ข้ามไปเนื้อหา

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง

พิกัด: 7°33′10″N 99°33′28″E / 7.552676°N 99.557912°E / 7.552676; 99.557912
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง
Princess Chulabhorn's Science High School, Trang
ปญฺญา ยตฺถํ วิปสฺสติ
คนย่อมเห็นเนื้อความด้วยปัญญา
ที่ตั้ง
แผนที่
196 หมู่ที่ 4 ตำบลบางรัก อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง รหัสไปรษณีย์ 92000
ข้อมูล
ชื่ออื่นจุฬาภรณ์ ตรัง, จภ.ตง., PCCTRG, PCSHSTRG
ประเภทโรงเรียนรัฐ
คำขวัญรักศักดิ์ศรี มีคุณธรรม นำวิชาการ สืบสานงานพระราชดำริ
สถาปนา4 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 (31 ปี 73 วัน)
ผู้ก่อตั้งสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี
หน่วยงานกำกับกระทรวงศึกษาธิการ
รหัส1004920104
ผู้อำนวยการขนิษฐา อำนักมณี
ระดับปีที่จัดการศึกษาสอนระดับ ม.1-ม.6 สายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
วิทยาเขตตรัง
สี  น้ำเงิน
  แสด
เพลงมาร์ชจุฬาภรณฯ, เรารักจุฬาภรณฯตรัง
เว็บไซต์www.pcshstrg.ac.th

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง (อังกฤษ: Princess Chulaborn Science High School,Trang) เป็นหนึ่งใน 12 กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ให้การศึกษาในระดับมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จัดตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ ในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 เป็นโรงเรียนสหศึกษา จัดการเรียนการสอนในระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์

ประวัติ

[แก้]

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง เป็น 1 ใน 12 โรงเรียนที่กรมสามัญศึกษาจัดตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ ในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 ด้วยสำนึกในพระกรุณาธิคุณที่ทรงมีต่องาน ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อสนองตามพระราชประสงค์ที่ทรงมุ่งมั่นส่งเสริมคุณภาพชีวิตใน ด้านความเป็นอยู่และการศึกษาของประชาชนโดยเฉพาะใน ท้องถิ่นห่างไกลโดยให้โอกาสแก่เยาวชนที่มีความสนใจและมีความสามารถด้านนี้ตั้งแต่เยาว์วัย โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งดังนี้

  • เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงเจริญพระชนมายุ ครบ 3 รอบ
  • เพื่อเป็นสถานศึกษาในระดับมัธยมศึกษาที่ฝึกทักษะความรู้ความสามารถของนักเรียนด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่วัยเยาว์ ซึ่งเป็นการเตรียมบุคลากรไว้รองรับโครงการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ
  • เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนที่เรียนดี มีความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้มีโอกาสเพิ่มมากขึ้น ในการเข้าเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาและได้พัฒนา ความรู้พื้นฐานในด้านนี้อย่างเข้มข้น นำไปสู่การแก้ปัญหาและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้ได้ผลอย่างแท้จริง
  • เพื่อเป็นสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาตัวอย่าง ในด้าน การฝึกอบรมนักเรียน ให้เป็นกุลบุตรกุลสตรี ที่เพียบพร้อมด้วยจริยธรรมสามารถพึ่งพาตนเองได้และเป็นประโยชน์ต่อสังคม

โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง เริ่มรับนักเรียนเข้าเรียนเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2537 โดยรับนักเรียนชั้น ม.1 และ ม.4 ชั้นละ 2 ห้อง และเปิดทำการเรียนการสอนในวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2537[1] โดยในช่วงระยะเวลา 2 ปีแรกที่โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง เปิดทำการเรียนการสอนนั้นยังไม่มีอาคารเรียน จึงได้อาศัยขอใช้พื้นที่ของวิทยาลัยพลศึกษา จังหวัดตรัง ซึ่งตั้งอยู่ในอำเภอย่านตาขาว เป็นสถานที่ดำเนินการเรียนการสอน ชั่วคราวระหว่างดำเนินการสร้างอาคาร สถานที่ จนกระทั่งปีการศึกษา 2539 จึงได้ย้ายมาใช้สถานที่ใหม่ คือบริเวณตำบลบางรัก อำเภอเมือง และยังคงมีการก่อสร้างอาคารเพิ่มเติมจนแล้วเสร็จทั้งหมดในปีการศึกษา 2541 อย่างไรก็ดียังมีการเรียนการสอนบางวิชาที่ดำเนินการนอกโรงเรียน เช่น วิชาพลศึกษา:การว่ายน้ำ เป็นต้น

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย ประเภทนักเรียนประจำ และ ไป-กลับ สังกัดกรมสามัญศึกษา โดยมีวิสัยทัศน์คือ “ มุ่งพัฒนาให้นักเรียนเป็นคนดี มีคุณธรรม มีความรู้ และทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม มีพื้นฐานทางด้านภาษา นิยมไทย และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ” ทั้งนี้การเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีเฉพาะสายวิทยาศาสตร์เท่านั้น

สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน

[แก้]

ดังนั้น จุฬาภรณราชวิทยาลัย หมายถึง สถาบันการศึกษาขั้นสูงอันเกี่ยวเนื่องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ในสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้ ทางโรงเรียนได้ใช้พระนามเพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ 36 พรรษา

  • ตราประจำโรงเรียน ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ประกอบด้วย[2]
    • พระจุลมงกุฎสีเหลืองทอง
    • อักษร สีแสด และ สีน้ำเงิน อยู่ภายใต้พระจุลมงกุฎ โดย จภ มาจากพระนามาภิไธยย่อของสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี
    • แพรแถบด้านล่างตรา สีน้ำเงินตัดขอบสีเหลืองทอง มีข้อความชื่อโรงเรียนสีเหลืองทอง
    • ลายกระหนกสีเหลืองทอง ขนาบข้างอักษร จภ ทั้งสองข้าง
  • ต้นไม้ประจำโรงเรียน ได้แก่ แคแสด[3]
  • สีประจำโรงเรียน ได้แก่    สีน้ำเงิน-แสด[3] โดย
    • สีน้ำเงิน หมายถึง สถาบันพระมหากษัตริย์ ความแข็งแรง มั่นคง และความเคร่งครัดในระเบียบวินัย
    • สีแสด หมายถึง เป็นสีประจำวันประสูติของสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2500

ทำเนียบผู้อำนวยการ

[แก้]
1.นายสมพงษ์ แคนยุกต์ (พ.ศ. 2537 - 2544)
2.นายจบ แก้วพิบูลย์ (พ.ศ. 2544 - 2555)
3.นายพงษ์พิศักดิ์ เก้าเอี้ยน

นายยุทธนา แก้วรักษ์

(พ.ศ. 2555 - 2560)

รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารบุคคล(ณ ขณะนั้น) รักษาราชการแทนผู้อำนวยการ

4.นางสุวณี อึ่งวรากร (พ.ศ. 2560 - 2565)
5.นางสาวขนิษฐา อำนักมณี (พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน)

คณะผู้บริหาร

[แก้]
ลำดับที่ ชื่อ-สกุล ตำแหน่ง หมายเหตุ
1 นางสาวขนิษฐา อำนักมณี ผู้อำนวยการโรงเรียน
2 นางกานดา ก้าวสัมพันธ์ รองผู้อำนวยการโรงเรียน
3 นายบัณฑิต หมื่นบาล
4 นายพิฐิพงศ์ ยวงใย
5 นางสาวสุธารัตน์ ชำนาญเหนาะ รองผูอำนวยการโรงเรียนกลุ่มบริหารกิจการหอพัก ครูปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายพิเศษ

โครงการพิเศษ

[แก้]

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง เป็นโรงเรียนที่มีวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งคือ ส่งเสริมนักเรียนที่มีความร้ ู้ความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นโรงเรียนจึงมีโครงการ ดังนี้

  1. โครงการร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาเพื่อร่วมวางแผนและสนับสนุน เรื่องการจัดการเรียนการสอน ตลอดจนร่วมวางแผนการพัฒนาบุคลากร การพัฒนาสื่อการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และกิจกรรม ค่ายวิชาต่าง ๆ สถาบันที่ให้ความร่วมมือในขณะนี้ คือ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นต้น
  2. โครงการโรงเรียนคู่แฝด เป็นโครงการร่วมมือระหว่างโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช และโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล กับโรงเรียนมัธยมวิทยาศาสตร์ในประเทศมาเลเซียเพื่อแลกเปลี่ยนด้านวิชาการ และด้านวัฒนธรรม เช่น การจัดค่ายวิชาการ การศึกษาดูงาน และ โครง การแลกเปลี่ยนนักเรียน เป็นต้น
  3. โครงการส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ ทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เช่น การสนับสนุนและส่งเสริมให้นักเรียน ทำโครงงานคณิตศาสตร์โครงงานวิทยาศาสตร์และโครงงานคอมพิวเตอร์ หรือกิจกรรมการเข้าค่ายอัจฉริยภาพต่างๆ เป็นต้น
  4. การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง โรงเรียนได้จัดทำหลักสูตรสถานศึกษาและเริ่มใช้กับนักเรียนชั้น ม. 1 และ ม.4 ในปีการศึกษา 2545 ซึ่งเป็นหลักสูตรที่พัฒนานักเรียนตามศักยภาพของผู้เรียน


อ้างอิง

[แก้]
  1. "ข้อมูลวันเปิดรับนักเรียนและเปิดทำการเรียนการสอนครั้งแรกของโรงเรียน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-23. สืบค้นเมื่อ 2010-01-26.
  2. สัญลักษณ์ประจำโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย[ลิงก์เสีย]
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 ประวัติความเป็นมาของโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร. โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2560‎.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

7°33′10″N 99°33′28″E / 7.552676°N 99.557912°E / 7.552676; 99.557912