หม่อมเจ้าอุทัยกัญญา ภาณุพันธุ์
หม่อมเจ้าอุทัยกัญญา ภาณุพันธุ์ | |
---|---|
ประสูติ | 24 ตุลาคม พ.ศ. 2476 |
ราชสกุล | ภาณุพันธุ์ |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นภาณุพงศ์พิริยเดช |
พระมารดา | หม่อมพเยาว์ ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา |
พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า
|
หม่อมเจ้าอุทัยกัญญา ภาณุพันธุ์ (ประสูติ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2476) เป็นพระธิดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นภาณุพงศ์พิริยเดช ประสูติแต่หม่อมพเยาว์ ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา และเป็นพระราชปนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระประวัติ
[แก้]หม่อมเจ้าอุทัยกัญญา ภาณุพันธุ์ มีนามลำลองว่า ท่านหญิงนิด ประสูติเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2476 เป็นพระธิดาพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นภาณุพงศ์พิริยเดช ประสูติแต่หม่อมพเยาว์ ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม นายนันท์) มีเชษฐาร่วมหม่อมมารดา คือ หม่อมเจ้านิพัทธพันธุพงศ์ ภาณุพันธุ์ เมื่อหม่อมเจ้าอุทัยกัญญามีชันษา 9 เดือน กรมหมื่นภาณุพงศ์พิริยเดชก็สิ้นพระชนม์ หลังจากนั้นหม่อมเจ้าวิไลกัญญา ภาณุพันธุ์ ชายาเอกของกรมหมื่นภาณุพงศ์พิริยเดชซึ่งมีพระเมตตาต่อพระบุตรองค์อื่น ๆ ของสวามี ทรงรับพระธิดาสามองค์ของกรมหมื่นภาณุพงศ์พิริยเดชที่ประสูติกับอนุภรรยามาชุบเลี้ยงดุจธิดาแท้ ๆ คือ ประภาพันธุ์ กรโกสียกาจ พันธุ์วโรภาส เศวตรุนทร์ และหม่อมเจ้าอุทัยกัญญา ภาณุพันธุ์ โดยอาศัยอยู่ร่วมกันจนกระทั่งหม่อมเจ้าวิไลกัญญาสิ้นชีพิตักษัย[1]
หม่อมเจ้าหญิงอุทัยกัญญาเข้ารับราชการที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) จนกระทั่งเกษียณอายุราชการในตำแหน่งข้าราชการพลเรือนระดับ 8 สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี
กรณียกิจ
[แก้]หม่อมเจ้าอุทัยกัญญา ภาณุพันธุ์ ทรงปฏิบัติกรณียกิจในฐานะพระอนุวงศ์ในด้านศาสนา[2] หม่อมเจ้าอุทัยกัญญามักเสด็จไปปฏิบัติธรรม บำเพ็ญกัมมัฏฐานอยู่บ่อย ๆ จนพระสงฆ์ที่วัดธาตุวังจาน จังหวัดนครพนม ได้รวบรวมเงินบริจาคจัดสร้างพระตำหนักสำหรับรับรองให้สมเกียรติกับฐานันดรศักดิ์ของเจ้านายที่มาปฏิบัติธรรม หม่อมเจ้าอุทัยกัญญาประทานชื่อว่า "ตำหนักอุทัยทรงธรรม" เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2563[3] และมีกรณียกิจด้านสถาบันการศึกษา ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการระลึกถึงสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี[4][5]
การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย หม่อมเจ้าอุทัยกัญญาทรงบริจาคเครื่องผลิตออกชิเจน ขนาด 10 ลิตร จำนวน 2 เครื่อง และเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว จำนวน 100 ชุด รวมทั้งเครื่องปรอดไว้ไข้ จำนวน 100 ชุด ผ่านผู้แทนองค์แก่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแม่กุ้งหลวง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่[6]
พระเกียรติยศ
[แก้]ธรรมเนียมพระยศของ หม่อมเจ้าอุทัยกัญญา ภาณุพันธุ์ | |
---|---|
การทูล | ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | กระหม่อม/หม่อมฉัน |
การขานรับ | กระหม่อม/เพคะ |
ลำดับโปเจียม | 21 |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2526 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[7]
- พ.ศ. 2522 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[8]
- พ.ศ. 2532 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[9]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
ตราประจำองค์
[แก้]หม่อมเจ้าอุทัยกัญญามีตราประจำองค์ เป็นอักษรนาม อก. (มาจากพระนาม อุทัยกัญญา) โดยตัว อ มีสีชมพู และตัว ก มีสีเขียว เบื้องบนมีตราอาทิตย์อุทัย[3][6] ซึ่งสื่อถึงสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ต้นราชสกุลภาณุพันธุ์
พงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของหม่อมเจ้าอุทัยกัญญา ภาณุพันธุ์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประชุมพงศาวดารภาคที่ 23 ตำนานการเกณฑ์ทหาร กับตำนานกรมทหารราบที่ 4 (PDF). กรมศิลปากร. 2509. p. (5).
- ↑ "พระครูปลัดศิริ สุวณฺณรํสี (เจ้าอาวาส) (พ.ศ. ๒๕๕๕ – ปัจจุบัน)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-17. สืบค้นเมื่อ 2021-10-03.
- ↑ 3.0 3.1 "หม่อมเจ้าอุทัยกัญญา ภาณุพันธุ์ เสด็จเปิดเรือนรับรอง (ตำหนักอุทัยทรงธรรม) ณ. วัดธาตุวังจาน อ.ปลาปาก จ.นครพนม". ดาราวาไรตี้. 15 กันยายน 2563. สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2565.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "วันที่ 17 กรกฎาคม 2558 รร.เทพศิรินทร์ เชียงใหม่ จัดพิธีอัญเชิญสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินีขึ้นประดิษฐาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-24. สืบค้นเมื่อ 2017-05-30.
- ↑ "พิธีประดิษฐานพระบรมราชินยานุสาวรี สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ในรัชกาลที่ ๔". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-07. สืบค้นเมื่อ 2017-05-30.
- ↑ 6.0 6.1 "หม่อมเจ้าอุทัยกัญญา ภาณุพันธ์ ทรงกรุณาให้ผู้แทน นำเครื่องผลิตและวัดออกซิเจนในเลือดมอบให้กับ รพ.สต.บ้านแม่กุ้งหลวง". สยามรัฐออนไลน์. 29 มกราคม 2565. สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2565.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๘, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๖๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔๐๑, ๒๑ เมษายน ๒๕๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๘๙, ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๓๓