ข้ามไปเนื้อหา

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคล
พระวรวงศ์เธอ ชั้น 5
พระองค์เจ้าชั้นตรี
ประสูติ24 ตุลาคม พ.ศ. 2493 (73 ปี)
ราชสกุลยุคล
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร
พระมารดาหม่อมทองแถม ยุคล ณ อยุธยา

พลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคล (24 ตุลาคม พ.ศ. 2493) เป็นพระโอรสในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร ประสูติแต่หม่อมทองแถม ยุคล ณ อยุธยา เดิมมีพระอิสริยยศเป็น พลเอก หม่อมเจ้าเฉลิมศึก ยุคล และได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศเมื่อปี พ.ศ. 2567

พระประวัติ

[แก้]

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคล ประสูติเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2493[1] มีพระอิสริยยศแรกประสูติเป็น หม่อมเจ้าเฉลิมศึก ยุคล มีพระนามลำลองว่า "พระองค์ชายกุ๊กไก่"[2] เป็นพระโอรสในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร กับหม่อมทองแถม ยุคล ณ อยุธยา เป็นพระนัดดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ และเป็นพระราชปนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีโสทรเชษฐภคินีร่วมพระมารดาสององค์ คือ ท่านหญิงศรีสว่างวงศ์ บุญจิตราดุลย์ และหม่อมเจ้าหญิงยังไม่มีพระนามที่สิ้นชีพตักษัยเมื่อชันษา 1 วัน

การศึกษา

[แก้]

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคล สำเร็จการศึกษาที่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย จากนั้นเสด็จไปศึกษาต่อต่างประเทศในปี พ.ศ. 2519 ทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาวิทยาศาสตร์ชีวภาพจากมหาวิทยาลัยแมกควอรีประเทศออสเตรเลีย ทรงศึกษาเพิ่มเติมและฝึกอบรม และสำเร็จการศึกษาหลักสูตรต่าง ๆ ด้านการทหารด้านการป้องกัน คชรน. ที่โรงเรียนวิทยาศาสตร์ทหารบก และโรงเรียนรังสีวิทยาและนิวเคลียร์เคมีชีวภาพกองทัพบกสหรัฐ (CBRN)[3]

ทรงอบรมหน่วยงานทั้งทางทหารและพลเรือนในต่างประเทศ เช่น องค์การห้ามอาวุธเคมี, คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ และตรวจสอบแห่งสหประชาชาติ (UNMOVIC), สำนักงานกิจการลดอาวุธแห่งสหประชาชาติ (UNODA), องค์การวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งออสเตรเลีย (ANSTO) และทรงอบรมหน่วยงานทางทหาร เช่น

สถาปนา

[แก้]

เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2567 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาหม่อมเจ้าเฉลิมศึก ยุคล ขึ้นเป็น "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคล"[4] นับเป็นเจ้านายชั้น "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า" พระองค์แรกนับแต่การสิ้นพระชนม์ของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร เป็นพระองค์แรกในราชสกุลยุคล และเป็นพระองค์เจ้าตั้งพระองค์แรกในรัชกาลปัจจุบัน โดยมีพระราชพิธีจารึกพระสุพรรณบัฏ เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 ที่พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง ในการนี้โปรดเกล้าฯ ให้พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์[5] และมีพระราชพิธีสถาปนาอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 ที่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ[6]

พระกรณียกิจ

[แก้]

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคล ทรงเคยดำรงแหน่งรองเจ้ากรมวิทยาศาสตร์ทหารบก ผู้ชำนาญการกองทัพบก และเคยดำรงตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก[7] ปัจจุบันทรงเป็นที่ปรึกษากรมวิทยาศาสตร์ทหารบก และ ประธานคณะกรรมการ BWC ประเทศไทย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ[8] และยังทรงดำรงตำแหน่งสมาชิกของกลุ่มที่ปรึกษาด้านเทคนิคขององค์การอนามัยโลก[9] และทรงเป็นกรรมการในคณะกรรมการประสานงานแห่งชาติเพื่อการปฏิบัติให้เป็นไปตามอนุสัญญาห้ามอาวุธชีวภาพ

ปัจจุบันทรงเป็นที่ปรึกษาองค์การอนามัยโลก ในกลุ่มที่ปรึกษาทางวิชาการด้านการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานด้านสาธารณสุขพลเรือนกับหน่วยงานด้านความมั่นคง (Health and Security Interface Technical Advisory Group, HIS-TAG)

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคล ได้เสด็จแทนพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี อยู่บ่อยครั้ง[10] เช่น

ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคล ทรงเป็นหนึ่งในผู้ทูลเกล้าฯ ถวายน้ำอภิเษกแด่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่างประทับเหนือพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ โดยพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคล ทรงเป็นผู้แทนประจำทิศทักษิณ[13]

นอกจากนี้ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคล ยังได้ถวายงานเสด็จปฏิบัติพระกรณียกิจแทนพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ อยู่บ่อยครั้ง เช่น

ในด้านสาธารณกุศล พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคล ทรงเป็นประธานในการระดมทุนเพื่อจดทะเบียนจัดตั้ง "มูลนิธิสถาบันการศึกษาในรัชกาลที่ 6 และสมเด็จเจ้าฟ้าเพชรัตนราชสุดาฯ" และทรงดำรงตำแหน่งองค์ประธานกรรมการมูลนิธิฯ[16]

ด้านการทหาร

[แก้]
พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคล
รับใช้ ไทย
แผนก/สังกัดกองทัพบกไทย
ชั้นยศ พลเอก
หน่วยกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
กองบัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลทรงมีความเชี่ยวชาญด้านอาวุธนิวเคลียร์ อาวุธเคมี และอาวุธชีวภาพ ดำรงแหน่งรองเจ้ากรมวิทยาศาสตร์ทหารบก ผู้ชำนาญการกองทัพบก และเคยดำรงตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก หลังจากเกษียณอายุราชการแล้วปัจจุบันทรงเป็นที่ปรึกษากรมวิทยาศาสตร์ทหารบก และประธานคณะกรรมการ BWC ประเทศไทย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ และยังทรงดำรงตำแหน่งสมาชิกของกลุ่มที่ปรึกษาด้านเทคนิคขององค์การอนามัยโลก และทรงเป็นกรรมการในคณะกรรมการประสานงานแห่งชาติเพื่อการปฏิบัติให้เป็นไปตามอนุสัญญาห้ามอาวุธเคมี และทรงงานเกี่ยวกับการป้องกัน คชรน. โดยทรงร่วมเป็นกรรมการและผู้ทรงคุณวุฒิ และวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ผู้บรรยายอบรม ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น

พระอิสริยยศ

[แก้]
ธรรมเนียมพระยศของ
พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคล
ตราประจำพระองค์
การทูลฝ่าพระบาท
การแทนตนเกล้ากระหม่อม/เกล้ากระหม่อมฉัน
การขานรับเกล้ากระหม่อม/เพคะ
ลำดับโปเจียม13
  • 24 ตุลาคม พ.ศ. 2493 – 16 มิถุนายน พ.ศ. 2567  : หม่อมเจ้าเฉลิมศึก ยุคล
  • 16 มิถุนายน พ.ศ. 2567 – ปัจจุบัน : พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคล[20]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

พลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคล ทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ดังนี้

พงศาวลี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
  2. อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ เรืออากาศโท หม่อมเจ้าภูริพันธุ์ ยุคล. ม.ป.พ., 2560, หน้า 88, 92
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-06-19. สืบค้นเมื่อ 2020-06-19.
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง สถาปนาพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคล, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๓๒ ข หน้า ๑, ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๗
  5. "ประธานองคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ไปในการพระราชพิธีจารึกพระสุพรรณบัฏ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึก ยุคล". ข่าวช่อง 7HD. 4 กรกฎาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. "ในหลวง-พระราชินี เสด็จฯในการพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ". ผู้จัดการออนไลน์. 28 กรกฎาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-07-08. สืบค้นเมื่อ 2020-07-07.
  8. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-06-21. สืบค้นเมื่อ 2020-06-19.
  9. Special address by Lt. Gen Yugala
  10. "ผู้แทนพระองค์ทรงเป็นประธานในพิธีกงเต็ก อุทิศถวาย "เจ้าฟ้าเพชรรัตนฯ"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2014-12-11.
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวในพระราชสำนัก, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๗ ข หน้า ๑, ๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
  12. ราชกิจจาจุเบกษา, ข่าวในพระราชสำนัก, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๑, ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๙
  13. หมายกำหนดการ ที่ ๑๐/๒๕๖๒ หมายกำหนดการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ เก็บถาวร 2019-05-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา
  14. ข่าวในพระราชสำนัก พลเอก หม่อมเจ้าเฉลิมศึก ยุคล เสด็จแทนพระองค์ไปทรงเยี่ยมและประทานสิ่งของแก่ข้าราชการทหาร ตำรวจที่เจ็บป่วยจากการปฏิบัติราชการสนาม เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ https://news.ch7.com/detail/392415 เก็บถาวร 2020-07-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  15. พลเอก หม่อมเจ้าเฉลิมศึก ยุคล เสด็จแทนพระองค์ ไปทรงเป็นประธานในพิธีปฏิญาณตน และสวนสนามของยุวกาชาด ในงานวันคล้ายวันสถาปนายุวกาชาดไทย ประจำปี 2563 https://ch3thailandnews.bectero.com/news/168664 เก็บถาวร 2020-07-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  16. ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 11 มิถุนายน 2563 เรื่อง ประกาศนายทะเบียนมูลนิธิกรุงเทพมหานคร เรื่อง จดทะเบียนจัดตั้ง “มูลนิธิสถาบันการศึกษา ในรัชกาลที่ ๖ และสมเด็จฯ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ ”
  17. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-06-19. สืบค้นเมื่อ 2020-06-19.
  18. ราชสกุล “ยุคล” กับการเมืองไทย
  19. ราชกิจจานุเบกษา ๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ ประกาศ แต่งตั้งนายทหารพิเศษ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/260/T_0001.PDF
  20. พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง สถาปนาพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคล  หน้า ๑ เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๓๒ ข, ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๗
  21. 21.0 21.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า และเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๓๔ ข หน้า ๑, ๒๒ มิถุนายน ๒๕๖๗
  22. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๒, ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๕
  23. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสํานักนายกรัฐมนตร เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๑, ๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๑
  24. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ให้แก่บุคคลที่ช่วยเหลือผู้ประสบธรณีพิบัติภัย “สึนามิ”, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๕, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
  25. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๒๔, ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]