พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบรรจบเบญจมา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าบรรจบเบญจมา
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4
พระองค์เจ้าชั้นเอก
พระองค์เจ้าบัญจบเบญจมา.jpg
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดาแพ
ประสูติ5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2404
สิ้นพระชนม์13 กันยายน พ.ศ. 2435 (30 ปี)
ธรรมเนียมพระยศของ
พระองค์เจ้าบรรจบเบญจมา
Standard of Siamese Royal Family.svg
ธงประจำพระอิสริยยศ
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบรรจบเบญจมา[1][2] (5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2404 — 13 กันยายน พ.ศ. 2435) เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับเจ้าจอมมารดาแพ (สกุลเดิม: ธรรมสโรช)

เหตุที่ได้พระนามว่า "บรรจบเบญจมา" นั้น เนื่องจากเจ้าจอมมารดาแพ พระมารดาได้ถึงอสัญกรรมหลังประสูติการพระองค์ ดังปรากฏในพระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปัทมราช ความว่า "วันอังคารขึ้นสามค่ำเดือนสิบสองนางแพมารดายิ่งเยาวลักษณ์ แลภักตรพิมลพรรณ แลเกษมสันต์โสภาคย์ แลมนุษยนาคมานพนั้นคลอดบุตรเป็นหญิงออกแล้วครรภมล (รก) ไม่ออกตั้งแต่เวลาห้าทุ่ม หกบาทไป หมอแก้ไขหลายหมอก็ไม่ออก ครั้นเวลาเจ็ดทุ่มก็ตั้งหอบตาตั้ง ครั้นเวลาสามยามหมอบรัดเลอเมริกาเข้าชักครรภมลออกได้ แต่เมื่อนั้นอาการหนักชีพจรอ่อนเสียแล้วแก้ไม่ฟื้น ครั้นเวลาสามยามสี่บาทก็ขาดใจตาย ได้เอาศพไปฝังไว้วัดสมอราย แต่บุตรนั้นดีอยู่"[3] ด้วยเหตุนี้พระราชบิดาจึงพระราชทานพระนามให้ว่า "บรรจบเบญจมา" ซึ่งแปลว่าสิ้นสุดพระองค์ที่ห้า และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวรเสรฐสุดาทรงอภิบาลเป็นสิทธิ์ขาด[4] ตั้งแต่วันประสูติ ณ พระตำหนักของท่าน เช่นเดียวกับสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส พระเชษฐา ด้วยมารดาของทั้งสองเป็นญาติกับเจ้าจอมมารดาอึ่ง พระมารดาพระองค์เจ้าบุตรี[5]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบรรจบเบญจมา ทรงพระกรรษะตกพระโลหิต (ไอเป็นเลือด) เรื้อรังมานาน ไม่ทราบพระโรคแน่ชัด แพทย์แผนตะวันตกสันนิษฐานว่าประชวรพระโรคในปอด ส่วนแพทย์แผนไทยว่าเป็นโทษพระเสมหะและพระโลหิตอุลบทำพิษ บ้างก็ว่าเป็นวัณโรคภายในบ้าง หริศโรคบ้าง[4] สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2435 สิริพระชนมายุ 30 พรรษา[1] พระราชทานเพลิงพระศพ ณ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2438[6] พร้อมกับพระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคพรรณ[7]

พงศาวลี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "ข่าวสิ้นพระชนม์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 9 (25): 195. 18 กันยายน พ.ศ. 2435. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  2. "จำนวนวันคิดสำเร็จสำหรับการไว้ทุกข์ ในการที่พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าบรรจบเบญจมาสิ้นพระชนม์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 9 (26): 203. 18 กันยายน พ.ศ. 2435. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  3. ส.พลายน้อย. พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ:ฐานบุ๊คส์. 2554, หน้า 291
  4. 4.0 4.1 "พระประวัติพระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าบรรจบเบญจมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 9 (28): 227. 9 ตุลาคม พ.ศ. 2435. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  5. "พระประวัติตรัสเล่า (๒)". ปฏิจจสมุปบาท. สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. p. 70. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2014-10-30. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  7. "การพระเมรุพระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าบรรจบเบญจมา แลพระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคพรรณ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 12 (47): 456. 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2438. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  8. "ประวัติเจ้าจอมมารดาแพ". ราชสกุลเกษมสันต์. 26 มกราคม 2556. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-14. สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)