ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 402: บรรทัด 402:
*วิทยาลัยภาพยนตร์และศิลปะการแสดง
*วิทยาลัยภาพยนตร์และศิลปะการแสดง
*วิทยาลัยนานาชาติ
*วิทยาลัยนานาชาติ
*วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ
*วิทยาลัยโลจิสติกและซัพพลายเชน
*วิทยาลัยโลจิสติกและซัพพลายเชน
*วิทยาลัยการปกครอง
*วิทยาลัยการปกครอง

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:22, 14 สิงหาคม 2558

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
Suan Sunandha Rajabhat University
ไฟล์:ตรามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.jpg
คติพจน์ทรงปัญญา ศรัทธาธรรม นำสังคม
ประเภทมหาวิทยาลัยรัฐ
สถาปนา17 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 (โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย)
อธิการบดีรศ.ดร.ฤๅเดช เกิดวิชัย
อธิการบดีรศ.ดร.ฤๅเดช เกิดวิชัย
นายกสภามหาวิทยาลัยกร ทัพพะรังสี
ที่ตั้ง
เลขที่ 1 ถนนอู่ทองนอก แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
เว็บไซต์http://www.ssru.ac.th

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (อังกฤษ: Suan Sunandha Rajabhat University) เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่วังสวนสุนันทา อันเคยเป็นเขตพระราชฐานของพระราชวังดุสิตในรัชกาลที่ 5 มาก่อน โดยมีรากฐานมาจาก "โรงเรียนฝึกหัดครูประถมหญิงแห่งแรกของประเทศไทย" นักเรียนและนักศึกษามหาวิทยาราชภัฏสวนสุนันทาทุกคนจะใช้คำแทนตัวเอง ว่า "ลูกพระนาง" ซึ่งพระนางในที่นี้ หมายถึง สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

มหาวิทยาลัยแห่งนี้มีรากฐานมาจากการสถาปนา "โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย" เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 เปิดสอน ประกาศนียบัตรประโยคครูประถม (ป.ป.) ต่อมาจึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นวิทยาลัยครูสวนสุนันทา" ในปี พ.ศ. 2518 ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 เปิดสอนถึงระดับปริญญาตรี หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต

ในปี พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม "สถาบันราชภัฏ" เป็นชื่อสถาบันการศึกษาในสังกัดกรมการฝึกหัดครูกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งยังได้พระราชทานตราพระราชลัญจกรประจำพระองค์ให้เป็นตราสัญลักษณ์ประจำสถาบันราชภัฏ และเมื่อได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2538 วิทยาลัยครูสวนสุนันทาจึงมีชื่อเป็น "สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา"

ในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ได้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา ยังผลให้สถาบันราชภัฏสวนสุนันทายกฐานะเป็น "มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา" นับแต่นั้นเป็นต้นมา

ประวัติ

สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์

เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ได้ทรงพระราชดำริว่าสถานที่ในพระบรมมหาราชวังชั้นในคับแคบ ไม่เหมาะสมจะเป็นที่ประทับของพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายใน จึงโปรดให้สร้างพระตำหนักและตึกในบริเวณสวนสุนันทาขึ้นอีกหลายหลัง แล้วโปรดให้เป็นที่ประทับของพระมเหสี เจ้าจอมมารดา เจ้าจอมและพระราชธิดาใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จำนวน 32 ตำหนัก รวมทั้งอาคารที่พักของบรรดาข้าราชบริพาร โดยมีสมเด็จพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฎ ปิยมหาราชปดิวรัดา ได้เสด็จมาประทับ ณ ตำหนักสายสุทธานพดล (ตึก 27) ตั้งแต่ พ.ศ. 2467 ถึง พ.ศ. 2472 (สิ้นพระชนม์ ณ ตำหนักที่ประทับสวนสุนันทา) เนื่องจากในสมัยนั้นบรรดาขุนนาง ข้าราชการ ผู้มีบรรดาศักดิ์นิยมนำบุตรี และหลานของตนมาถวายตัวต่อสมเด็จพระวิมาดาเธอฯ เป็นจำนวนมาก สมเด็จพระวิมาดาเธอฯ จึงทรงให้สร้าง "โรงเรียนนิภาคาร " ขึ้นภายในสวนสุนันทา สอนตามหลักสูตรการศึกษาในสมัยนั้น รวมทั้งอบรมจริยา มารยาท การฝีมือ ให้เป็นกุลสตรี

ครั้นถึงปี พ.ศ. 2475 ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองขึ้น บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ ในสวนสุนันทาหวั่นเกรงภัยจากการเมือง จึงได้ทะยอยกันออกไปจากสวนสุนันทาจนหมดสิ้น บางพระองค์ได้เสด็จออกไปอยู่หัวเมืองและหลายพระองค์เสด็จลี้ภัยการเมืองไปอยู่ต่างประเทศ โรงเรียนนิภาคารจึงเลิกดำเนินการไปโดยปริยาย นับแต่นั้นมาสวนสุนันทาที่เคยงดงามก็ถูกทอดทิ้ง ขาดการดูแลเอาใจใส่ ตำหนักต่างๆ ชำรุดทรุดโทรมเป็นอันมาก พื้นที่ภายในรกร้างว่างเปล่า ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เห็นว่าสวนสุนันทาถูกทอดทิ้งรกร้างอยู่มิได้ทำประโยชน์ จึงเห็นสมควรให้นายกรัฐมนตรีได้ใช้ประโยชน์ เป็นที่อยู่อาศัยของรัฐมนตรีและผู้แทนราษฎร แต่สภาผู้แทนราษฎรขอเพียงพื้นที่ภายนอกกำแพงติดถนนสามเสนสร้างเป็นบ้านพักของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น คณะรัฐมนตรีจึงลงมติเห็นสมควรว่า ควรใช้สถานที่นี้ให้เป็นประโยชน์แก่การศึกษาและมอบให้กระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน) ดำเนินการจัดตั้งให้เป็นสถานศึกษาของชาติ และสถานที่ศึกษานี้ให้ชื่อโดยคงชื่อเดิมของสถานที่ เพื่อเป็นอนุสรณ์ โดยขนานนามว่า "โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย " เริ่มเปิดการศึกษามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2480 เป็นต้นมา จนกระทั่งปัจจุบัน ดั่งคำขวัญ มหาวิทยาลัยที่วาจากพระราชอุทยาน สู่ สถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ทำเนียบผู้บริหารในอดีต - ปัจจุบัน

รายนามผู้บริหาร(อธิการบดี) ในอดีต - ปัจจุบัน
รายนามผู้บริหาร สถานะสถานศึกษา วาระการดำรงตำแหน่ง
1. อาจารย์ นิลรัตน์ บรรณสิทธิ์วรสาสน์ โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย (พ.ศ. 2480 -2486)
2. อาจารย์ มล.ประชุมพร ไกรฤกษ์ โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย (พ.ศ. 2486 -2491)
3. อาจารย์ คุณหญิงกรองแก้ว ปทุมานนท์ โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย (พ.ศ. 2491 -2498 และ พ.ศ. 2500 - 2516)
4. อาจารย์ ผจงวาด วายวานนท์ โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย (พ.ศ. 2498 -2500 )
5. อาจารย์ ประเยาว์ ศักดิ์ศรี วิทยาลัยครูสวนสุนันทา (พ.ศ. 2516 -2519)
6. ศาสตราจารย์ สมจิต ธนสุกาญจน์ วิทยาลัยครูสวนสุนันทา (พ.ศ. 2519 -2524)
7. อาจารย์ จำเริญ เสกธีระ วิทยาลัยครูสวนสุนันทา (พ.ศ. 2524 - 2526)
8. อาจารย์ กลาย กระจายวงศ์ วิทยาลัยครูสวนสุนันทา (พ.ศ. 2526 - 2534)
9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พล กำปังสุ์ วิทยาลัยครูสวนสุนันทา (พ.ศ. 2534 -2537)
10. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรางศรี พณิชยกุล สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา (พ.ศ. 2537 - 2542)
11.รองศาสตราจารย์ ดร.ดิลก บุญเรืองรอด สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา (พ.ศ. 2542 -2547)
12. รองศาสตราจารย์ ดร.ช่วงโชติ พันธุเวช มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 9 ธันวาคม พ.ศ. 2547 - 29 ธันวาคม พ.ศ. 2551[1]
30 ธันวาคม พ.ศ. 2551 - 29 ธันวาคม พ.ศ. 2555 [2]
13. รองศาสตราจารย์ ดร. ฤๅเดช เกิดวิชัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 30 ธันวาคม พ.ศ. 2555 - ปัจจุบัน[3]
รายนามนายกสภามหาวิทยาลัย ในอดีต - ปัจจุบัน
รายนามนายกสภา สถานะสถานศึกษา วาระการดำรงตำแหน่ง
1. นาย บรรหาร ศิลปอาชา สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา สิ้นสุดดำรงตำแหน่งราวปี 2548
2. นาย กร ทัพพะรังสี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ปัจจุบัน

สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย

ปรัชญา & เป้าหมายและวิสัยทัศน์

  • ปรัชญา : ทรงปัญญา ศรัทธาธรรม นำสังคม
  • เป้าหมายและวิสัยทัศน์ : มหาวิทยาลัยคุณภาพชั้นนำ เพื่อปวงชน

อัตลักษณ์และเอกลักษณ์

  • อัตลักษณ์ เป็นนักปฏิบัติ ถนัดวิชาการ เชี่ยวชาญการสื่อสาร ชำนาญการคิด มีจิตสาธารณะ
  • เอกลักษณ์ เน้นความเป็นวัง ปลุกฝังองค์ความรู้ ยึดมั่นคุณธรรมให้เชิดชู เป็นองค์การเรียนรู้สู่สากล

เพลงประจำมหาวิทยาลัย

  • ร่มโพธิ์ทอง
  • มาร์ชสวนสุนันทา

สีประจำมหาวิทยาลัย

  • สีน้ำเงิน หมายถึง ความแข็งแกร่ง
  • สีชมพู หมายถึง สีแห่งความรัก

ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย

ไฟล์:Flora KaewChaoChom.jpg
ดอกแก้วเจ้าจอม

ต้นแก้วเจ้าจอม เหตุที่ชื่อ “แก้วเจ้าจอม” เพราะเป็นไม้ของเจ้าจอมในรัชกาลที่ 5 ในครั้งรัชสมัยรัชกาลที่ 5 มีพระราชดำริสร้างสวนสุนันทาขึ้นเป็นที่ ระลึกถึงพระมเหสี คือ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ปัจจุบันต้นกำเนิดต้นนี้มีอายุมากกว่า 100 ปี และมีอยู่ต้นเดียวในประเทศไทย เป็นต้นไม้หายาก ตามประวัติศาสตร์ระบุว่า ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นภาลัย (รัชกาลที่ 2) ทรงได้พันธุ์มาเมื่อคราวเสด็จประพาสประเทศอินโดนีเซีย มาปลูกไว้ในวังสวนสุนันทา ปัจจุบันคือ “มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา” ต้นแก้วเจ้าจอม มีลักษณะใบประกอบ 2 คู่ ได้ถูกจัดลำดับเป็นพันธุ์พืชอนุรักษ์ในบัญชี 2 ภายใต้พระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2525

โครงการ สถานีโทรทัศน์ SSRU TV Online

สถาบันสร้างสรรค์และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (สสสร.) ,Institute of Lifelong Learning Promotion and Creative เป็นสถาบันย่อยของมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์และพันธกิจของมหาวิทยาลัย ในการพัฒนาศักยภาพด้านภาษาและส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อการแข่งขันและสนองตอบความต้องการของสังคม เป็นการผลักดันให้มหาวิทยาลัยเป็นที่ยอมรับในฐานะ "มหาวิทยาลัยชั้นนำ" ได้มีโครงการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์เผยแพร่ภาพและเสียงผ่านระบบ Internet Protocol Television ในชื่อช่อง "SSRU TV Online" (Online ในที่นี่หมายถึง TV Streaming) ขณะนี้กำลังอยู่ในช่วงการดำเนินการผลิตรายการและเตรียมความพร้อมในการออกอากาศ โดยได้ทดลองออกอากาศแล้วผ่านเว็บไซต์ SSRU TV Online

การจัดการศึกษา

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เปิดทำการเรียนการสอนอย่างครอบคลุม ซึ่งการจัดการศึกษามีอยู่ในหลายระดับการศึกษา ได้แก่

  1. ระดับก่อนวัยเรียน ศูนย์พัฒนาศักยภาพเด็กปฐมวัยฯ (เตรียมอนุบาล อายุ 2 ขวบ - อนุบาล 3 อายุ 6 ขวบ)
  2. ระดับประถมศึกษา โรงเรียนสาธิตประถมฯ (ชั้น ป.1 - ป.6)
  3. ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนสาธิตมัธยมฯ (ชั้น ม.1 - ม.6)
  4. ระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรี - ปริญญาเอก)

คณะ/วิทยาลัย

  • คณะครุศาสตร์
  • คณะวิทยาการจัดการ
  • คณะศิลปกรรมศาสตร์
  • คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ
  • วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ
  • วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน
  • วิทยาลัยสหเวชศาสตร์
  • วิทยาลัยนานาชาติ (หลักสูตรนานาชาติ)
  • วิทยาลัยการภาพยนตร์ ศิลปะการแสดง และสื่อใหม่ (หลักสูตรนานาชาติ)
  • วิทยาลัยการปกครอง

หลักสูตรการศึกษา

1.ระดับปริญญาตรี

คณะครุศาสตร์

คณะวิทยาการจัดการ

คณะศิลปกรรมศาสตร์

คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

  • สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรอาคาร
  • สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการพิมพ์
  • สาขาวิชาออกแบบสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่องานสถาปัตยกรรม
  • สาขาวิชามาตรวิทยาและระบบคุณภาพ
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์
  • สาขาวิชาออกแบบกราฟิกและมัลติมิเดีย
  • สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
  • สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  • สาขาการออกแบบตกแต่งภายในและนิทรรศการ
  • สาขาวิชาสถาปัตยกรรม

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

  • สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์
  • สาขาวิชาเคมี
  • สาขาวิชาชีววิทยา
  • สาขาวิชาคณิตศาสตร์สารสนเทศ
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
  • สาขาอุตสาหกรรมอาหารและการบริการ
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (การจัดการฐานข้อมูล)
  • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (สื่อประสม)

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

- ภาควิชามนุษยศาสตร์

  • สาขาวิชาภาษาไทย
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ
  • สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น
  • สาขาวิชาภาษาจีน

- ภาควิชาสังคมศาสตร์

  • สาขาวิชาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ
  • สาขาวิชาการจัดการทางวัฒนธรรม
  • สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและธุรกิจที่พัก
  • สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
  • สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมสังคม
  • สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศ
  • สาขาวิชานิติศาสตร์
  • สาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ (แขนงวิชา ธุรกิจนำเที่ยว,ธุรกิจการบิน,การประชุมนิทรรศการ และ อีก 2 สาขา)

วิทยาลัยในกำกับของมหาวิทยาลัย (เทียบเท่าคณะ โครงสร้างบริหารแบบมหาวิทยาลัยในกำกับ)

วิทยาลัยการปกครอง

  • สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น
  • สาขาการบริหารงานตำรวจ
  • สาขารัฐประศาสนศาสตร์

วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ

  • สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์

วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ

  • สาขาวิชาการจัดการระบบสารสนเทศเพื่อธุรกิจ
  • สาขาวิชาการจัดการทุนมนุษย์และองค์การ
  • สาขาวิชาการจัดการคุณภาพ
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการตลาด
  • สาขารัฐศาสตร์

วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน

  • สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์
  • สาขาวิชาธุรกิจพาณิชยนาวี
  • สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก
  • สาขาวิชาการบริหารจัดการเครือข่ายร้านอาหาร
  • Global Supply Chain Management (English Program)
  • สาขาการจัดการการขนส่ง

วิทยาลัยสหเวชศาสตร์

  • สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ (การดูแลเด็กเล็กและผู้สูงอายุ)
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ความงามและสปา
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพการกีฬา
  • สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ (เปิดรับปีการศึกษา 56 เป็นปีแรก)

วิทยาลัยนานาชาติ (หลักสูตรนานาชาติ)

  • สาขาวิชาธุรกิจการบิน (Airline Business)
  • สาขาวิชาธุรกิจภัตตาคารและที่พัก (Hotel and Restaurant Business)
  • สาขาวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว (Tourism Industry)
  • สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและท่องเที่ยว (Hospitality and Tourism Management)
  • สาขาวิชาบริการธุรกิจระหว่างประเทศ (International Business)

วิทยาลัยการภาพยนตร์ ศิลปะการแสดง และสื่อใหม่ (หลักสูตรนานาชาติ)

  • สาขาวิชาการสร้างภาพยนตร์ (Film Production)
  • สาขาวิชาการสร้างสรรค์และสื่อดิจิทัล(Creativity and Digital Media)
  • สาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิกและเกมส์(Computer Graphics and Games)

2.ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ / ปริญญาโท

====วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ (ภายใต้การดูแลและกำกับโดยบัณฑิตวิทยาลัย) ====