พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุบล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าอุบล
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 1
ประสูติ13 พฤษภาคม พ.ศ. 2334
สิ้นพระชนม์พ.ศ. 2384 (50 ปี)
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
พระมารดาเจ้าจอมมารดาทอง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุบล (13 พฤษภาคม พ.ศ. 2334 - พ.ศ. 2384) พระราชธิดาพระองค์ที่ 31 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาทอง

พระประวัติ[แก้]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุบล ประสูติเมื่อวันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2334[1] เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาทอง ธิดาพระยาถลาง (นายภักดีภูธร) กับท้าวเทพกระษัตรี (จัน)

พระองค์เจ้าอุบลร่วมกับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามณฑา พระขนิษฐาต่างมารดา นิพนธ์เรื่อง "กุมารคำฉันท์" ทรงพระราชนิพนธ์เป็นคำประพันธ์ประเภทฉันท์ ดังปรากฏในโคลงบทที่ 7 และ 8 หน้าที่ 2-3 ของเรื่องว่า

 
ขอแถลงมธุรกล่าวเกลี้ยง กลอนฉันท์
โดยเรื่องกุมารบรรพ์ บอกถ้อย
ชาดกพระเวสสัน – ดรแจ่ม ใจนา
เพียงแต่งตามรู้น้อย อ่านแจ้ง ใจเกษมฯ
 
ข้าผู้ประพฤติพร้อง คำกล
ลิขิตวิจิตรนิพนธ์ พจน์ไว้
สมญาอุบลมณ – ฑามาศ
แต่งกุมารกลอนให้ ต่อต้องมหาพน ฯ
 

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านารีรัตนาโปรดให้ตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2466[2] โดยทรงนิพนธ์ถึงหน้งสือเล่มนี้ว่า[3]

"หนังสือกุมารคำฉันท์ที่พิมพ์ในสมุดเล่มนี้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๑ พระองค์เจ้าหญิงมณฑา กับพระองค์เจ้าหญิงอุบล ช่วยกันทรงแต่งที่ในพระบรมมหาราชวังแต่จะทรงแต่งในรัชกาลที่ ๑ ฤามาแต่งต่อในรัชกาลที่ ๒ ที่ ๓ ข้อนี้หาทราบขัดไม่..."

อย่างไรก็ตาม สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงอธิบายไว้ในการพิมพ์ครั้งแรกว่า[4]

"...ถ้าว่าตามสันนิษฐานดูทำนองเหมือนจะแต่งในรัชกาลที่ 2 ด้วยมีเรื่องราวปรากฏในรัชกาลนั้น โปรดฯให้แต่งหนังสือมหาชาติตำหลวงซึ่งฉบับขาดแต่ครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาให้บริบูรณ์ครบทั้ง 13 กัณฑ์ อาจเป็นเหตุชวนให้พระเจ้าน้องนางเธอทั้งสองพระองค์ ซึ่งทรงศึกษาอักขรวิธีได้เชี่ยวชาญ ทรงแต่งฉันท์กุมารในรัชกาลที่ 2 นั้นก็เป็นได้..."

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุบล สิ้นพระชนม์ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพ.ศ. 2384 พระชันษา 50 ปี[1]

พระอิสริยยศ[แก้]

ธรรมเนียมพระยศของ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุบล
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ
  • พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าอุบล (13 พฤษภาคม พ.ศ. 2334 - 7 กันยายน พ.ศ. 2352)
  • พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าอุบล (7 กันยายน พ.ศ. 2352 - 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367)
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุบล (21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 เป็นต้นไป)

พงศาวลี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. p. 17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2013-12-30.
  2. เอนก นาวิกมูล. หญิงชาวสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : แสงดาว, 2547, หน้า 29-30
  3. กุมารคำฉันท์ โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามณฑากับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุบล[ลิงก์เสีย]
  4. "คำฉันท์(7)/โชติช่วง นาดอน". สยามรัฐ. 15 ธันวาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]