ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
เพิ่มข้อมูลมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์การศึกษาจังหวัดอุดรธานี
บรรทัด 457: บรรทัด 457:
'''''แนวทางพันธกิจ วิทยาเขต : '''''วิทยาเขตแห่งนี้ อนาคตจะเป็น โรงพยาบาลสวนสุนันทาขนาด 165 เตียงเป็นเบื้องต้น และพัฒนาศักยภาพเพื่อเปิดสอนคณะแพทยศาสตร์ ราวปี พ.ศ. 2566 เป็นอย่างช้า และเป็นที่ทำการเรียนการสอนหลักของ 2 วิทยาลัยคือ วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ กับ วิทยาลัยสหเวชศาสตร์ จัดการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ และการดูแลสุขภาพ เช่น สาขาแพทย์ทางเลือก สาขาเทคนิคการแพทย์ สาขากายภาพบำบัด สาขาสาธารณสุขชุมชน สาขาเภสัชศาสตร์ สาขาชีวอนามัยและความปลอดภัย สาขาการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
'''''แนวทางพันธกิจ วิทยาเขต : '''''วิทยาเขตแห่งนี้ อนาคตจะเป็น โรงพยาบาลสวนสุนันทาขนาด 165 เตียงเป็นเบื้องต้น และพัฒนาศักยภาพเพื่อเปิดสอนคณะแพทยศาสตร์ ราวปี พ.ศ. 2566 เป็นอย่างช้า และเป็นที่ทำการเรียนการสอนหลักของ 2 วิทยาลัยคือ วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ กับ วิทยาลัยสหเวชศาสตร์ จัดการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ และการดูแลสุขภาพ เช่น สาขาแพทย์ทางเลือก สาขาเทคนิคการแพทย์ สาขากายภาพบำบัด สาขาสาธารณสุขชุมชน สาขาเภสัชศาสตร์ สาขาชีวอนามัยและความปลอดภัย สาขาการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ


====4.จังหวัดอุดรธานี====
====4.จังหวัดอุดรธานี==== [[มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์การศึกษาจังหวัดอุดรธานี]]

'''''ที่ตั้ง : ''''' บ้านหนองบุ ตำบลสามพร้าว อำเภอเมือง จ.อุดรธานี เนื้อที่ประมาณ 130 ไร่ ''(เริ่มเปิดรับนักศึกษาปีการศึกษา 2556 และช่วงก่อสร้างอาคารเรียนยังไม่เสร็จจะไปจัดการเรียนการสอนที่ อาคารสำนักงาน องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ชั้น 1 ถ.มุขมนตรี ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี)''
'''''ที่ตั้ง : ''''' บ้านหนองบุ ตำบลสามพร้าว อำเภอเมือง จ.อุดรธานี เนื้อที่ประมาณ 130 ไร่ ''(เริ่มเปิดรับนักศึกษาปีการศึกษา 2556 และช่วงก่อสร้างอาคารเรียนยังไม่เสร็จจะไปจัดการเรียนการสอนที่ อาคารสำนักงาน องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ชั้น 1 ถ.มุขมนตรี ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี)''



รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:58, 22 มกราคม 2560

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
Suan Sunandha Rajabhat University
ไฟล์:SuanSunandhaRajabhatUniversity Logo.png
คติพจน์ทรงปัญญา ศรัทธาธรรม นำสังคม
ประเภทมหาวิทยาลัยรัฐ
สถาปนา17 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 (โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย) 79ปี
อธิการบดีฤๅเดช เกิดวิชัย
อธิการบดีฤๅเดช เกิดวิชัย
นายกสภามหาวิทยาลัยกร ทัพพะรังสี
ที่ตั้ง
เลขที่ 1 ถนนอู่ทองนอก แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
เว็บไซต์http://www.ssru.ac.th

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (อังกฤษ: Suan Sunandha Rajabhat University) เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่วังสวนสุนันทา อันเคยเป็นเขตพระราชฐานของพระราชวังดุสิตในรัชกาลที่ 5 มาก่อน

มหาวิทยาลัยแห่งนี้มีรากฐานมาจากการสถาปนา "โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย" เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 เปิดสอน ประกาศนียบัตรประโยคครูประถม (ป.ป.) ต่อมาจึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นวิทยาลัยครูสวนสุนันทา" ในปี พ.ศ. 2518 ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 เปิดสอนถึงระดับปริญญาตรี หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต

ในปี พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม "สถาบันราชภัฏ" เป็นชื่อสถาบันการศึกษาในสังกัดกรมการฝึกหัดครูกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งยังได้พระราชทานตราพระราชลัญจกรประจำพระองค์ให้เป็นตราสัญลักษณ์ประจำสวสาสถาบันราชภัฏ และเมื่อได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2538 วิทยาลัยครูสวนสุนันทาจึงมีชื่อเป็น "สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา"

ในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ได้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา ยังผลให้สถาบันราชภัฏสวนสุนันทายกฐานะเป็น "มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา" นับแต่นั้นเป็นต้นมา

ประวัติ

สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์

เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ได้ทรงพระราชดำริว่าสถานที่ในพระบรมมหาราชวังชั้นในคับแคบ ไม่เหมาะสมจะเป็นที่ประทับของพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายใน จึงโปรดให้สร้างพระตำหนักและตึกในบริเวณสวนสุนันทาขึ้นอีกหลายหลัง แล้วโปรดให้เป็นที่ประทับของพระมเหสี เจ้าจอมมารดา เจ้าจอมและพระราชธิดาใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จำนวน 32 ตำหนัก รวมทั้งอาคารที่พักของบรรดาข้าราชบริพาร โดยมีสมเด็จพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฎ ปิยมหาราชปดิวรัดา ได้เสด็จมาประทับ ณ ตำหนักสายสุทธานพดล (ตึก 27) ตั้งแต่ พ.ศ. 2467 ถึง พ.ศ. 2472 (สิ้นพระชนม์ ณ ตำหนักที่ประทับสวนสุนันทา) เนื่องจากในสมัยนั้นบรรดาขุนนาง ข้าราชการ ผู้มีบรรดาศักดิ์นิยมนำบุตรี และหลานของตนมาถวายตัวต่อสมเด็จพระวิมาดาเธอฯ เป็นจำนวนมาก สมเด็จพระวิมาดาเธอฯ จึงทรงให้สร้าง "โรงเรียนนิภาคาร " ขึ้นภายในสวนสุนันทา สอนตามหลักสูตรการศึกษาในสมัยนั้น รวมทั้งอบรมจริยา มารยาท การฝีมือ ให้เป็นกุลสตรี

ครั้นถึงปี พ.ศ. 2475 ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองขึ้น บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ ในสวนสุนันทาหวั่นเกรงภัยจากการเมือง จึงได้ทะยอยกันออกไปจากสวนสุนันทาจนหมดสิ้น บางพระองค์ได้เสด็จออกไปอยู่หัวเมืองและหลายพระองค์เสด็จลี้ภัยการเมืองไปอยู่ต่างประเทศ โรงเรียนนิภาคารจึงเลิกดำเนินการไปโดยปริยาย นับแต่นั้นมาสวนสุนันทาที่เคยงดงามก็ถูกทอดทิ้ง ขาดการดูแลเอาใจใส่ ตำหนักต่างๆ ชำรุดทรุดโทรมเป็นอันมาก พื้นที่ภายในรกร้างว่างเปล่า ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เห็นว่าสวนสุนันทาถูกทอดทิ้งรกร้างอยู่มิได้ทำประโยชน์ จึงเห็นสมควรให้นายกรัฐมนตรีได้ใช้ประโยชน์ เป็นที่อยู่อาศัยของรัฐมนตรีและผู้แทนราษฎร แต่สภาผู้แทนราษฎรขอเพียงพื้นที่ภายนอกกำแพงติดถนนสามเสนสร้างเป็นบ้านพักของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น คณะรัฐมนตรีจึงลงมติเห็นสมควรว่า ควรใช้สถานที่นี้ให้เป็นประโยชน์แก่การศึกษาและมอบให้กระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน) ดำเนินการจัดตั้งให้เป็นสถานศึกษาของชาติ และสถานที่ศึกษานี้ให้ชื่อโดยคงชื่อเดิมของสถานที่ เพื่อเป็นอนุสรณ์ โดยขนานนามว่า "โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย " เริ่มเปิดการศึกษามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2480 เป็นต้นมา จนกระทั่งปัจจุบัน ดั่งคำขวัญ มหาวิทยาลัยที่วาจากพระราชอุทยาน สู่ สถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ในอนาคตอาจจะเป็นมหาวิทยาลัยสวนสุนันทา ตามเจตนารมของผู้บริหารและนักศึกษาต่อไป

ทำเนียบผู้บริหารในอดีต - ปัจจุบัน

รายนามผู้บริหาร(อธิการบดี) ในอดีต - ปัจจุบัน
รายนามผู้บริหาร สถานะสถานศึกษา วาระการดำรงตำแหน่ง
1. อาจารย์ นิลรัตน์ บรรณสิทธิ์วรสาสน์ โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย (พ.ศ. 2480 -2486)
2. อาจารย์ มล.ประชุมพร ไกรฤกษ์ โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย (พ.ศ. 2486 -2491)
3. อาจารย์ คุณหญิงกรองแก้ว ปทุมานนท์ โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย (พ.ศ. 2491 -2498 และ พ.ศ. 2500 - 2516)
4. อาจารย์ ผจงวาด วายวานนท์ โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย (พ.ศ. 2498 -2500 )
5. อาจารย์ ประเยาว์ ศักดิ์ศรี วิทยาลัยครูสวนสุนันทา (พ.ศ. 2516 -2519)
6. ศาสตราจารย์ สมจิต ธนสุกาญจน์ วิทยาลัยครูสวนสุนันทา (พ.ศ. 2519 -2524)
7. อาจารย์ จำเริญ เสกธีระ วิทยาลัยครูสวนสุนันทา (พ.ศ. 2524 - 2526)
8. อาจารย์ กลาย กระจายวงศ์ วิทยาลัยครูสวนสุนันทา (พ.ศ. 2526 - 2534)
9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พล กำปังสุ์ วิทยาลัยครูสวนสุนันทา (พ.ศ. 2534 -2537)
10. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรางศรี พณิชยกุล สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา (พ.ศ. 2537 - 2542)
11.รองศาสตราจารย์ ดร.ดิลก บุญเรืองรอด สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา (พ.ศ. 2542 -2547)
12. รองศาสตราจารย์ ดร.ช่วงโชติ พันธุเวช มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 9 ธันวาคม พ.ศ. 2547 - 29 ธันวาคม พ.ศ. 2551[1]
30 ธันวาคม พ.ศ. 2551 - 29 ธันวาคม พ.ศ. 2555 [2]
13. รองศาสตราจารย์ ดร. ฤๅเดช เกิดวิชัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 30 ธันวาคม พ.ศ. 2555 - ปัจจุบัน[3]
รายนามนายกสภามหาวิทยาลัย ในอดีต - ปัจจุบัน
รายนามนายกสภา สถานะสถานศึกษา วาระการดำรงตำแหน่ง
1. นาย บรรหาร ศิลปอาชา สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา สิ้นสุดดำรงตำแหน่งราวปี 2548
2. นาย กร ทัพพะรังสี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ปัจจุบัน

สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย

ปรัชญา & เป้าหมายและวิสัยทัศน์

  • ปรัชญา : ทรงปัญญา ศรัทธาธรรม นำสังคม
  • เป้าหมายและวิสัยทัศน์ : มหาวิทยาลัยคุณภาพชั้นนำ เพื่อปวงชน

อัตลักษณ์และเอกลักษณ์

  • อัตลักษณ์ เป็นนักปฏิบัติ ถนัดวิชาการ เชี่ยวชาญการสื่อสาร ชำนาญการคิด มีจิตสาธารณะ
  • เอกลักษณ์ เน้นความเป็นวัง ปลุกฝังองค์ความรู้ ยึดมั่นคุณธรรมให้เชิดชู เป็นองค์การเรียนรู้สู่สากล

เพลงประจำมหาวิทยาลัย

  • ร่มโพธิ์ทอง
  • มาร์ชสวนสุนันทา

สีประจำมหาวิทยาลัย

  • สีน้ำเงิน หมายถึง การรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสถาบันพระมหากษัตริย์
  • สีชมพู หมายถึง การรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย

ไฟล์:Flora KaewChaoChom.jpg
ดอกแก้วเจ้าจอม

ต้นแก้วเจ้าจอม เหตุที่ชื่อ “แก้วเจ้าจอม” เพราะเป็นไม้ของเจ้าจอมในรัชกาลที่ 5 ในครั้งรัชสมัยรัชกาลที่ 5 มีพระราชดำริสร้างสวนสุนันทาขึ้นเป็นที่ ระลึกถึงพระมเหสี คือ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ปัจจุบันต้นกำเนิดต้นนี้มีอายุมากกว่า 100 ปี และมีอยู่ต้นเดียวในประเทศไทย เป็นต้นไม้หายาก ตามประวัติศาสตร์ระบุว่า ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5 ) ทรงได้พันธุ์มาเมื่อคราวเสด็จประพาสประเทศอินโดนีเซีย มาปลูกไว้ในวังสวนสุนันทา ปัจจุบันคือ “มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา” ต้นแก้วเจ้าจอม มีลักษณะใบประกอบ 2 คู่ ได้ถูกจัดลำดับเป็นพันธุ์พืชอนุรักษ์ในบัญชี 2 ภายใต้พระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2525

โครงการ สถานีโทรทัศน์ SSRU TV Online

สถาบันสร้างสรรค์และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (สสสร.) ,Institute of Lifelong Learning Promotion and Creative เป็นสถาบันย่อยของมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์และพันธกิจของมหาวิทยาลัย ในการพัฒนาศักยภาพด้านภาษาและส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อการแข่งขันและสนองตอบความต้องการของสังคม เป็นการผลักดันให้มหาวิทยาลัยเป็นที่ยอมรับในฐานะ "มหาวิทยาลัยชั้นนำ" ได้มีโครงการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์เผยแพร่ภาพและเสียงผ่านระบบ Internet Protocol Television ในชื่อช่อง "SSRU TV Online" (Online ในที่นี่หมายถึง TV Streaming) ขณะนี้กำลังอยู่ในช่วงการดำเนินการผลิตรายการและเตรียมความพร้อมในการออกอากาศ โดยได้ทดลองออกอากาศแล้วผ่านเว็บไซต์ SSRU TV Online

การจัดการศึกษา

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เปิดทำการเรียนการสอนอย่างครอบคลุม ซึ่งการจัดการศึกษามีอยู่ในหลายระดับการศึกษา ได้แก่

  1. ระดับก่อนวัยเรียน ศูนย์พัฒนาศักยภาพเด็กปฐมวัยฯ (เตรียมอนุบาล อายุ 2 ขวบ - อนุบาล 3 อายุ 6 ขวบ)
  2. ระดับประถมศึกษา โรงเรียนสาธิตประถมฯ (ชั้น ป.1 - ป.6)
  3. ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนสาธิตมัธยมฯ (ชั้น ม.1 - ม.6)
  4. ระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรี - ปริญญาเอก)
  • โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาได้รับการจัดอันดับว่าเป็นโรงเรียนที่ดีที่สุด100อันดับแรกวัดจากคะแนนโอเน็ต
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาได้รับการจัดอันดับว่าเป็นมหาวิทยาลัยดีที่สุด20อันดับแรกของประเทศไทยอันดับ1ของราชภัฏ4ปีติดต่อกัน

คณะ/วิทยาลัย

หลักสูตรการศึกษา

1.ระดับปริญญาตรี

คณะครุศาสตร์

คณะวิทยาการจัดการ

คณะศิลปกรรมศาสตร์

คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

  • สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรอาคาร
  • สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการพิมพ์
  • สาขาวิชาออกแบบสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่องานสถาปัตยกรรม
  • สาขาวิชามาตรวิทยาและระบบคุณภาพ
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์
  • สาขาวิชาออกแบบกราฟิกและมัลติมิเดีย
  • สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
  • สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  • สาขาการออกแบบตกแต่งภายในและนิทรรศการ
  • สาขาวิชาสถาปัตยกรรม

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

  • สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์
  • สาขาวิชาเคมี
  • สาขาวิชาชีววิทยา
  • สาขาวิชาคณิตศาสตร์สารสนเทศ
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
  • สาขาอุตสาหกรรมอาหารและการบริการ
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (การจัดการฐานข้อมูล)
  • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (สื่อประสม)
  • สาขาสถิติประยุกต์

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

- ภาควิชามนุษยศาสตร์

  • สาขาวิชาภาษาไทย
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ
  • สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น
  • สาขาวิชาภาษาจีน

- ภาควิชาสังคมศาสตร์

  • สาขาวิชาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ
  • สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์
    • แขนงระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
    • แขนงสารสนเทศศึกษา
  • สาขาวิชาการบริหารสังคมและวัฒนธรรม
    • แขนงการจัดการพัฒนาสังคม
    • แขนงการจัดการทางวัฒนธรรม
  • สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและธุรกิจที่พัก
  • สาขารัฐประศาสนศาสตร์
    • แขนงการปกครองท้องถิ่น
    • แขนงการบริหารรัฐกิจ
    • แขนงการบริหารภาครัฐและเอกชน
  • สาขาบริหารงานตำรวจ
  • สาขาวิชานิติศาสตร์
  • สาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ
    • แขนงธุรกิจนำเที่ยวเพื่อสุขภาพและกีฬา
    • แขนงธุรกิจการบิน
    • แขนงการประชุมนิทรรศการ และอีเว้นท์
    • แขนงธุรกิจการบิน

วิทยาลัยในกำกับของมหาวิทยาลัย (เทียบเท่าคณะ โครงสร้างบริหารแบบมหาวิทยาลัยในกำกับ)

วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ

  • สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์

วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ

  • สาขาวิชาการจัดการระบบสารสนเทศเพื่อธุรกิจ
  • สาขาวิชาการจัดการทุนมนุษย์และองค์การ
  • สาขาวิชาการจัดการคุณภาพ
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการตลาด
  • สาขารัฐศาสตร์

วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน

  • สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์
  • สาขาวิชาธุรกิจพาณิชยนาวี
  • สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก
  • สาขาวิชาการบริหารจัดการเครือข่ายร้านอาหาร
  • Global Supply Chain Management (English Program)
  • สาขาการจัดการการขนส่ง

วิทยาลัยสหเวชศาสตร์

  • สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ (การดูแลเด็กเล็กและผู้สูงอายุ)
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ความงามและสปา
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพการกีฬา
  • สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ (จัดตั้งปีการศึกษา 2556)

วิทยาลัยนานาชาติ (หลักสูตรนานาชาติ)

  • สาขาวิชาธุรกิจการบิน (Airline Business)
  • สาขาวิชาธุรกิจภัตตาคารและที่พัก (Hotel and Restaurant Business)
  • สาขาวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว (Tourism Industry)
  • สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและท่องเที่ยว (Hospitality and Tourism Management)
  • สาขาวิชาบริการธุรกิจระหว่างประเทศ (International Business)

วิทยาลัยการภาพยนตร์ ศิลปะการแสดง และสื่อใหม่ (หลักสูตรนานาชาติ)

  • สาขาวิชาการสร้างภาพยนตร์ (Film Production)
  • สาขาวิชาการสร้างสรรค์และสื่อดิจิทัล(Creativity and Digital Media)
  • สาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิกและเกมส์(Computer Graphics and Games)

2.ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ / ปริญญาโท

====วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ (ภายใต้การดูแลและกำกับโดยบัณฑิตวิทยาลัย) ====