ทัศนาวลัย ศรสงคราม
ท่านผู้หญิง ทัศนาวลัย ศรสงคราม | |
---|---|
![]() | |
เกิด |
ทัศนาวลัย รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2488 (73 ปี) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ |
สัญชาติ | ไทย |
คู่สมรส | สินธู ศรสงคราม (2516–ปัจจุบัน) |
บุตร | จิทัศ ศรสงคราม |
บิดามารดา |
อร่าม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ |
ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม (สกุลเดิม: รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์; 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2488) เป็นพระธิดาเพียงคนเดียวในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ กับพันเอกอร่าม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ เป็นพระภาคิไนยเพียงคนเดียวในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลและพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และเป็นพระภคินีในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
เนื้อหา
ประวัติ[แก้]
ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2488 ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เป็นพระธิดาเพียงคนเดียวในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ กับพันเอก อร่าม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์
เมื่อสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ทรงตั้งพระครรภ์ขณะนั้นทรงขาดแคลนพระราชทรัพย์และมิได้ประกอบอาชีพ โภชนาการของท่านผู้หญิงทัศนาวลัยจึงไม่ใคร่ดี แม้ว่าสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีจะมอบเงินจำนวน 600 ฟรังค์สวิสต่อเดือนก็ตาม เมื่อท่านผู้หญิงทัศนาวลัยเกิดมาทั้งสามจึงอยู่กันอย่างมัธยัสถ์ในสวิตเซอร์แลนด์[1] ในวัยเยาว์ท่านผู้หญิงทัศนาวลัยเป็นเด็กที่ว่านอนสอนง่าย และไม่ซุกซน[1]
เมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรเสด็จนิวัติกลับประเทศไทย สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์มิได้ตามเสด็จด้วย เนื่องจากต้องดูแลพระธิดา[1] ครั้นท่านผู้หญิงทัศนาวลัยมีอายุได้ 6 ขวบ ก็ได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เดินทางกลับประเทศไทยโดยทางเรือ
ท่านผู้หญิงทัศนาวลัยสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย[1] จากนั้นได้ศึกษาต่อที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และศึกษาที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ครั้งหนึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงขุดเรือใบฝีพระหัตถ์จำนวนมาก ซึ่งทรงสร้างได้แนบเนียนตามรูปร่างอย่างแบบเรือใบแข่งเพรียวลมด้วยการย่อส่วนอย่างถูกต้องตามหลัก เรือใบที่สำเร็จขึ้นโดยฝีพระหัตถ์เหล่านี้ มีอยู่ลำหนึ่งซึ่งโปรดกว่าลำอื่น พระราชทานชื่อว่า "ทัศนาวลัย" อันเป็นชื่อของพระภาคิไนย และพระราชทานเป็นพระปรมาภิไธย "ภ.อ." ติดที่เรือใบด้วย ส่วนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้พระราชทานพระราชทรัพย์สร้างโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช[2] เดิมชื่อโรงเรียนประชาบาลสามตำบล ต่อมาได้พระราชทานนามโรงเรียนใหม่ว่า "โรงเรียนทัศนาวลัย"[3]
ชีวิตส่วนตัว[แก้]
บรรพบุรุษทางฝ่ายบิดาของท่านผู้หญิงทัศนาวลัยเป็นชาวจีนแซ่อึ้งที่อพยพมาจากแต้จิ๋ว ชื่อ หวงกุ้ย ซึ่งอพยพเข้ามาทางจังหวัดราชบุรี ในสมัยกรุงธนบุรี หวงกุ้ยได้รับราชการดูแลการค้าทางเรือ ล่วงมาจนถึงในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 บุตรชายคนที่สองของหวงกุ้ยคือ หวงจวิน (กุน) ได้รับราชการเป็นที่สมุหนายกในตำแหน่ง เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (กุน) ต้นสกุลรัตนกุล[4] ซึ่งเป็นบิดาของเจ้าจอมมารดาอิ่มในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1[5] ต่อมาภายหลังได้มีการเปลี่ยนนามสกุลเป็น รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์[4]
ทัศนาวลัย รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ เดินทางไปศึกษาต่อที่สวิตเซอร์แลนด์ และได้พบกับสินธู ศรสงคราม ซึ่งรับราชการอยู่ที่สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงแบร์น ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และได้รับพระราชทานสมรสกับสินธู ศรสงคราม เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516 โดยมีบุตรชายคนเดียว คือ ร้อยเอก จิทัศ ศรสงคราม[6] สมรสกับเจสสิกา มิกเคลิช อดีตนักแสดงซึ่งเป็นลูกครึ่งไทย-สวิตเซอร์แลนด์[7]
กิจกรรม[แก้]
การทำงาน[แก้]
ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการตลาดบองมาร์เช่[8] และเป็นที่ปรึกษาของมูลนิธิเพื่อสถาบันราชานุกูล ในพระอุปถัมภ์ฯ[9] นอกจากนี้ท่านผู้หญิงทัศนาวลัยยังถือหุ้นของ บริษัท สัมมากร จำกัด (มหาชน) ร้อยละ 10[10] ถือหุ้นของบริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด มหาชน ใหญ่อันดับที่ 14[11]
ผู้แทนพระองค์[แก้]
ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม เคยตามเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชซึ่งทอดพระเนตร และพระราชทานรางวัลการแข่งขันเรือยาวประเพณีรอบชิงชนะเลิศชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ที่อ่างเก็บน้ำเขาเต่า โครงการพระราชดำริ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์[12][13]
หลังจากการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงครามจึงได้สานต่อพระกรณียกิจให้ลุล่วง เช่น การดำรงตำแหน่งเป็นประธานที่ปรึกษาพิเศษของกองทุนส่งเสริมดนตรีคลาสสิกในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์[14] การตัดหวายลูกนิมิตรเอกวัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ ที่อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2552 ซึ่งเป็นที่ตั้งของเจดีย์ศรีพุทธคยา ที่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเป็นประธานในการจัดสร้าง[15] การเป็นผู้แทนรับมอบปริญญาวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์[16] และการเป็นประธานรางวัลครูเจ้าฟ้ากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งเป็นพระประสงค์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2552[17] และในปี พ.ศ. 2553[18] เป็นต้น
เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม ได้เป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารราชนครินทร์ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมมอบเงิน 6 ล้านบาท จากทุนการกุศล กว. สมทบการจัดซื้อครุภัณฑ์และอุปกรณ์การแพทย์สำหรับอาคารดังกล่าว ซึ่งชื่ออาคารถูกตั้งขึ้นเพื่อเป็นการระลึกถึงสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์[19]
หลังการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม ได้ตามเสด็จพระบรมศพจากโรงพยาบาลศิริราชสู่พระบรมมหาราชวังพร้อมกับพระบรมวงศานุวงศ์[20][21][22] และยังเป็นตัวแทนของราชสกุลมหิดลในการเป็นเจ้าภาพร่วมในการสวดพระอภิธรรมพระบรมศพด้วย[23][24]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2553 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[25]
- พ.ศ. 2551 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นมหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[26]
- พ.ศ. 2552 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (ป.ภ.)[27]
- พ.ศ. 2529 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.)[28]
- พ.ศ. 2531 -
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 (ภ.ป.ร.1)[29]
เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1
สถานที่ที่ตั้งตามนาม[แก้]
- โรงเรียนทัศนาวลัย อำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
ลำดับสาแหรก[แก้]
พงศาวลีของทัศนาวลัย ศรสงคราม | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 "A royal and not-so-royal past". The Nation (Thailand). 5 January 2008. สืบค้นเมื่อ 21 February 2011.
- ↑ ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม พระธิดาองค์เดียว ในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ
- ↑ "โรงเรียนทัศนาวลัย". ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2556.
- ↑ 4.0 4.1 คนจีนในแผ่นดินสยาม
- ↑ ส.พลายน้อย. พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ:ฐานบุ๊คส์, 2554. หน้า 242
- ↑ Movie stars bring HRH Princess Galyani Vadhana remembrance pin to sell to cabinet
- ↑ "พระนัดดาสมเด็จฯกรมหลวงฯวิวาห์เรียบง่ายพอเพียง" (Press release). ไทยรัฐ. 8 มิถุนายน 2553. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2555.
- ↑ newswit - บองมาร์เช่ มาร์เก็ตพาร์ค ฉลองครบรอบ 10 ปี
- ↑ "มูลนิธิฯ". มูลนิธิเพื่อสถาบันราชานุกูล ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2556.
- ↑ "ก้าวใหม่ "สัมมากร" ปรับทัพรับพันธมิตร เหยียบคันเร่งลงทุนอสังหาฯ". ประชาไท. 25 มีนาคม 2558. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2559.
- ↑ ผู้ถือหุ้นใหญ่ MINT
- ↑ Kapook.com - แห่ชื่นชมพระบารมี ในหลวง ปีติ แย้มพระสรวล
- ↑ มติชนออนไลน์ - "ในหลวง" เสด็จฯทอดพระเนตรการแข่งเรือยาวพระราชทาน
- ↑ Commitee of Fund for Classical Music Promotion
- ↑ กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ - ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ตัดหวายลูกนิมิตเอก
- ↑ KKU NEWS - มข. ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
- ↑ ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม เป็นประธานในพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
- ↑ กระทรวงศึกษาธิการ - รางวัลครูเจ้าฟ้ากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
- ↑ ข่าวสด - สร้างอาคาร"ราชนครินทร์"รำลึกพระพี่นาง
- ↑ "เชิญพระบรมศพจากศิริราชประทับพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท-สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯตามขบวนเสด็จฯ". ไทยทริบูน. 14 ตุลาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2559.
- ↑ "พระบรมฯ อัญเชิญ พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ". สยามดารา. 14 ตุลาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2559.
- ↑ "สมเด็จพระราชินีทรงโบกพระหัตถ์ ขณะเสด็จพระราชดำเนินตามขบวนพระบรมศพ". เวิร์กพอยต์. 14 ตุลาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2559.
- ↑ "หลังจากนั้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช". สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์. 7 ธันวาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2559.
- ↑ "สมเด็จพระเทพฯ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลสวดพระอภิธรรมพระบรมศพ". ช่อง 8. 8 ธันวาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2559.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย], เล่ม ๑๒๗, ตอน ๑๔ ข ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓, หน้า ๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย], เล่ม ๑๒๕, ตอน ๑๖ ข ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑, หน้า ๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๒๖, ตอน ๑๙ ข ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒, หน้า ๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ วันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๒๙, เล่ม ๑๐๓, ตอน ๘๒ ง ฉบับพิเศษ, ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๙, หน้า ๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๐๕, ตอน ๙๖ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๒, หน้า ๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๘, ตอน ๐ ง, ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๔, หน้า ๒๙๔๒
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2488
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ท่านผู้หญิง
- สกุลรัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์
- ราชสกุลมหิดล
- บุคคลจากโรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย
- บุคคลจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- บุคคลจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
- สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ภ.
- สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว. (ฝ่ายใน)
- สมาชิกเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.1
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์