =
| occupation = [[ทหารบก]]<br>[[ข้าราชการ]]
| occupation = [[ทหารบก]]<br>[[ข้าราชการพลเรือนรัฐพาณิชย์]]
| height =
| height =
| term =
| term =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:53, 30 กรกฎาคม 2562

จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์
เกิด27 ตุลาคม พ.ศ. 2438
อำเภอสัมพันธวงศ์, จังหวัดพระนคร
เสียชีวิต19 กรกฎาคม พ.ศ. 2526 (87 ปี)
สัญชาติไทย
อาชีพทหารบก
ข้าราชการพลเรือนรัฐพาณิชย์
คู่สมรสคุณหญิง เอิบ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์[1]
ประไพ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์
บุตรพันเอก อร่าม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์
บิดามารดาร้อยเอก จิตร รัตนกุล
ชื่น รัตนกุล
จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัดกองทัพบกไทย
ยศ พลเอก[2]

พลเอก จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ (27 ตุลาคม พ.ศ. 2438 - 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2526) อดีตอธิบดีกรมรถไฟ และ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย[3][4]

การเข้ารับราชการ

พลเอกจรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ เข้ารับราชการเป็นทหารบกเหล่าทหารสื่อสาร จนได้รับบรรดาศักดิ์เป็น หลวงเสรีเริงฤทธิ์ เป็นหนึ่งในทหารบกคณะราษฎรที่ทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี พ.ศ. 2475 จากนั้นโอนย้ายจากกระทรวงกลาโหม ไปสังกัดกรมรถไฟในตำแหน่งอธิบดีกรมรถไฟ กระทรวงเศรษฐการ เมื่อ พ.ศ. 2479 - พ.ศ. 2487 เป็นแม่ทัพกองทัพพายัพในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ และกระทรวงพาณิชย์ ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ย้ายกลับมาดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมรถไฟ กระทรวงคมนาคมอีกครั้ง พ.ศ. 2492 - พ.ศ. 2494 และดำรงตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม เมื่อ พ.ศ. 2494 - พ.ศ. 2502

หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้ลาออกจากบรรดาศักดิ์พร้อมคณะรัฐมนตรีชุดที่ 9 โดยใช้ราชทินนามเป็นนามสกุลและนามสกุลเดิมเป็นชื่อรองได้ว่า จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ เมื่อ พ.ศ. 2484[5]

ครอบครัว

พลเอกจรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ มีนามเดิมว่า จรูญ รัตนกุล เป็นบุตรของนายร้อยเอก จิตร กับ ชื่น รัตนกุล บรรพบุรุษของท่านเป็นชาวจีนแซ่อึ้งที่อพยพมาจากแต้จิ๋ว ชื่อ หวงกุ้ย ซึ่งอพยพเข้ามาทางจังหวัดราชบุรี ในสมัยกรุงธนบุรี หวงกุ้ยได้รับราชการดูแลการค้าทางเรือ ล่วงมาจนถึงในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 บุตรชายคนที่สองของหวงกุ้ยคือ หวงจวิน (กุน) ได้รับราชการเป็นที่สมหุนายกในตำแหน่ง เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (กุน) ต้นสกุลรัตนกุล[6] ซึ่งเป็นบิดาของเจ้าจอมมารดาอิ่มในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1[7][6]

พลเอกจรูญ สมรสครั้งแรกกับคุณหญิงเอิบ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ (สกุลเดิม: โกมลวรรธนะ) หลังภรรยาคนแรกถึงแก่กรรมจึงได้สมรสครั้งที่สองกับประไพ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ (สกุลเดิม: เศรษฐวัฒน์) บุตรชายคนหนึ่งของท่าน คือ พันเอกอร่าม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ ได้เสกสมรสกับสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา เมื่อ พ.ศ. 2487[8] มีธิดาคือ ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม

ยศทหาร

  • พ.ศ. 2485: พลโท[9]
  • พ.ศ. 2495: พลเอก[10]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๘, ตอน ๐ ง, ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๔, หน้า ๒๙๔๒
  2. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2495/D/020/792.PDF
  3. http://www.railway.co.th/main/profile/ceo.html
  4. http://guru.sanook.com/25990/
  5. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ข้าราชการกราบถวายบังคมลาออกจากบรรดาศักดิ์
  6. 6.0 6.1 คนจีนในแผ่นดินสยาม
  7. ส.พลายน้อย. พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ:ฐานบุ๊คส์, 2554. หน้า 242
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักพระราชวัง เรื่องลาออกจากถานันดรสักดิ์, เล่ม 61, ตอน 42, 18 กรกดาคม พ.ศ. 2487, หน้า 1411-2
  9. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2485/D/041/1624.PDF
  10. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2495/D/020/792.PDF

แหล่งข้อมูลอื่น