ข้ามไปเนื้อหา

สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี

หน้าถูกกึ่งป้องกัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ
เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์
อัครราชกุมารี
เจ้าฟ้าชั้นเอก
กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี
พระฉายาลักษณ์
ประสูติ4 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 (67 ปี)
พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
พระสวามีวีระยุทธ ดิษยะศริน
(2525–2539)
พระบุตร
ราชวงศ์จักรี
ราชสกุลมหิดล
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
พระมารดาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
ศาสนาพุทธเถรวาท
ลายพระอภิไธย

ศาสตราจารย์(พิเศษ​) พลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี (ประสูติ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2500) เป็นพระราชธิดาพระองค์เล็กในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรกับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เป็นพระโสทรกนิษฐภคินีในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 8 ปีระกา นพศก จ.ศ. 1319 ตรงกับวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ในพระราชวังดุสิต มีพระธิดา 2 พระองค์ คือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ

สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารีทรงเป็นเจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์ผู้มีผลงานดีเด่นของโลกในสาขาสารเคมีก่อมะเร็ง และพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม ทรงก่อตั้งสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ขึ้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2530 ปัจจุบันทรงดำรงตำแหน่งเป็นองค์ประธานของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์[1]และนายกสภาสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์[2] หัวหน้าห้องปฏิบัติการเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ และห้องปฏิบัติการสารเคมีก่อมะเร็ง และศาสตราจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

การศึกษา

ทรงได้รับรางวัลเรียนดีตลอดระยะเวลา 4 ปีการศึกษา และทรงได้รับทุนการศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์สาขาอินทรีย์เคมีด้วย

เนื่องจากทรงสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้วยคะแนนยอดเยี่ยม เมื่อมีพระดำริถึงการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดลจึงอนุมัติให้ทรงเข้าศึกษาในระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิตได้โดยไม่ต้องผ่านมหาบัณฑิตก่อนทรงศึกษาด้วยพระวิริยะอุตสาหะใฝ่พระทัยในการศึกษาเล่าเรียนเป็นที่ยิ่งทั้งที่มีพระราชกิจในฐานะสมเด็จพระเจ้าลูกเธอก็ยังเสด็จพระดำเนินไปทรงพระอักษรร่วมกับพระสหายในชั้นเรียนอย่างสม่ำเสมอตลอดจนทรงงานในห้องแล็บด้วยพระองค์เองอย่างไม่ทรงท้อถอยแม้จะทรงแพ้สารเคมีก็ตามโดยทรงทำวิทยานิพนธ์เรื่อง "Part I: Constituents of Boesenbergia pandurata (yellow rhizome) (Zingiberaceae). Part II: Additions of lithio chloromethyl phenyl sulfoxide to aldimines and alpha,beta-unsaturated compounds" และได้รับพระราชทานปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเคมีอินทรีย์ เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2528

ทรงศึกษาในระดับปริญญาเอก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2560[3]

พระกรณียกิจ

สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์

ด้วยทรงตระหนักถึงปัญหาความขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์และการสาธารณสุข และความเดือดร้อนของอาณาประชาราษฎร์ เรื่องการ ขาดแคลนบุคลากรด้านการแพทย์ และการสาธารณสุขโดยเฉพาะ ความต้องการการสนับสนุนเรื่องการศึกษาวิจัยทางวิชาการวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และการสาธารณสุข จึงทรงก่อตั้งกองทุนจุฬาภรณ์ขึ้น และต่อมาได้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิจุฬาภรณ์ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวไทย[4]

ต่อมาทรงก่อตั้งสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ขึ้น เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2530 ทรงเป็นองค์ประธานของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญคือ ส่งเสริมความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิจัย ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และสังคมศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาประเทศ ตลอดจนเป็นศูนย์กลางในการศึกษาและพัฒนาบุคลากรสาขาวิทยาศาสตร์ การแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศ รวมทั้งเป็นแหล่งระดมสติปัญญาของนักวิชาการที่มีศักยภาพและวิทยาการที่ก้าวหน้า เพื่อการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน

ขณะเดียวกันเพื่อเป็นการสร้างองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่อง และให้การศึกษาและฝึกอบรมอย่างครบวงจร ประกอบกับแนวพระดำริของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ให้ขยายภารกิจด้านการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งสาขาที่มีความต้องการสูงให้กว้างขวางยิ่งขึ้น จึงได้มีการเสนอโครงการจัดตั้งสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2548

และจากการที่ทรงรับเป็นหัวหน้าห้องปฏิบัติ การเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ และห้องปฏิบัติการสารเคมีก่อมะเร็งด้วยพระองค์เอง ประกอบกับทรงพบว่าประชาชนชาวไทยเป็นโรคมะเร็งเพิ่มในอัตราที่สูงมากขึ้น จึงทรงก่อตั้งศูนย์วิจัยศึกษาและบำบัดโรคมะเร็งขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งมีชีวิตที่ยืนยาวและมีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม และให้เป็นศูนย์วิจัยด้านโรคมะเร็งที่มีความเป็นเลิศทางการวิจัย วิชาการ และการบำบัดรักษา พร้อมทั้งพัฒนาเป็นศูนย์ชำนาญการวินิจฉัยมะเร็งที่ก้าวหน้าและทันสมัยที่สุดในภูมิภาค โดยมีงานวิจัยที่ได้มาตรฐานสากลรองรับ

นอกจากนี้ ยังทรงจัดตั้งศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติ (Cyclotron and PET Scan)[5] ซึ่งเป็นหน่วยงานให้บริการในการตรวจโดยสารเภสัชรังสี เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีระดับสูงที่สามารถติดตาม ตรวจวัด ประเมิน และวิเคราะห์ การทำหน้าที่ของอวัยวะนั้นๆ ในระดับเซลล์เมแทบอลิซึม ที่สามารถให้รายละเอียดการวินิจฉัยโรคและระยะของโรคได้ดีกว่าการตรวจอย่างอื่น ซึ่งมีประโยชน์เป็นอย่างมากในการรักษาผู้ป่วยมะเร็ง โรคทางสมอง และหัวใจ

สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงให้ความสำคัญทางด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างยิ่ง ทรงเป็นผู้นำที่เข้มแข็งและมีพระปณิธานแน่วแน่ในการสร้างเสริมความรู้ทางวิทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อมให้แก่ทรัพยากรบุคคลของประเทศไทย และให้ความช่วยเหลือ ฝึกอบรมแก่ประเทศเพื่อนบ้านที่กำลังพัฒนา โดยได้รับความร่วมมือจากองค์กรสิ่งแวดล้อมระดับนานาชาติ

นอกจากสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี จะทรงได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติในพระปรีชาสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์แล้ว พระองค์ยังทรงนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาประเทศได้อย่างสอดคล้องเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นกิจการด้านการศึกษา สุขภาพอนามัย งานเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร การจัดการป่าไม้ การจัดการสิ่งแวดล้อม การเพาะเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ การอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลรวมไปถึงงานส่งเสริมสถานภาพทางสังคมของสตรีไทยอีกด้วย

มูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หน่วยแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีหรือ พอ.สว เป็นหน่วยแพทย์ที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2512 ปฏิบัติงานโดยอาสาสมัครประกอบด้วยแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาลและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขออกไปให้บริการประชาชนในพื้นที่ทุรกันดาร หลังจากที่เสด็จเยี่ยมราษฎรตามพื้นที่ประชาชนห่างไกลนับตั้งแต่ พ.ศ 2507 เป็นต้นมาทรงพบว่าราษฎรเหล่านั้น เมื่อเจ็บป่วยไม่มีโอกาสได้รับรักษาจากแพทย์แผนปัจจุบัน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่โดยเสด็จฯ อยู่เสมอ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงเล็งเห็นว่ากิจการและการดำเนินงานให้ความช่วยเหลือประชาชนในด้านการแพทย์และสาธารณสุขประสบผลและเป็นประโยชน์อย่างมหาศาล จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 1 ล้านบาท เป็นทุนเริ่มแรกจดทะเบียนจัดตั้งเป็น “มูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี” หรือ พอ.สว มีชื่อภาษาอังกฤษว่า “ The Princess Mother’s Medical Volunteer Foundation” เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2517 โดยพระองค์เป็นองค์นายิกากิตติมศักดิ์ หลังจากเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2538 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงดำรงตำแหน่งประธานกิตติมศักดิ์ต่อตราบจนสิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2551 ปัจจุบันสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงดำรงตำแหน่งประธานกิตติมศักดิ์

งานประมงน้อมเกล้าฯ

งานประมงน้อมเกล้าฯ เป็นกิจกรรมการแสดงนิทรรศการของการประมงในประเทศไทย โดยเน้นไปที่ปลาสวยงามเป็นหลัก

งานประมงน้อมเกล้าฯ จัดขึ้นตามพระราชดำริของสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ที่ทรงให้กรมประมง ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล จัดงานดังกล่าวขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 ณ บริเวณสวนอัมพร เพื่อน้อมระลลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและเทิดพระเกียรติแด่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ที่ทรงมีต่อวงการแพทย์ และการประมง และเพื่อหารายได้สมทบทุนสร้าง ตึกสยามมินทร์ เนื่องในโอกาสที่โรงพยาบาลศิริราชสถาปนาครบรอบ 100 ปี

ต่อจากนั้นทรงมีรับสั่งให้จัดงาน "วันประมงน้อมเกล้าฯ" ขึ้นทุกปี และคณะกรรมการจัดงานมีความเห็นพ้องว่าให้นำเงินรายได้จากการจัดงานทุกปี ขึ้นทูลเกล้าฯ สมทบทุนมูลนิธิจุฬาภรณ์ ซึ่งทรงตั้งขึ้นเพื่อศึกษางานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ ในการนี้ คณะกรรมการจัดงานได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จมาทรงเป็นประธานเปิดงานและจัดตู้ปลาสวยงาม เพื่อพระราชทานแก่ผู้มีจิตศรัทธาถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย และพระราชทานถ้วยรางวัลให้แก่ผู้ชนะการประกวดในกิจกรรมต่าง ๆ อีกด้วย[6]

มูลนิธิ หน่วยงาน และโครงการในพระอุปถัมภ์

  • มูลนิธิจุฬาภรณ์
  • มูลนิธิเทียนส่องใจเพื่อคนไข้โรคลมชัก
  • มูลนิธิเสียงธรรมเพื่อประชาชน
  • มูลนิธิรักษาพยาบาลสัตว์ป่วยอนาถา โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • โครงการรักษาผู้ป่วยโรคลมชักครบวงจร
  • โครงการหารายได้เพื่อสัตว์ป่วยอนาถา
  • โรงเรียนมัธยมทับทิมสยาม ๐๔ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์
  • โรงเรียนมัธยมศึกษาจุฬาภรณ์
  • สถานีวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี
  • สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแพทย์แห่งประเทศไทย[7]
  • สมาคมเคมีแห่งประเทศไทย
  • กองทุนจุฬาภรณอุดรธานี

พระประชวร

สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงเผยประชวรด้วยโรคแพ้ภูมิตัวเอง พร้อมทั้งรับสั่งจะทรงทำงานเพื่อประชาชนต่อไป ตามเจตนารมณ์ของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง [8]และเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 มีประกาศสำนักพระราชวังว่าทรงรับการผ่าตัดติ่งเนื้องอกในลำไส้ใหญ่[9] เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 มีแถลงการณ์สำนักพระราชวัง เรื่อง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี จะเสด็จไปประทับ ณ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ฉบับที่ 1 เปิดเผยว่าทรงเป็นตับอ่อนอักเสบ และพบก้อนเนื้องอก ที่พระศอ และทรงรับการผ่าตัดก้อนเนื้อที่พระศอในวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 [10]

พระเกียรติยศ

ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ
เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี
ธงประจำพระอิสริยยศ
ตราประจำพระองค์
ธงประจำพระองค์
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพระพุทธเจ้าข้า/เพคะ
ลำดับโปเจียม5

พระอิสริยยศ

  • สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี (4 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 – 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562)
  • สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี[11] (5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

 เยอรมนี 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2527 เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ชั้นที่ 1 (พิเศษ)
 เนปาล 12 ธันวาคม พ.ศ. 2527 เครื่องราชอิสริยาภรณ์โอชาสวีราชัญญา[21]
 สเปน 18 ธันวาคม พ.ศ. 2530 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อิซเบลลาชาวคาทอลิก ชั้นประถมาภรณ์
 ญี่ปุ่น 26 กันยายน พ.ศ. 2534 เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนมงกุฎ ชั้นที่ 1
 บริเตนใหญ่ 26 กันยายน พ.ศ. 2539 เครื่องราชอิสริยาภรณ์รอยัลวิกตอเรียน ชั้นอัศวิน
 เปรู พ.ศ. 2543 Grand Cross The Order of Merit for Distinguished Services
 สวีเดน พ.ศ. 2546 เครื่องราชอิสริยาภรณ์เซราฟีม
 เนเธอร์แลนด์ พ.ศ. 2547 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา ชั้นอัศวินมหากางเขน

ตำแหน่งทางวิชาการ

พระยศทางทหาร

สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสวางควัฒน
วรขัตติยราชนารี
รับใช้ ไทย
แผนก/สังกัดกองทัพบกไทย, กองทัพเรือไทย, กองทัพอากาศไทย และ กองอาสารักษาดินแดน
ประจำการ
  • พ.ศ. 2542 - ปัจจุบัน
  • พ.ศ. 2542 - ปัจจุบัน
  • พ.ศ. 2542 - ปัจจุบัน
  • พ.ศ. 2535 - ปัจจุบัน
ชั้นยศ
  • พลเอกหญิง
  • พลเรือเอกหญิง
  • พลอากาศเอกหญิง
  • นายกองใหญ่
  • 20 มิถุนายน พ.ศ. 2522 ร้อยโทหญิง เรือโทหญิง เรืออากาศโทหญิง และนายทหารพิเศษ ประจำกัดกองพันทหารม้าที่ ๑ รักษาพระองค์ นายทหารพิเศษประจำกองทัพเรือ นายทหารพิเศษประจำกองทัพอากาศ[23]
  • 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523 นายทหารพิเศษประจำกรมนักเรียนนายเรือ รักษาพระองค์ กรมยุทธศึกษา โรงเรียนนายเรือ ประจำกองบังคับการกรมทหารราบที่ ๓ รักษาพระองค์ กรมนาวิกโยธิน ประจำกรมนักเรียนนายเรืออากาศ รักษาพระองค์ กรมยุทธศึกษา โรงเรียนนายเรืออากาศ และ ประจำกองพันทหารอากาศโยธินที่ ๑ รักษาพระองค์ [24]
  • 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524 ร้อยเอกหญิง เรือเอกหญิง เรืออากาศเอกหญิง[25]
  • 25 ธันวาคม พ.ศ. 2524 นายกองโท กองอาสารักษาดินแดน สำนักอำนวยการกองอาสารักษาดินแดน[26]
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2526 พันตรีหญิง นาวาตรีหญิง นาวาอากาศตรีหญิง[27]
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2528 พันโทหญิง นาวาโทหญิง นาวาอากาศโทหญิง[28]
  • 27 มิถุนายน พ.ศ. 2529 ศาสตราจารย์ กองการศึกษา โรงเรียนนายเรืออากาศ กรมยุทธศึกษาทางอากาศ[29]
  • 5 กันยายน พ.ศ. 2533 พันเอกหญิง นาวาเอกหญิง นาวาอากาศเอกหญิง และนายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารราบที่ ๑ รักษาพระองค์ และประจำกรมนักเรียนนายร้อย รักษาพระองค์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า[30]
  • 11 สิงหาคม พ.ศ. 2535 พลตรีหญิง พลเรือตรีหญิง พลอากาศตรีหญิง[31]และศาสตราจารย์พิเศษ ประจำกองทัพอากาศ กระทรวงกลาโหม และนายกองเอก กองอาสารักษาดินแดน (สำนักอำนวยการกองอาสารักษาดินแดน)[32]
  • 15 มีนาคม พ.ศ. 2539 พลโทหญิง พลเรือโทหญิง พลอากาศโทหญิง[33]อาจารย์พิเศษ กองการศึกษา โรงเรียนนายเรือ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ กองทัพเรือ อาจารย์พิเศษ กองการศึกษา โรงเรียนนายเรืออากาศ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ กองทัพอากาศ และอาจารย์พิเศษ ประจำกองการศึกษา โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ กองทัพอากาศ
  • 1 สิงหาคม พ.ศ. 2542 พลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง[34]และรองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัย รักษาพระองค์ กองทัพอากาศ[35]

พระเกียรติคุณ

สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีพระปรีชาสามารถ ทรงมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลในการนำวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของ ประชาชนชาวไทยให้ดีขึ้น ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และทรงเป็นผู้ที่ส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับนักวิทยาศาสตร์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอย่างดียิ่ง

รางวัลในระดับนานาชาติ

  • พ.ศ. 2529 - เหรียญทองคำอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์[36]

โดยองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNESCO จึงได้ทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญเพื่อเชิดชูเกียรตินักวิทยาศาสตร์ที่เป็นบุคคลตัวอย่างทางวิชาการ และการส่งเสริมงานด้านวิทยาศาสตร์ ทรงเป็นบุคคลที่ 3 ในโลกและเป็นนักวิทยาศาสตร์สตรีพระองค์แรกของโลกที่ได้รับรางวัลนี้

  • พ.ศ. 2533 - รางวัล Tree of Learning[37]

โดย The World Conservation Union ได้ทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อเป็นการยกย่องที่ทางทำคุณประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมโลก โดยการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีและสิ่งแวดล้อม ให้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและการพัฒนาแบบยั่งยืน

  • พ.ศ. 2547 - รางวัล EMS Hollaender International Award[38]

จากผลของการทรงงานอย่างต่อเนื่อง จึงทรงเป็นที่ยอมรับและได้รับการยกย่องในแวดวงวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมนานาชาติ คณะกรรมการรางวัลฮอลแลนเดอร์ จึงมีมติเอกฉันท์ให้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล ในฐานะที่ทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้มีผลงานดีเด่นของโลกในสาขาสารเคมีก่อมะเร็งและพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม และทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับประจำ ปี ค.ศ. 2002

  • พ.ศ. 2547 - รางวัลสมาชิกกิตติมศักดิ์ของสหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลก

โดยสหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลก (IUCN The World Conservation Union) สวิตเซอร์แลนด์

  • พ.ศ. 2549 - รางวัล IFCS Special Recognition[39][40]

โดย Intergovernmental Forum on Chemical Safety (IFCS) เป็นรางวัลสำหรับนักวิทยาศาสตร์ผู้มีผลงานดีเด่น ด้านการสนับสนุนให้เกิดความปลอดภัยของสารเคมีแก่ประเทศกำลังพัฒนาและประเทศในภูมิภาค

  • พ.ศ. 2549 - รางวัล Nagoyal Medal Special Award[41]

เป็นรางวัลที่มอบให้บุคคลด้านวิทยาศาสตร์ผู้มีบทบาทสำคัญและทำคุณประโยชน์อย่างสูงแก่วงการอินทรีย์เคมี ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลจากมหาวิทยาลัยนาโกยา เมืองโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น

  • พ.ศ. 2552 - รางวัล Windaus Medal ด้านอินทรีย์เคมี[42]

โดย Georg-August-Universität Göttingen และสมาคมเคมีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ในโอกาสการจัดสัมมนา "Adolf-Windaus-Genachtnis-Lecture" ประจำปี 2009 ในฐานที่ทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่นอกจากมีผลงานวิจัยและงานวิชาการในด้านอินทรีย์เคมี แล้วยังทรงพัฒนาและสนับสนุนให้เกิดความก้าวหน้าของสาขาวิชานี้อย่างมาก

  • พ.ศ. 2552 - รางวัล Ramazzini Award ด้านเวชศาสตร์อาชีวะและสิ่งแวดล้อม[43]

โดย Collegium Ramazzini สาธารณรัฐอิตาลี โดยมอบให้แก่นักวิทยาศาสตร์จากนานาชาติที่มีผลงานโดดเด่นทั้งด้านงานวิจัย วิชาการด้านเวชศาสตร์อาชีวะ และสิ่งแวดล้อม ที่มีผ่านมีผู้ได้รับรางวัลแล้ว 32 คน ซึ่งในโอกาสนี้ทรงปาฐกถาให้หัวข้อ "Cancer Risk from Exposure to Air Pollution"

สถานที่ พรรณพืชและพันธุ์สัตว์อันเนื่องด้วยพระนาม

สถานที่

การแพทย์ และการสาธารณสุข
สถาบันการศึกษา

พรรณพืช

ดวงตราไปรษณียากรชุด กล้วยไม้พระนาม
  • Phalaenopsis 'Princess Chulabhorn'

กล้วยไม้ผสมตระกูล Phalaenopsis ซึ่งรัฐบาลศรีลังกาได้น้อมเกล้าฯ ในเดือนสิงหาคม 2542 โดยเป็นผลงานการผสมพันธุ์ของสวนพฤกษศาสตร์เปราเดนนิยา (Royal Botanical Garden Peradeniya) ประเทศศรีลังกา เป็นลูกผสมของ Phalaenopsis 'Rose Miva' กับ Phalaenopsis 'Kandy Queen' และได้ขอพระราชทานพระอนุญาตอัญเชิญพระนามเป็นชื่อของกล้วยไม้พันธุ์ใหม่นี้ ลักษณะดอกเป็นสีขาวโดยมีปลายดอกเป็นสีชมพู มีกลิ่นหอมอ่อนๆ

พันธุ์สัตว์

รถยนต์พระที่นั่ง

  1. เมอร์ซิเดส-เบนซ์ S500 BlueEFFICIENCY LWB W221 Facelift เลขทะเบียน 1ด-8906
  2. เมอร์ซิเดส-เบนซ์ S500 LWB W222 Pre-Facelift เลขทะเบียน 1ด-5906
  3. เมอร์ซิเดส-เบนซ์ S500 LWB W221 Pre-Facelift เลขทะเบียน 1ด-6906
  4. เมอร์ซิเดส-เบนซ์ S500 LWB W220 เลขทะเบียน 1ด-9906

พงศาวลี

อ้างอิง

  1. ประกาศสสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง แต่งตั้งประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕ ตอน ๑๘๓ ง พิเศษ หน้า ๕ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๑
  2. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งประธานสภาราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓ ตอน ๒๑๘ ง พิเศษ หน้า ๙ ๒๘ กันยายน ๒๕๕๙
  3. ทรงพระเจริญ...การเรียนรู้ไม่มีวันสิ้นสุด เจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ทรงเข้าศึกษาปริญญาเอก สาขาทัศนศิลป์ คณะจิตรกรรม ที่ ม.ศิลปากร, TNEWS TV ONLINE
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้อำนาจจัดตั้ง "มูลนิธิจุฬาภรณ์" เป็นนิติบุคคล เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๗๒ ง วันที่ ๐๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๙
  5. "ศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติ". www.chulabhornhospital.com.
  6. หน้า ๑๗๔, ๘๔ ปี สถาปนากรมประมง, วารสารพิเศษของกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. ๒๕๕๓
  7. หนังสือกองงานในพระองค์สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ที่ รล. ๐๐๑๑.๓/๑๖๖๗๘ ลงวันที่ ๒๙ มิ.ย. ๕๕
  8. Samaphon.blogspot.com: ฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ฯ ทรงเผย ประชวรเป็นโรคพุ่มพวง (โรคแพ้ภูมิตัวเอง )
  9. เจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ พระอาการดีขึ้น คณะแพทย์ให้เสด็จออกจากโรงพยาบาลได้ [ลิงก์เสีย]
  10. เจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ ประชวร เสด็จประทับ รพ.วิชัยยุทธ ฉ.1[ลิงก์เสีย]
  11. 11.0 11.1 "ประกาศสถาปนา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 136 (15ข): 6. 5 May 2019.
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2011-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๑, ตอน ๑๔๑ ง ฉบับพิเศษ, ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๗, หน้า ๑
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2009-02-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐, ตอน ๘๐ ฉบับพิเศษ, ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๖, หน้า ๑
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๙๒, ตอน ๙๕ ง ฉบับพิเศษ, ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๘, เล่ม ๑๒
  15. 15.0 15.1 แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี) , เล่ม ๙๘, ตอน ๒๐๖ ง ฉบับพิเศษ, ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๔, หน้า ๓๙
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ปฐมดิเรกคุณภรณ์ จำนวน ๘ พระองค์) เก็บถาวร 2011-11-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒, ตอน ๑๗ ข เล่มที่ ๐๐๓, ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๘, หน้า ๑
  17. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ (จำนวน ๑๒ ราย), เล่ม ๑๒๔, ตอน ๔ ข, ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐, หน้า ๑
  18. ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๒, ตอน ๘ ง ฉบับพิเศษ, ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๘, หน้า ๑
  19. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๑๑, ตอน ๗ ข, ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๗, หน้า ๑
  20. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา (สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี), เล่ม ๑๒๓, ตอน ๒๕ ข, ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙, หน้า ๑
  21. https://en.wikipedia.org/wiki/Order_of_Ojaswi_Rajanya
  22. "ตำแหน่งวิชาการ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 2010-01-31.
  23. ได้รับพระราชทานยศกองทัพเรือ
  24. นายทหารพิเศษประจำกรมนักเรียนนายเรือ รักษาพระองค์
  25. ได้รับพระราชทานกองทัพไทย
  26. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 99 (ตอน 4 ง ฉบับพิเศษ): หน้า 1. 14 Jan 1982. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-06-27. สืบค้นเมื่อ 1 Jul 2019.
  27. ได้รับพระราชทานกองทัพไทย
  28. ได้รับพระราชทานกองทัพไทย
  29. "ได้รับพระราชทานกองทัพอากาศ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 2010-01-31.
  30. ได้รับพระราชทานกองทัพไทย
  31. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระยศทหาร, เล่ม ๑๐๙, ตอน ๑๐๖ ง ฉบับพิเศษ, ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๕, หน้า ๑
  32. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระยศกองอาสารักษาดินแดน ๑ นายกองเอก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมงกุฎราชกุมาร ๒ นายกองเอก สมเด็จพระเพทรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปียชาติ สยามบรมราชกุมารี ๓ นายกองโท สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เก็บถาวร 2015-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙, ตอน ๕๕ ง ฉบับพิเศษ, ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕, หน้า ๑
  33. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระยศทหาร (พลโทหญิง พลเรือโทหญิง พลอากาศโทหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เป็น พลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง และพลตรีหญิง พลเรือตรีหญิง พลอากาศตรี หญิง สมด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เป็น พลโทหญิง พลเรือโทหญิง พลอากาศโทหญิง) เก็บถาวร 2011-11-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓, ตอน ๖ ข, ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๙, หน้า ๑
  34. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระยศทหาร (พลโทหญิง พลเรือโทหญิง พลอากาศโทหญิง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เป็น พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก) เก็บถาวร 2011-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๖, ตอน ๑๕ ข, ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๒, หน้า ๕๔
  35. รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัย[ลิงก์เสีย]
  36. 1986: Einstein Gold Medal of UNESCO เก็บถาวร 2020-01-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เข้าถึงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2557
  37. 1990: The Tree of Learning award, Australia เก็บถาวร 2013-09-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เข้าถึงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2557
  38. 2002: EMS-Hollaender International Fellow Award, the Environmental Mutagen Society, Anchorage, Alaska, U.S.A. เก็บถาวร 2013-09-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เข้าถึงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2557
  39. IFCS Special Recognition Award, เข้าถึงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2557
  40. 2006: IFCS Special Recognition Award, Intergovernmental Forum on Chemical Safety (IFCS), Budapest, Hungary เก็บถาวร 2013-09-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เข้าถึงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2557
  41. 2006: Nagoya Medal Special Award, Nagoya University, Japan เก็บถาวร 2013-09-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เข้าถึงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2557
  42. 2009: The Windaus Award from the Organic Chemistry and Biomolecular Chemistry Society of the Georg-August G?ttingen University and the German Chemical Society, Germany เก็บถาวร 2013-09-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เข้าถึงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2557
  43. 2009: The Ramazzini Award from the Collegium Ramazzini, Italy เก็บถาวร 2013-09-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เข้าถึงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2557
  44. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. ๒๕๓๗ เก็บถาวร 2012-06-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๔ ก วันที่ ๐๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗
  45. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศจังหวัดยะลา เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตหมู่บ้าน (จุฬาภรณ์พัฒนา ๑๑)เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๒๓ ง วันที่ ๐๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
  46. ราชกิจานุเบกษา,ประกาศราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เรื่อง พระราชทานนามศูนย์แพทย์ภัยพิบัติและฉุกเฉินเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๒๒๓ ง พิเศษ วันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐
  47. ประวัติโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช เก็บถาวร 2014-09-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เข้าถึงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2557

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ถัดไป
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
ประธานมูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
(ประธานกิตติมศักดิ์)

(2 มกราคม พ.ศ. 2551 – ปัจจุบัน)
ยังอยู่ในตำแหน่ง