พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4
พระองค์เจ้าชั้นเอก
ประสูติ30 กันยายน พ.ศ. 2409
สิ้นพระชนม์27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493 (83 ปี)
พระราชทานเพลิง23 เมษายน พ.ศ. 2493 พระเมรุ ท้องสนามหลวง
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดาเที่ยง ในรัชกาลที่ 4

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์ (30 กันยายน พ.ศ. 2409 — 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493) เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเที่ยง

พระประวัติ[แก้]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์ เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเที่ยง (ธิดาพระยาอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ โรจนดิศ)) เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 10 แรม 6 ค่ำ ปีขาล ตรงกับวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2409 มีพระเชษฐาและพระเชษฐภคินีร่วมพระมารดาได้แก่

  1. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสมรรัตนศิริเชฐ
  2. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเสวตรวรลาภ
  3. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีนาคสวาดิ
  4. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร
  5. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากนกวรรณเลขา
  6. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง
  7. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป
  8. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแขไขดวง
  9. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญฤทธิเดช[1]

ในเวลาประสูติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์นั้น พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ เจ้าเมืองเชียงใหม่ ให้เอาช้างไปขายที่เมืองพม่า พระเจ้ามินดงจึงประทานสังวาลเครื่องยศอย่างพม่ามาให้พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ พวกชาวเชียงใหม่ที่ไม่ชอบใจก็กล่าวหาว่า พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์เอาใจออกหากไปเข้ากับพม่า พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์จึงเอาสังวาลลงมาถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่กรุงเทพมหานคร แล้วทูลเรื่องราวตามจริง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงระแวงพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ แต่ไม่ทรงรับสังวาลไว้ เพราะทรงรังเกียจว่า จะเป็นการรับเครื่องยศจากพม่า ฝ่ายพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ก็ไม่ยอมเอาสังวาลกลับไป เพราะเกรงจะเป็นมลทินว่า ยังคบหาพม่าอยู่ จึงถวายสังวาลนั้นให้แก่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์ โดยให้ช่างปรับปรุงเป็นเครื่องแต่งพระองค์ เป็นเหตุให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระนามว่า "พวงสร้อยสอางค์"[2]

พระองค์มีศักดิ์เป็นพระญาติของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี พระมเหสีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โดยพระองค์สืบเชื้อสายมาจากจำปา ณ เวียงจันทน์ ซึ่งเป็นพระญาติของเจ้าจอมมารดาทองสุก พระราชธิดาของพระเจ้าอินทวงศ์แห่งเวียงจันทน์[3]

พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์มีฝีพระหัตถ์ในการปรุงพระสุคนธ์ (น้ำอบ) จึงมีหน้าที่ปรุงพระสุคนธ์ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช[4]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493 พระชันษา 84 ปี มีพิธีพระราชเพลิงพระศพ ณ ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2493 โดยใช้พระเมรุมาศองค์เดียวกับพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร[5]

พระเกียรติยศ[แก้]

ธรรมเนียมพระยศของ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์
ธงประจำพระอิสริยยศ
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

พระอิสริยยศ[แก้]

  • พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์ (30 กันยายน พ.ศ. 2409 — 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411)
  • พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์ (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 — 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์ (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 — 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

พงศาวลี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ส.พลายน้อย. พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ฐานบุ๊คส์. 2554, หน้า 297
  2. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. (2500). ชุมนุมพระนิพนธ์ (บางเรื่อง). กรุงเทพฯ: กองการพิมพ์สลากกินแบ่งรัฐบาล. หน้า 65.
  3. 3.0 3.1 "ข้อมูลโดยสังเขปหม่อมราชวงศ์ศุภดิศ ดิศกุล - สายสกุลของท้าวมังสี (ขำ)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-03. สืบค้นเมื่อ 2011-11-19.
  4. จุลลดา ภักดีภูมินทร์. เลาะวัง. กรุงเทพฯ:โชคชัยเทเวศร์, 2535. หน้า 208
  5. "กำหนดการ ที่ ๗/๒๔๙๓ พระราชทานเพลิงศพจอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต พระศพพลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ และพระศพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์พระองค์เจ้าประภาพรรณพิไลย ณ พระเมรุท้องสนามหลวง พุทธศักราช ๒๔๙๓" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 67(21 ง): 1525, 1540–1550. 11 เมษายน 2493. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2562.
  6. "การพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับตระกูลจุลจอมเกล้า และถวายบังคมพระบรมรูป เนื่องในวันคล้ายกับวันพระบรมราชาภิเษกครั้งหลัง ตามสุริยตคติ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 16 (34): 498. 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2442. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-04-18. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-07. สืบค้นเมื่อ 2020-03-15.
  8. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ ฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 21 (32): 572. 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2447. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-02. สืบค้นเมื่อ 2012-12-21. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  9. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 25 (39): 1156. 27 ธันวาคม พ.ศ. 2451. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 2012-11-29. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  10. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 28 (0ง): 130. 23 เมษายน พ.ศ. 2454. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-02. สืบค้นเมื่อ 2012-12-14. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  11. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 43 (0ง): 3114. 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 2012-11-29. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  12. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0ง): 3481. 16 มกราคม พ.ศ. 2481. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-12-15. สืบค้นเมื่อ 2013-04-24. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  13. "ข้อมูลโดยสังเขปหม่อมราชวงศ์ศุภดิศ ดิศกุล - ราชสกุลสายพระยาอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ โรจนดิศ)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-29. สืบค้นเมื่อ 2011-11-19.
  14. ธงทอง จันทรางศุ. ในกำแพงแก้ว. กรุงเทพฯ : เอส.ซี.พริ้นท์แอนด์แพค, พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2550, หน้า 113