พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอินทนิล
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอินทนิล | |
---|---|
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 2 | |
ประสูติ | 10 ตุลาคม พ.ศ. 2347 |
สิ้นพระชนม์ | 6 มีนาคม พ.ศ. 2415 (69 ปี) |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย |
พระมารดา | เจ้าจอมมารดาศิลา |
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอินทนิล (10 ตุลาคม พ.ศ. 2347 - 6 มีนาคม พ.ศ. 2415) พระราชธิดาพระองค์ที่ 42 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาศิลา
พระประวัติ
[แก้]พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอินทนิลประสูติวันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2347[1] เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาศิลา ธิดาขรัวยายฟักทอง ณ บางช้าง มีพระอนุชาพระขนิษฐาร่วมเจ้าจอมมารดา 5 พระองค์
ในสมัยรัชกาลที่ 3 หลังเสร็จการปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์แล้ว พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ พร้อมพระอนุชาและพระขนิษฐาร่วมเจ้าจอมมารดาเดียวกันอีก 4 พระองค์ คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิทักษเทเวศร์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอินทนิล และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวงศ์ มีพระประสงค์ที่จะร่วมกันปฏิสังขรณ์วัดแหลม พร้อมทั้งทรงสร้างพระเจดีย์เรียงรายไว้หน้าวัด 5 องค์ ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า วัดเบญจบพิตร หมายความว่า วัดของเจ้านาย 5 พระองค์[2]
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอินทนิลสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 วันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2415 พระชันษา 69 ปี[1]
พระอิสริยยศ
[แก้]ธรรมเนียมพระยศของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอินทนิล | |
---|---|
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ |
- หม่อมเจ้าอินทนิล (10 ตุลาคม พ.ศ. 2347 - พ.ศ. 2349)
- พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอินทนิล (พ.ศ. 2349 - 7 กันยายน พ.ศ. 2352)
- พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าอินทนิล (7 กันยายน พ.ศ. 2352 - 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367)
- พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าอินทนิล (21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 - 2 เมษายน พ.ศ. 2394)
- พระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าอินทนิล (2 เมษายน พ.ศ. 2394 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอินทนิล (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 - ปัจจุบัน)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. p. 28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2013-12-21.
- ↑ จุลลดา ภักดีภูมินทร์, วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เก็บถาวร 2009-06-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สกุลไทย, ฉบับที่ 2598, ปีที่ 50, ประจำวันอังคารที่ 3 สิงหาคม 2547